โครงการเรียนรู้สู่สากล: สัมมนาการศึกษาและฝึกงานต่างประเทศ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการ "เรียนรู้สู่สากล: การศึกษาและฝึกงานต่างประเทศ" ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนาพร ขันธบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ โดยมีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ร่วมให้ความรู้

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในการศึกษาและฝึกงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ผลจากการดำเนินงานแสดงให้เห็นว่านักศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับวิทยากรหลายท่านเกี่ยวกับการศึกษาต่อในประเทศที่ตนเองสนใจ

นอกจากนี้ นักศึกษาได้มาขอคำปรึกษาและคำแนะนำหลังจากจบงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจที่สูงขึ้นในเรื่องการศึกษาต่างประเทศและการฝึกงาน ทั้งนี้โครงการประสบความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้นักศึกษาได้เตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาและทำงานในระดับสากลในอนาคต
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษาและฝึกงานรวมถึงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ในโครงการ "เรียนรู้สู่สากล: การศึกษาและฝึกงานต่างประเทศ" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยากรได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายและมีคุณค่าเพื่อนำเสนอแก่นักศึกษา ซึ่งรวมถึงโอกาสในการศึกษาและฝึกงานในประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำเกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือภายใต้ MOA และ MOU ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถึงแนวทางและขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษาและฝึกงานในต่างประเทศ

ผลจากการดำเนินงาน นักศึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการของตนเอง โดยสามารถสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรได้ ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการสำรวจโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะในระดับสากลอย่างแท้จริง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษาและฝึกงานรวมถึงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/09/2567  - 30/09/2567 11/09/2567  - 30/09/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ