โครงการ การสร้างความเข้มแข็งการจัดการปกครองที่เป็นธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการสร้างความเข้มแข็งการจัดการการปกครองที่เป็นธรรม เป็นโครงการที่ให้ความสำคับการเรียนรู้ด้วยการศึกษาพื้นที่จริง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดเวทีเสวนาเพื่อหาแนวางจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านกะเบอะดิน ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งการลงพื้นที่ศึกษาบริเวณชุมชนทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปัญหาสังคม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระบบการเกษตรพื้นที่สูง ทรัพยากรในท้องถิ่น และแนวทางการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ผู้ร่วมโครงการยังเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรบนพื้นที่สูง การประกอบการในท้องถิ่น และได้รับทราบถึงแนวทางการจัดการปัญหาทรัพยากรที่เป็นธรรมจากเวทีเสวนาว่า จะต้องมีแนวทางการจัดการอย่างมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับการมีสิทธิชุมชน และการสร้างความร่วมมือกันของทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีลักษณะการดำเนินงานอย่างเป็นเครือข่ายทางสังคมร่วมกัน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการเข้าใจปัญหาสังคมและความขัดแย้งอันเกิดจากการจัดการปกครองที่ไม่เป็นธรรม ผู้ร่วมโครงการเข้าใจถึงปัญหาขัดแย้งและปัญหาสังคมที่เกดขึ้นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งจากการปกครองที่ไม่เป็นธรรม ในกรณีของโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินบ้านกะเบอะดิน โดยผู้ร่วมโครงการได้ลงพื้นที่ศึกษาและเห็นภาพปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม
2 2. เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการเรียนรู้แนวทางการจัดการปัญหาสังคมผ่านกระบวนการปกครองที่เป็นธรรม ผู้ร่วมโครงการเรียนรู้แนวทางการจัดการปัญหาสังคมและความขัดแย้งของชุมชนที่เกิดจากการสร้างเหมืองถ่านหินในพื้นที่ถ่านการเสวนาและการสอบถามจากคนในชุมชน
3 3. เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้เรียนรู้และเข้าใจขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในภาคเกษตร ผู้ร่วมโครงการเข้าใจถึงขบวนการเคลื่อนไหวของคนในชุมชนในการต่อต้านการเกิดเหมืองถ่านหินบริเวณหมู่บ้านและพื้นที่เเกษตรของคนในชุมชนผ่านเรื่องเล่า การบรรยาย การสำรวจพื้นที่จริงและการอ่านงานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจปัญหาสังคมและความขัดแย้งอันเกิดจากการปกครองที่ไม่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจปัญหาสังคมและความขัดแย้งอันเกิดจากการจัดการปกครองที่ไม่เป็นธรรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : 2. ได้แนวทางในการจัดการปัญหาสังคมผ่านกระบวนการปกครองที่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. สรุปแนวทางการจัดการปัญหาสังคมผ่านกระบวนการปกครองที่เป็นธรรม
เชิงคุณภาพ เรื่อง 1 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
09/08/2567  - 30/09/2567 07/09/2567  - 07/09/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ