ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
งานพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนานักศึกษา สำหรับผู้นำนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 5 - 6 กันยายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด กระบวนการบริหารงานด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริหารงานองค์กรนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาอื่น ๆ รวมถึงการเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้นำนักศึกษาผ่านการศึกษาดูงานสถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ โดยมีผู้นำองค์กรนักศึกษาจากสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย และบุคลากร เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาดูงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้นำนักศึกษา
ในวันที่ 5 กันยายน 2567 เข้าศึกษาดูงาน ณ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษา และแนวทางดำเนินงานสู่การเป็น Smart University” และ“การบริหารองค์กรนักศึกษา และการดำเนินกิจกรรมนักศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางสู่การเป็น Smart University” และในวันที่ 6 กันยายน 2567 เข้าศึกษาดูงาน ณ กองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ในหัวข้อ “การบริหารองค์กรนิสิต และกิจกรรมด้านการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา” หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมศึกษางาน คณะศึกษาดูงานร่วมกันสรุปการเรียนรู้จากการศึกษาดูงานแต่ละมหาวิทยาลัย
สำหรับการประเมินผลนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งการประเมินด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ พบว่า สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด กระบวนการบริหารงานด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริหารงานองค์กรนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) และสามารถเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้นำนักศึกษาผ่านการศึกษาดูงานสถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.49) โดยภาพรวมสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับ
ด้านผลการดำเนินงานนั้น มีการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัดในโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) โดยประเมินจากเนื้อหาและความรู้ที่ได้จากกิจกรรม การบริหารจัดการโครงการ รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้นำองค์กรนักศึกษาอื่น ๆ สำหรับความต้องการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.68) โดยประเมินจากความรู้ที่ได้รับ ความสามารถสามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคต การเพิ่มทักษะในการทำงาน และความตั้งใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้น มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุงโครงการในอนาคต คือ ต้องการให้จัดโครงการในช่วงวันหยุด (คาบเกี่ยวกับวันเสาร์-อาทิตย์) และควรจัดการให้เหมาะสมกับทุกฝ่าย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด กระบวนการบริหารงานด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริหารงานองค์กรนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาอื่น ๆ
|
สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด กระบวนการบริหารงานด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านการบริหารงานองค์กรนักศึกษา ระหว่างสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38)
|
2
|
เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้นำนักศึกษาผ่านการศึกษาดูงานสถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
|
สามารถเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้นำนักศึกษาผ่านการศึกษาดูงานสถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.49)
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
ผู้นำนักศึกษาได้รับความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนานักศึกษา การบริหารงานองค์กรนักศึกษา และสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาต่างสถาบัน รวมถึงการเปิดวิสัยทัศน์การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกมหาวิทยาลัย
1.
ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ 3.51
|
3.51
|
|
0.00
|
2.
ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการดำเนินงานโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
3.
ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความต้องการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
01/08/2567
-
20/09/2567
|
01/08/2567
-
20/09/2567
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ