สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองแผนงาน » งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ได้จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเป็นประธานในการเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ซึ่งกองกายภายและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กองแผนงาน สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ร่วมขับเคลื่อนนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตามนโยบายรัฐบาลภายในปี พ.ศ. 2573 โดยมีผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงาน Green office คณะกรรมการดำเนินงาน SDGs คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Green University ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน บุคลากร และผู้สนใจจากทุกส่วนงาน เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
การจัดโครงการสัมมนาฯ ในช่วงเช้าเป็นการบรรยาย หัวข้อ “หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการสู่การประกาศเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน” โดยวิทยากร คุณธาดา วรุณโชติกุล ผู้จัดการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และในช่วงบ่ายเป็นการบรรยาย หัวข้อ “Case study : การจัดทำ Verification Sheet และรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐนี วรยศ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้หน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการในการประกาศเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประกาศเป็นหน่วยงานที่มุ่งสู่หรือเป็นองค์การที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการในการประกาศเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประกาศเป็นหน่วยงานที่มุ่งสู่หรือเป็นองค์การที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน
2 เพื่อให้หน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในหลักการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สามารถเก็บข้อมูลและประเมินเป็นค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การจัดทำเอกสารตามแบบฟอร์มต่างๆ ของ TGO และระบบและขั้นตอนการขอรับรองคาร์บอนฟุต พริ้นท์กับ TGO หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สามารถเก็บข้อมูลและประเมินเป็นค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การจัดทำเอกสารตามแบบฟอร์มต่างๆ ของ TGO และระบบและขั้นตอนการขอรับรองคาร์บอนฟุต พริ้นท์กับ TGO
3 เพื่อให้หน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กับ TGO หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กับ TGO
4 เพื่อให้หน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจ การดำเนินงานที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และ การจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการ T-VER หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ การดำเนินงานที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และ การจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการ T-VER
5 Case study : การจัดทำ Verification Sheet และรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร วิทยากรได้นำเสนอ Case study : การจัดทำ Verification Sheet และรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทราบ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และแนวทางการดำเนินการ เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอนเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จากกลุ่มเป้าหมาย 100 คน เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการจัดการสัมมนา เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อผลที่ได้จากการจัดการสัมมนา เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
30/07/2567  - 31/08/2567 30/07/2567  - 29/08/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ