โครงการปรับความรู้พื้นฐานให้แก่นักศึกษา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1. การดำเนินโครงการปรับความรู้พื้นฐานให้แก่นักศึกษา จัดทำในวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2567 โดยเบ่งนักศึกษา เป็น 6 กลุ่ม เพื่อศึกษาผ่านฐานเรียนรู้ของคณะ จำนวน 6 ฐาน ดังนี้
1) ฐานเรียนรู้ปลานิลแปลงเพศ นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง สายพันธุ์ การแยกเพศ ระยะของไข่ปลาและการเก็บไข่ การแปลงเพศและฮอร์โมนที่ใช้ในการแปลงเพศปลานิล ตลอดจนการอนุบาลลูกปลานิล
2) ฐานเรียนรู้ปลาไหลนา นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง การแยกเพศ การสืบพันธุ์ การผสมพันธุ์ การเพาะและอนุบาลลูกปลาไหลนา และการตลาดของปลาไหลนา
3) ฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำ นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง ชนิดของปลาน้ำจืดและปลาทะเลไทย การศึกษาตัวอย่างสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ความหลากหลายของทรัพยากรทางน้ำ และระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ
4) ฐานเรียนรู้ Smart Aquaculture and Business นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง ระบบบำบัดน้ำของอาคาร ระบบกรองน้ำ ระบบการเติมอากาศ ระบบการฆ่าเชื้อ ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้ตามความต้องการของตลาด
5) ฐานเรียนรู้ศูนย์ความเป็นเลิศปลาบึก นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง ลักษณะเด่นของปลาบึก แหล่งที่อยู่อาศัย การเจริญพันธุ์ การเพาะขยายพันธุ์ และการอนุบาลลูกปลาบึก
6) ฐานเรียนรู้ Bio Floc นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง การเลี้ยงปลานิลด้วยระบบ Bio Floc ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ระบบ Bio Floc
2. ก่อนดำเนินโครงการได้ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการประมง และในบางคำถามนักศึกษายังไม่สามารถตอบได้ แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการนักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ซึ่งส่วนใหญ่สามารถตอบคำถามได้เกินครึ่ง อีกทั้งในช่วงเฉลยคำตอบได้มีการอธิบายเพิ่มเติมและสอดแทรกความรู้อื่น ๆ ด้านการประมงให้แก่นักศึกษาร่วมด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ (หลักสูตร 4 ปี) ได้รับความรู้พื้นฐานด้านการประมง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ (หลักสูตร 4 ปี) ได้รับความรู้พื้นฐานด้านการประมง ผ่านฐานเรียนรู้ด้านการประมงของคณะ จำนวน 6 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ 1) ฐานเรียนรู้ปลานิลแปลงเพศ 2) ฐานเรียนรู้ปลาไหลนา 3) ฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำ 4) ฐานเรียนรู้ศูนย์ความเป็นเลิศปลาบึก 5) ฐานเรียนรู้ Bio Floc และ 6) ฐานเรียนรู้ Smart Aquaculture and Business โดยมีวิทยากรประจำฐานเรียนรู้เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาและมีแบบทดสอบก่อน - หลัง ให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อวิชาชีพประมงในชั้นปีที่สูงขึ้น โดยหลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้น นักศึกษามีผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการในระดับมาก (4.18 คะแนน) และนักศึกษาคาดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมโครงการไปใช้ประโยชน์ในระดับมาก (4.12 คะแนน)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษารับทราบ PLOs ของหลักสูตรและผ่านการปรับความรู้พื้นฐานด้านการประมงและการประกอบธุรกิจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากจำนวน 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 90 0.00
3. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
4. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/07/2567  - 30/08/2567 13/07/2567  - 14/07/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ