ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สภานักศึกษาได้จัดโครงการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนกระบวนการการทำงานและสร้างเครือข่ายสภานักศึกษา ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 10 - 13 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้สมาชิกสภานักศึกษาได้แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กระบวนการบริหารงานและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรนักศึกษาต่างสถาบัน แลกเปลี่ยนกระบวนการการทำงาน และนำมาปรับใช้ในการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์กรและเพิ่มศักยภาพของสมาชิกสภา รวมถึงการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกสภานักศึกษา ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแต่ละสถาบันนั้น แม้ในภาพรวมจะมีการบริหารงานที่คล้ายกัน แต่ก็มีหลายส่วนที่แตกต่างและมีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบันดังนี้
การศึกษาดูงานสภานิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เน้นในเรื่องของ “พิทักษ์ รับฟัง เที่ยงธรรม โปร่งใส” ภารกิจหลักของฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ คือ การพิจารณาโครงการและการจัดสรรงบประมาณของชมรมและสภานิสิต ซึ่งการพิจารณางบประมาณของชมรมนั้น สภานิสิตสามารถตัดหรือให้งบได้โดยดูจากความเหมาะสม ทั้งนี้ในส่วนของสโมสรนักศึกษาต่าง ๆ กองกิจการนิสิตจะเป็นผู้พิจารณางบประมาณ สำหรับฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการ จะมีหน้าที่ติดตามการดำเนินงานขององค์กรกิจกรรมนิสิตส่วนกลาง สรุปผลการประเมิน และให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุง รวมถึงการลงตรวจในพื้นที่ที่จัดโครงการ เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานแต่ไม่ยุ่งเกี่ยวในส่วนของงบประมาณ ส่วนฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมและผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้สิทธิ์ในการแต่งกายของนักศึกษา โดยส่งเสริมเพศทางเลือกของนักศึกษาให้สามารถแต่งกายด้วยชุดตามเพศสภาพของตัวเอง สวัสดิการรถรางสีส้มอำนวยความสะดวกรับ-ส่งนิสิตภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงจัดกิจกรรมหรือโครงการที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของนิสิตเป็นสำคัญ เช่น โครงการ Student Voice Matters คือ โครงการดูแลความเรียบร้อยและกระบวนการการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับข้อบังคับและประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร การลงพื้นที่สำรวจรับฟังทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิสิตพร้อมรายงานให้ผู้บริหารได้รับทราบ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับนิสิต รวมถึงออกคำแถลงการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมประชาธิปไตย สำหรับฝ่ายประชาสัมพันธ์ จะส่งเสริมให้ปฏิบัติงานตามความถนัดของบุคคล เช่น ถนัดด้านการทำกราฟฟิกก็สามารถทำงานในด้านกราฟฟิก ถนัดด้านตัดต่อวิดิโอก็สามารถทำงานในด้านตัดต่อวิดิโอ เป็นต้น วิธีการได้มาซึ่งผู้นำนิสิตนั้นมาจากการเปิดรับตัวแทนจากแต่ละคณะ และการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ทั้งช่องทางประชาสัมพันธ์ส่วนกลาง การแทรกเนื้อหาในรายวิชาเสรีเพื่อกระตุ้นให้นิสิตมาเลือกตั้งผู้นำนิสิต รวมถึงการประชาสัมพันธ์องค์กรในงานเปิดโลกกิจกรรมให้นิสิตทั่วไปได้รู้จัก
การศึกษาดูงานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงสร้างองค์กรจะแบ่งเป็นฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติโดยชัดเจน บทบาทหน้าที่ของสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดดเด่นด้านการพิทักษ์สิทธิให้กับนักศึกษา แบ่งออกเป็นเชิงรุกและเชิงรับ ในเชิงรุกนั้นจะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบดูข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่อาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษา การแก้ไขข้อบังคับหรือยกร่างใหม่เพื่อพิทักษ์สิทธิของนักศึกษา และส่งเสริมการตระหนักรู้สิทธิของตนเอง โดยทำงานร่วมกับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในเชิงรับนั้นจะเป็นการเปิดรับเรื่องร้องเรียนจากนักศึกษาและเข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที กิจกรรมที่น่าสนใจในด้านนี้คือ การมีวันลาหยุดให้กับผู้มีประจำเดือน เนื่องจากในช่วงวันนั้นของเดือนอาจมีอาการต่าง ๆ ที่ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถเข้าเรียนได้ตามปกติ จึงถูกผลักดันและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นมา ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้มาจากการลงคะแนนเลือกตั้งแบบ Party list ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งแบบพรรค โดยตัดสินที่คะแนนเสียงที่นักศึกษาได้เลือกพรรคนั้น ๆ ต่างจากสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สมาชิกสภานักศึกษามาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
การศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน การดำเนินงานของฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ ในช่วงต้นวาระสภาผู้แทนนิสิตและองค์การบริหารนักศึกษาเกษตร บางเขน (อบก.) จะจัดประชุมขึ้นเพื่อให้แต่ละองค์กรเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ที่ประชุมจะดำเนินการพิจารณาโครการดังกล่าว และมีอำนาจในการปรับลดหรือเพิ่มงบประมาณ เมื่อได้ตัวเลขงบประมาณที่แน่นอนแล้วจึงส่งแผนโครงการและงบประมาณดังกล่าวให้กับกองพัฒนานิสิต ด้านการปฏิบัติงานของฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการ ในกรณีที่จัดกิจกรรมแล้วมีข้อร้องเรียน ฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการจะลงพื้นที่ตรวจสอบกิจกรรมดังกล่าวทันที และจะเน้นการปฏิบัติงานช่วงท้ายวาระซึ่งจะจัดการประชุมเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานงานของทุกองค์กร ส่วนฝ่ายพัฒนานิสิตจะขึ้นตรงกับรองประธานสภาฝ่ายกิจกรรมสภานิสิต มีบทบาทหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการของนักศึกษา เช่น แก้ไขปัญหาการเก็บค่าวินมอเตอร์ไซค์นักศึกษาที่ราคาแพงกว่าที่สภานักศึกษากำหนดไว้ และสุดท้ายฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีภาระงานหลักคือการควบคุมทุกช่องทางการสื่อสารของสภานักศึกษา การทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และที่สำคัญคือการประสานงานและการตอบคำถามผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด
การศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยบูรพา ปรัชญาของสภานิสิตคือ “Family Diversity Respect สภาของนิสิต พลังของนิสิต เพื่อเพื่อนนิสิต” ซึ่งฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ จะปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณางบประมาณของชมรม สามารถปรับ-ลดงบประมาณได้ แต่องค์การนิสิตต้องเห็นชอบด้วย เพราะชมรมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การนิสิต ในส่วนของสโมสรนิสิตจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะ แต่ในเรื่องของงบ โครงการจะต้องผ่านองค์การนิสิต และสภานิสิตตรวจสอบก่อน จากนั้นเมื่อองค์กรมีการจัดโครงการ ฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการจะลงพื้นที่ตรวจกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมจดบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมดังกล่าว หากพบปัญหาจะบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม และนำมาเป็นข้อมูลสำหรับทบทวนการจัดกิจกรรม และการวางแนวทางแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานร่วมกับฝ่ายดำเนินกิจกรรม ตรวจสอบและติดตามการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สำหรับฝ่ายประชาสัมพันธ์ จะมอบหมายงานตามความถนัดของบุคคล ซึ่งโดยมากเป็นงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การทำกราฟิกสื่อสิ่งพิมพ์ และปัญหาที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์พบบ่อยคือ การมีข้อมูลสำหรับประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอเมื่อถูกสอบถามข้อมูล จึงทำให้ไม่สามารถตอบคำถามได้ทันที จำเป็นต้องประสานงานไปยังช่องทางอื่นเพื่อหาข้อมูลก่อนทำให้เสียเวลาในส่วนนี้ ส่วนฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการ จะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาแก้ไข และมีโครงการที่ประทับใจคือโครงการแจกผ้าอนามัยและถุงยางอนามัย รวมถึงโครงการ Traffy Fondue ซึ่งเป็นช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่พบเจอภายในมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ผ่านทาง Line Application ที่สามารถติดตามตามทุกขั้นตอนได้อย่าง Real time.
จากการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนโครงการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนกระบวนการการทำงานและสร้างเครือข่ายสภานักศึกษา ประจำปี 2567 มีบุคลากรและสมาชิกสภานักศึกษา เข้าร่วมโครงการ 26 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 27 คน คิดเป็นร้อยละ 96.30 สำหรับการประเมินโครงการนั้น ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ พบว่า สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการการบริหารงานกับสภานักศึกษาต่างสถาบันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.24) อีกทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกสภานักศึกษาและสภานักศึกษาต่างสถาบันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28) โดยภาพรวมบรรลุวัตถุประสงค์โครงการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26)
ด้านการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนกระบวนการการทำงานสภานักศึกษาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.16) และได้รับความรู้จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารงานสภานักศึกษาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.32) รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการบริหารจัดการสภานักศึกษาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28) โดยภาพรวมนั้นความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.25)
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการการบริหารงานกับสภานักศึกษาต่างสถาบัน
|
สามารถสร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารงานสภานักศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษาอื่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.24)
|
2
|
เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และสภานักศึกษาต่างสถาบัน
|
สมาชิกสภานักศึกษาได้สานสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกภายในองค์กรสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และต่างสถาบันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28)
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารงานระหว่างสภานักศึกษาต่างสถาบัน รวมถึงเกิดเครือข่ายสภานักศึกษาต่างสถาบัน
1.
ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อผลการดำเนินงานโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
2.
ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของเข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
01/04/2567
-
30/06/2567
|
01/04/2567
-
30/06/2567
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ