ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 1 "ศิลปศาสตร์วิชาการ:นวัตกรรม การสื่อสาร และสุขภาวะเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน" ได้มีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2567 มีเครือข่ายร่วมจัดงานประชุมวิชาการ ทั้งสิ้น 11 สถาบัน 17 คณะ/หน่วยงาน ดังนี้
1) วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3) คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4) คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6) วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
7) คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
8) คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
9) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
10) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
11) สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (สททร)
12) Universitas Negeri surabaya
13) Universitas Indraprasta
14) Universitas Negeri Semarang
15) Universitas PGRI Adi Buana Surabaya
16) Central Luzon State University
17) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาคเอกชนร่วมสนับสนุนการจัดงาน 2 หน่วยงาน
1) บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด กลุ่มมิตรผล
2) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด
ภาพรวมการจัดงานประชุมวิชาการฯ
ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ได้มีการหารือกับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการจัดงานและหารือเบื้องต้นในการจัดงานครั้งต่อไป
ในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภาคเช้าคณะฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 ท่านให้การบรรยายพิเศษหัวข้อ “Community-based USR*CSR Sustainable Social Projects from Feng Chia University in Taiwan” โดย Assistant Prof. Cindy Hsueh General Education Center Office and Sustainable Development and Social Responsibility Feng Chia University และการบรรยายพิเศษหัวข้อถักถ้อยร้อยประเด็น: การสร้าง “สังคมนวัตกรรม” โดย ศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ นักวิชาการอิสระ
ในภาคบ่ายเป็นการนำเสนผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ การนำเสนอผลงานแยกห้องนำเสนอผลงาน 4 ห้องย่อย นำเสนอผลงานระดับชาติ 2 ห้อง และนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ (ออนไลน์) 2 ห้อง
การส่งบทความในระบบลงทะเบียน
- การนำเสนอระดับชาติ มีผู้ส่งผลงานจำนวน 25 เรื่องสละสิทธิ์ 4 เรื่อง เหลือ 21 เรื่อง
1) ผู้สนใจทั่วไป 24 เรื่อง /สละสิทธิ์ 4 เรื่อง
2) บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ 5 เรื่อง
- การนำเสนอระดับนานาชาติ มีการส่งผลงาน 29 เรื่องลสะสิทธิ์ 2 เรื่อง เหลือ 27 เรื่อง
1) ผู้สนใจจากมหาวิทยาลัยนอกเครือข่าย 15 เรื่อง สละสิทธิ์ 2 เรื่อง
2) มหาวิทยาลัยเครือข่ายต่างประเทศ 12 เรื่อง
3) บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ 2 เรื่อง
(มหาวิทยาลัยเครือข่ายไม่เสียค่าใช้จ่าย กำหนดให้ส่ง 3 บทความ/เครือข่าย)
ดังนั้น ในวันงานจึงมีผู้นำเสนอผลงานทั้งสิ้น 47คน(48 เรื่อง)แยกเป็นการนำเสนอผลงานระดับชาติ 21เรื่อง และนำเสนอผลงานะดับนานาชาติ 27 เรื่อง
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
ผู้นำเสนอผลงานแจ้งความประสงค์ในการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) 22 เรื่อง
(ระดับชาติ 9 เรื่อง ระดับนานาชาติ 13 เรื่อง)
งบประมาณ
คณะฯ มีงบประมาณสนับสนุนการจัดงาน ทั้งสิ้น 440,781.6 บาท
1) เครือข่ายจัดงานประชุมวิชาการ 11 เครือข่าย 110,000 บ.
2) ผู้นำเสนอผลงานชาวไทยและชาวต่างประเทศ 80,181.6 บ.
3) ผู้เข้าร่วมการประชุม 10,600 บ.
4) ภาคเอกชน 240,000 บ. (ได้รับการสนับสนุนก่อนมีการระบุไว้ใน erp)
มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งสิ้น 205,549 บาท
***ดังนั้น จึงมีผลกำไร 235,232.6 บาท
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ
|
คณะศิลปศาสตร์ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
คณะศิลปศาสตร์จัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
1.
จำนวนบทความที่เข้าร่วมนำเสนอการประชุมวิชาการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
70
|
|
0.00
|
2.
จำนวนคนเข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
30/04/2567
-
30/09/2567
|
22/08/2567
-
23/08/2567
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ