การประกวดสร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
7 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมอบรางวัลแด่นักศึกษาที่ได้รับรางวัลการประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ประเภทสารคดี โดยมีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เป็นผู้มอบรางวัลและเกียรติบัตร ณ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผลการประกวด :
*การประกวดสารคดีสั้น หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”
- รางวัลชนะเลิศ ทีม ROD STUDIOS “ตาหมาควายหลวง แห่งลวงเหนือ”
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม เกิดใหม่ทั้งทีเป็นลิงลพบุรีไปซะแล้ว “ตอกลายหลูบเงิน”
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม บูทๆเอเนอจี้ "ผ้าทอทำไมถึงแพง"
- รางวัลชมเชย ทีม หมูหยอง “The Last Blacksmith”
- รางวัลชมเชย ทีม ตะวันแดง “บ้านทิพย์มณี สืบทอดมรดกแหล่งกำเนิดถิ่นถวาย”

*การประกวดสารคดีสั้น หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”
- รางวัลชนะเลิศ (ไม่มีผู้ได้รับรางวัล)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม เด็กมีเรื่องเล่า “พิธีผูกข้อมือปกาเกอะญอ”
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Faithful “ลายลักษณ์สักยันต์ (The legend of tattoo)”
- รางวัลชมเชย ทีม พ่อมด “ประเพณีฟ้อนผีมดผีเม็ง”
- รางวัลชมเชย ทีม หล่ายปิงสตูดิโอ “พระรอด พระเครื่องจังหวัดลำพูน”

*การประกวดสารคดีสั้น หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”
- รางวัลชนะเลิศ (ไม่มีผู้ได้รับรางวัล)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (ไม่มีผู้ได้รับรางวัล)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ไม่มีผู้ได้รับรางวัล)
- รางวัลชมเชย ทีม สอง ออ ไม่เคยพอเพียง “ศิลปะล้านนากลองสะบัดชัย”
- รางวัลชมเชย ทีม Paper “โคมแสงสว่างแห่งชาวล้านนา”
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ ได้ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์
2 เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านทางวัฒนธรรม ด้วยการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เห็นคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน ได้รวบรวมข้อมูลด้านทางวัฒนธรรม ด้วยการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เห็นคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน
3 เพื่อสนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้สนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การประกวดสร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การประยุกต์ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เชิงคุณภาพ ระดับ 3 0.00
2. จำนวนผลงานที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินและได้รับรางวัล
เชิงปริมาณ ผลงาน 15 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/02/2567  - 30/04/2567 01/02/2567  - 07/03/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ