โครงการจิตอาสา ปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
นายกสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์(นางสาวสายธารา ชูแก้ว) ผู้นำนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์กล่าววัตถุประสงค์โครงการแก่คณะครู-นักเรียน และผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยตำรวจตรีวรวุฒิ นาครุ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านป้อกกล่าวเปิดและต้อนรับคณะค่ายจิตอาสา ปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ ดังนี้
1. ได้ทำกิจกรรมนันทนาการ สร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านป้อก
2. ได้ทำกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนด้านกายภาพร่วมกับชาวบ้านและคณะครู นักเรียน โดยแบ่ง กิจกรรมออกเป็น 4 ฐานหลักๆ ได้แก่
2.1 กิจกรรมทาสีรั้วโรงเรียน สีประตูโรงเรียนและทาสีบันไดหน้าอาคารเรียน
2.2 กิจกรรมทาสีสนามกีฬาวอลเลย์บอล สนามกีฬาตะกร้อ และแบดมินตัน
2.3 กิจกรรมทำบ่อหมัก(ปุ๋ย)ใบไม้
2.4 ตัดหญ้า ตัดแต่งต้นไม้กวาดใบไม้บริเวณภายในโรงเรียน ร่วมกับชาวบ้านและนักเรียน
3. มอบสื่อการเรียน ศัพท์ภาษาอังกฤษ-จีน-ไทย
4.บริจาคสิ่งของอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน บริจาคเสื้อผ้าของใช้จากผู้ให้บริจาคต่างๆ แก่ชาวบ้านและนักเรียน
5. มอบทุนการศึกษาผ่านโรงเรียนเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านป้อกลำดับไป
6. กิจกรรมมอบของรางวัลแก่ผู้ร่วมโครงการ โดยการจับฉลากของรางวัลต่างๆ จากผู้ให้บริจาค
7. ถวายชุดยาสามัญประจำบ้านและปัจจัยแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ให้พรหลังเสร็จกิจกรรม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมภาวะความเป็นผู้นำและจิตสาธารณะรู้จักรับผิดชอบหน้าที่และช่วยเหลือสังคม จากการดำเนินงานโครงการ การวางแผนการทำงาน ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ผู้เข้าร่วมโครงการจิตอาสา ปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง ทำให้เกิดภาวะความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในหน้าที่ บูรณาการการทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีจิตสาธารณะช่วยเหลือสังคมเพิ่มมากขึ้น
2 เพื่อให้นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น จากการดำเนินงานโครงการ การวางแผนการทำงาน ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ผู้เข้าร่วมโครงการจิตอาสา ปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง ทำให้เกิดภาวะความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในหน้าที่ บูรณาการการทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีจิตสาธารณะบำเพ๊ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคมเพิ่มมากขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้เรียนรู้งานด้านจิตอาสาเพื่อพัฒนาโรงเรียนในชนบทและเสริมสร้างจิตสาธารณะ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผู้เข้าร่วมดครงการจิตอาสาฯ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมมีทักษะการทำงานเป็นทีม การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น (ผ่านเกณฑ์ระดับดีประเมินโดยผู้รับผิดชอบโครงการ)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
3. ระดับความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประเมินจิตอาสาฯ.pdf
เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
22/01/2567  - 29/03/2567 27/01/2567  - 27/01/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ