โครงการมหกรรมหมอลำอีสาน ศิลป์ล้านช้างคอนเสิร์ต
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ชมรมโปงลางแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการมหกรรมหมอลำอีสาน ศิลป์ล้านช้างคอนเสิร์ต ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บริเวณลานปูน ด้านหลังอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานให้คนหลากหลายพื้นที่ได้รู้จัก และสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่สนใจวัฒนธรรมอีสานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีเวทีแสดงทักษะความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมชาวอีสาน ซึ่งจัดงานชื่อ “มหกรรมหมอลำอีสาน ศิลป์ล้านช้างคอนเสิร์ต” ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลายในธีมงานไทบ้านอีสาน เช่น มีกิจกรรมพาแลงลูกหลานชาวอีสาน (พาข้าว) โดยเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันแบบชาวอีสาน กิจกรรมออกร้านขายของของนักศึกษาเพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้พิเศษ กิจกรรมซุ้มขายอาหารพื้นบ้านอีสานของนักศึกษา และที่สำคัญคือกิจกรรมการแสดงดนตรีและการแสดงหมอลำเรื่องโดยวงโปงลางแม่โจ้ และเครือข่ายความร่วมมือชาวอีสานในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงคอนเสิร์ตจากศิลปินรับเชิญ บิ๋ว พรประภา สมสุข ที่มามอบความสนุกสนานภายในงาน
ผลการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินผล ซึ่งปรากฏผลการประเมินดังนี้ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 270 คน คิดเป้นร้อยละ 54 จากกลุ่มเป้าหมาย (500 คน) ในด้านการประเมินวัตถุประสงค์โครงการนั้น พบว่ากิจกรรมนี้สามารถส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานให้เป็นที่รู้จักอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51) และสามารถสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่สนใจศิลปวัฒนธรรมอีสานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.42) รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีเวทีแสดงทักษะความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมชาวอีสานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.56) สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานโครงการนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.24)
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการจัดกิจกรรมหลายประการ โดยเห็นว่าควรมีการจัดการและปรับปรุงเรื่องอาหารและการประสานงาน เนื่องจากการจัดงานโดยภาพรวมที่ยังมีการวางแผนและการเตรียมงานที่ไม่รอบคอบ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรับรู้ยังไม่มากพอ จึงส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานให้ผู้คนในหลากหลายพื้นที่ได้รู้จัก สามารถส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานให้ผู้คนในหลากหลายพื้นที่ได้ชมการแสดงและรู้จักวัฒนธรรมอีสานมากขั้นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51)
2 เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่สนใจในวัฒนธรรมอีสานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่สนใจในวัฒนธรรมอีสานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.42)
3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีเวทีแสดงทักษะความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมชาวอีสาน นักศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีเวทีแสดงทักษะความสามารถ โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมชาวอีสานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.56)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้คนจากหลากหลายพื้นที่ได้รู้จักวัฒนธรรมอีสานจากการเข้าร่วมงาน เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มเครือข่ายคนอีสานทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษาได้มีโอกาสแสดงทักษะความสามารถทางดนตรีและการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสาน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการต่อผลการดำเนินกิจกรรม
เชิงปริมาณ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/12/2566  - 29/02/2567 01/12/2566  - 29/02/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ