โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการคัดแยกขยะในองค์กร ประจำปี 2567
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการคัดแยกขยะในองค์กร ประจำปี 2567 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม โดยสามารถสรุปผลการจัดกิจกรรมได้ดังนี้

1.กิจกรรมการ บันทึกรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ (เดือนมกราคม - สิงหาคม) 2567 สามารถทราบปริมาณขยะและสัดส่วนดังต่อไปนี้
- ปริมาณขยะรวม 3462.29 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็น ขยะทั่วไป (ฝั่งกลบ) ปริมาณ 947 กิโลกรัม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.62 ของปริมาณขยะทั้งหมด) ขยะรีไซเคิลและขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ปริมาณ 2514.30 กิโลกรัม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.38 ของปริมาณขยะทั้งหมด)

2.กิจกรรม การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่าย โดยจัดกิจกรรมในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 40 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่าย ซึ่งสามารถร่วมกันทำปุ๋ยในวงตาข่ายจำนวน 15 วง คิดเป็นปริมาณขยะขยะอินทรีย์ (ใบไม้แห้ง) ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ปริมาณ 750 กิโลกรัม

3.กิจกรรม Young Go Green จัดกิจกรรมจำนวน 3 ครั้ง ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 28 สิงหาคม 67 โดยเป็นกิจกรรมที่ให้บุคลากรและนักศึกษา มีส่วนร่วมในการรับนำขยะกำพร้ามาบริจาค เพื่อเป็นการลดขยะที่จะนำส่งไปกำจัด (ฝังกลบ) ของคณะเศรษฐศาสตร์ โดยมีบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 124 คน (คิดเป็นร้อยละ 62.00) และสามารถนำขยะกำพร้าส่งเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ (ทำวัสดุสิ่งของและผลิตเป็นเชื้อเพลิง) ปริมาณกว่า 40 กิโลกรัม โดยส่งมอบให้แก่โครงการ Green Road จ.ลำพูน และโครงการ N15 Technology จ.ชลบุรี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อทราบปริมาณและสัดส่วนของขยะแต่ละประเภท ของคณะเศรษฐศาสตร์ การดำเนินงานบันทึกรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ (เดือนมกราคม - สิงหาคม) 2567 สามารถทราบปริมาณขยะและสัดส่วนดังต่อไปนี้
ปริมาณขยะรวม 3462.29 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็น ขยะทั่วไป (ฝั่งกลบ) ปริมาณ 947 กิโลกรัม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.62 ของปริมาณขยะทั้งหมด) ขยะรีไซเคิลและขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ปริมาณ 2514.30 กิโลกรัม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.38 ของปริมาณขยะทั้งหมด)
2 เพื่อส่งเสริมการนำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ คณะเศรษฐศาสตร์ โดยคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว หมวด 4 ได้มีการจัดให้มีถังขยะสำหรับรองรับขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร) ตามจุดสำหรับล้างภาชนะ รวมถึงจัดกิจกรรม การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่าย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 15 วง คิดเป็นปริมาณปุ๋ยหมักที่ได้ เป็นการส่งเสริมให้มีการนำเศษใบไม้และขยะอินทรีย์ มาทำปุ๋ยหกมักเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ 750 กิโลกรัม
3 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน จากการดำเนินกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่ายและกิจกรรม Young Go Green แยกแลกรับ มีบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 124 ราย
4 เพื่ออบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการขยะในองค์กร (การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่าย) มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่ายให้แก่บุคลากรและนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : คณะเศรษฐศาสตร์มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม (200 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะของบุคลากรและนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
3. ปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ปริมาณขยะคณะเศรษฐศาสตร์ (ม.ค.-ส.ค.67)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/01/2567  - 30/09/2567 02/02/2567  - 30/09/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ