1
|
เพื่อพัฒนาการให้บริการวิชาการด้านการประมงแก่ชุมชนและสังคมที่มีประสิทธิภาพ
|
1. คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ (เอกสารผนวก 2) เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทาง แนวปฏิบัติ รูปแบบการดำเนินงาน และวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะที่ได้กำหนดไว้ และดำเนินการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการ ประสานงานบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการบริการวิชาการ และการนำความรู้ของอาจารย์และบุคลากรที่ได้จากการศึกษาวิจัยและการเรียนการสอนด้านการประมง เพื่อนำมาบูรณาการกับการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนอย่างเหมาะสม 2. จากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สรุปผลงานประจำปี ทบทวนแผนกลยุทธ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 14–29 กันยายน 2566 (เอกสารผนวก 6) เพื่อให้ข้อเสนอแนะของการดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการของคณะฯ มาพิจารณาประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ กลยุทธหลักและแนวทางในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม และนำข้อมูลไปร่วมกิจกรรมระดมความคิดเห็น เพื่อเสนอแผนงานด้านบริการวิชาการตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC) จำนวน 2 พันธกิจ ประกอบด้วย พันธกิจด้านบริการวิชาการ ภายใต้โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน (เอกสารผนวก 1) และพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน (เอกสารผนวก 7) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 75,000 บาท (เจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) 3. คณะกรรมการบริการวิชาการได้เสนอขออนุมัติโครงการเพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชน (เอกสารผนวก 1) และกำหนดในแผนพัฒนาการศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2569) และแผนปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารผนวก 8) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 (เอกสารผนวก 9) ตามที่คณะฯ ได้รับการอนุมัติงบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 7 โครงการ จึงนำเข้าหารือคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางในการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการและการสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านการประมง เพื่อการสร้างอาชีพให้กับชุมชนจากทรัพยากรทางน้ำที่มีตรงกับความต้องการของชุมชนเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริการวิชาการมีทิศทางในการดำเนินงานที่สอดคล้องตามตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการของคณะฯ จึงมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อบูรณาการชุมชนเป้าหมายร่วมกันต่อไป และสืบเนื่องจากฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ของคณะฯ ได้กำหนดให้จัดทำแบบเสนอโครงการ (ย.002) ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริการวิชาการ (เอกสารผนวก 2) จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน และ โครงการประมงโรงเรียน นั้น ประธานได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการแล้วเสร็จ จึงได้แจ้งผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2567 รอบ 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 31 มกราคม 2567 โดยมีความสำเร็จของการดำเนินงานตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ร้อยละความสำเร็จ 71.43 เทียบเท่า 3.57 คะแนน และมีประเด็นหารือแนวทางในการสร้างรายได้จากกิจกรรมบริการวิชาการ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้รวบรวมข้อมูลจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องภายในคณะฯ เพื่อนำพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป 4. คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 (เอกสารผนวก 10) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2567 จากวาระผลการให้บริการวิชาการด้านการประมง รอบ 6 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567 โดยมีความสำเร็จของการดำเนินงานตัวชี้วัดของโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน พบว่า มีร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัด 95.53 (เอกสารผนวก 11) โดยมีตัวชี้วัดที่บรรลุตามแผนงาน ประกอบด้วยกิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและติดตามผลการดำเนินงาน ณ ชุมชนเป้าหมาย การพัฒนาฐานเรียนรู้เพื่อบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของคณะ การให้บริการวิชาการองค์ความรู้ด้านการประมงให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และรายได้จากการให้บริการวิชาการ ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการให้บริการวิชาการ และจำนวนผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้ยังมีตัวชี้วัดจำนวนรายรับจากการให้บริการวิชาการที่ยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดวิธีการประเมินความคุ้มค่าของต้นทุนประสิทธิผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ซึ่งคณะกรรมการฯ มีมติในการปรับแผนงานและกิจกรรมการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการหารายได้จากการให้บริการวิชาการที่สามารถดำเนินการได้ในรูปแบบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนซึ่งเป็นการให้บริการวิชาการภายใต้ข้อตกลงทางวิชาการและความร่วมมือทางวิชาการเป็นสำคัญ 5. คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 (เอกสารผนวก 12) เพื่อติดตามการสรุปผลการดำเนินงานและตัวชี้วัด ในรอบ 9 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเป้าหมายโครงการตามแผนแผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC) พันธกิจด้านบริการวิชาการ ภายใต้โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน (เอกสารผนวก 1) พบว่า มีร้อยละความสำเร็จเฉลี่ย 98.70 (เอกสารผนวก 13) มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมด้านการให้บริการวิชาการด้านการประมงผ่านฐานเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งคณะฯ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและประสานงานกับคณาจารย์และบุคลากรที่รับผิดชอบฐานเรียนรู้เพื่อสรุปข้อมูลฐานเรียนรู้ภายในคณะที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 14 ฐาน เพื่อรองรับการให้บริการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และการส่งเสริมชุมชนเครือข่ายด้านการประมงเพื่อพัฒนาเป็นฐานเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 8 ฐาน และจากการติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการของคณะฯ ตามแผนปฏิบัติการฯ ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 7 โครงการ (เอกสารผนวก 14) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมบริการวิชาการให้เกิดประโยชน์ของผู้รับบริการทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร ชุมชนหรือสังคม และการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้เกิดการให้บริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีการดำเนินการโครงการบริการวิชาการแล้วเสร็จตามแผน และร่วมบูรณาการกับการพัฒนาชุมชนเป้าหมายจำนวน 6 โครงการ ในรูปแบบการจัดฝึกอบรมโครงการร่วมกับการเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานและลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 6. จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการประมงเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน โดยกำหนดรูปแบบของการให้บริการวิชาการจากการหารือร่วมกัน และพิจารณาตามวาระต่าง ๆ ในการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ของกลุ่มชุมชนเครือข่ายด้านการประมงตามเป้าหมายของแผนงานบริการวิชาการที่กำหนดไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการหารือความต้องการของชุมชน ติดตามผลการดำเนินงาน การให้คำปรึกษาระหว่างการดำเนินงาน เมื่อกลุ่มชุมชนมีปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างบุคลากรของคณะฯ และสมาชิกกลุ่มแบบทันต่อสถานการณ์ และเพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่มสมาชิกรายชุมชนตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจกรรมจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานในแต่ละรอบการผลิต นั้น พบว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมให้กับชุมชนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับจำนวนครั้งในการลงพื้นที่ของคณะกรรมการเพื่อให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดกับชุมชนส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานรายชุมชนได้ ซึ่งผลจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 พบว่า มีชุมชนเครือข่ายด้านการประมง จำนวน 14 ชุมชน ประกอบด้วยชุมชนเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการประมง จำนวน 3 ชุมชน ร่วมกับการสำรวจความต้องการและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแห่งใหม่ จำนวน 11 ชุมชน เพื่อรองรับการจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการประมงนอกห้องเรียนสำหรับนักศึกษาและผู้รับบริการภายนอกที่มีความสนใจกิจกรรมด้านการประมงต่อไป โดยคณะกรรมการบริการวิชาการได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษาแก่กลุ่มสมาชิกผู้รับบริการด้านการประมงในรูปแบบออนไลน์ อาทิเช่น (1) กลุ่มไลน์ประมง บ.แม่ก๋อน (2) กลุ่มไลน์ชุมชนโป่งน้ำร้อน (3) กลุ่มไลน์กลุ่มประมงตำบลยุหว่า (4) กลุ่มไลน์กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านเมืองกาญจน์ (5) กลุ่มไลน์กลุ่มประมง บ้านห้วยม่วง (6) กลุ่มไลน์ประมงบ้านบุญยืน อ.ปง (7) กลุ่มไลน์ประมง-บ้านสันมะนาว (8) กลุ่มไลน์กลุ่มสตรีบ้านดงป่าสัก (ห้วยก๋วง) จ.น่าน (9) กลุ่มไลน์กลุ่มประมงบ้านปางปอย และ (10) กลุ่มไลน์เลี้ยงปลาลุ่มน้ำงาม เป็นต้น (ภาพ 1) ร่วมกับการประสานงานชุมชนก่อนกำหนดแผนงานลงพื้นที่รายชุมชน เพื่อติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และประเมินผลทั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา และเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านความคุ้มค่าคุ้มทุนของงบประมาณที่นำไปใช้กับชุมชนต่าง ๆ พบว่า เมื่อวิเคราะห์จาก 3 ชุมชนเดิม มีผลการดำเนินงานคะแนนเฉลี่ย 3.17 คะแนน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความคุ้มค่าในการดำเนินการด้านงบประมาณ และสามารถดำเนินกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชน ที่สามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เอกสารผนวก 15) 7. คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการประชุมครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 (เอกสารผนวก 16) เพื่อติดตามการสรุปผลการดำเนินงานและตัวชี้วัด ในรอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเป้าหมายโครงการตามแผนแผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC) พบว่า มีร้อยละความสำเร็จเฉลี่ย 67.04 คิดเป็น 4.85 คะแนน และตามตัวชี้วัดภายใต้โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน (เอกสารผนวก 1) พบว่า มีร้อยละความสำเร็จเฉลี่ย 99.22 (เอกสารผนวก 17) ซึ่งจำเป็นต้องนำผลการดำเนินงานในรายตัวชี้วัดมาพิจารณากำหนดแผนงานในโครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาระบบการให้บริการวิชาการ พัฒนาผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพของชุมชนเครือข่ายด้านการประมง ทั้งนี้ต้องปรับแผนงานให้เหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการให้บริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ ส่วนด้านความคุ้มค่างบประมาณเชิงเศรษฐศาสตร์และงบลงทุนรายพื้นที่ชุมชนนั้น ต้องปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความคุ้มทุนต่อหน่วยการลงทุนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
2
|
เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรมีการบูรณาการกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในในด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัยและการให้บริการวิชาการ
|
1. จากผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2567 คณะฯ มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนปฏิบัติการฯ จำนวน 7 โครงการ มีร้อยละของจำนวนโครงการบริการวิชาการคณะฯ ที่ร่วมบูรณาการกับการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย จำนวน 6 โครงการ ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึงคิดเป็นร้อยละ 85.71 คิดเป็น 5 คะแนน (เอกสารผนวก 18) ประกอบด้วย 1 1 โครงการบริหารจัดการสุขภาพสัตว์น้ำและการลงพื้นที่สำรวจธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดความเสียหายทางธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำร่วมกับการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาสุขภาพสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ เพื่อนำประสบการณ์จากผู้รู้ วิทยากร ชาวบ้าน กลุ่มเกษตรกร มาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้ากับรายวิชาโรคสัตว์น้ำหรือการจัดการคุณภาพน้ำ และการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกที่นำตัวอย่างสัตว์น้ำมาให้ตรวจรักษา 1.2 โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดย อาจารย์ ดร. วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านการแปรรูปและวิธีการถนอมอาหารจากสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรในจังหวัดลำพูน เพื่อนำประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับชาวบ้าน กลุ่มเกษตรกร มาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้ากับรายวิชานวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงและการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก 1.3 โครงการอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปลอดภัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร ตงศิริ ได้บูรณาการองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบผลิตสัตว์น้ำแบบอินทรีย์แก่ชุมชนในพื้นที่บ้านหนองมะจับ อำเภอแม่แฝก จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนมีความสนใจและต้องการเลี้ยงปลาบึกในแหล่งน้ำของชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบในการเลี้ยงปลาแบบอินทรีย์เพื่อการบริโภคและสร้างรายได้ และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดฝึกอบรม จำนวน 2 รุ่น คือ ณ หมู่บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 25 คน และ รุ่นที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 26 คน รวมจำนวนผู้เข้ารับการจัดฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 51 คน 1.4 โครงการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชอะควาโปนิกส์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์ เทียมเมือง ได้บูรณาการองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการปลูกพืชแบบไร้ดินโดยใช้น้ำหมุนเวียนจากหารเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่ได้จากปลาและพืชผักอินทรีย์ โดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 ณ หมู่บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 25 คน และ รุ่นที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 34 คน รวมจำนวนผู้เข้ารับการจัดฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 59 คน 1.5 โครงการพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำและพื้นที่โรงเรียนหรือชุมชนเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนและพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านการประมงและทรัพยากรทางน้ำร่วมกับการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในทุกระดับของการเรียนรู้ ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และเกษตรกรในชุมชนเป้าหมายตามแผนงานที่มีความต้องการองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่สามารถสร้างเสริมทักษะและพัฒนาเป็นผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสม ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้และจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ โดยสนับสนุนให้บุคลากรร่วมบูรณาการองค์ความรู้ ดังนี้ 1.5.1 การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเลี้ยงปลา ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน ณ สถาบันการศึกษา ให้กับนักเรียนโรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี อาจารย์ ดร.นงพงา แสงเจริญ ร่วมเป็นวิทยากร 1.5.2 การเพาะเลี้ยงปลาชะโอนเพื่อพัฒนาเป็นปลาหนังเศรษฐกิจ รองรับค่านิยมการบริโภคเนื้อสัตว์น้ำเป็นอาหารที่ปลอดภัยในปัจจุบัน ให้กับเกษตรกรจากจังหวัดเชียงราย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา ร่วมเป็นวิทยากร และนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ปลาชะโอน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 1.5.3 การเพาะพันธุ์ปลาดุกด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม ให้กับนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี คุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย ร่วมเป็นวิทยากรและสาธิตขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 1.6 โครงการประมงโรงเรียน โดย คณะกรรมการบริการวิชาการ ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านการประมงและทรัพยากรทางน้ำร่วมกับการลงพื้นที่และดำเนินกิจกรรม ณ โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการแปรรูปผลผลิตจากการประมง สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้ากับรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมทักษะพื้นฐานทางการประมง ต่อยอดแผนงานแผนกการเกษตรและคหกรรมของสถาบันการศึกษา และสามารถสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้กับนักเรียนได้ (เอกสารผนวก 19) 2. คณะกรรมการบริการวิชาการได้ร่วมประสานงานและดำเนินการปรับปรุงฐานเรียนรู้ภายในคณะฯ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านบริการสังคมปลาบึก ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบหน่วยสาธิตกิจกรรมบริการวิชาการ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน และผลิตสัตว์น้ำรองรับกิจกรรมการส่งเสริมชุมชนเครือข่ายประมง โดยมีการทำความสะอาดพื้นที่ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ดำเนินกิจกรรมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ พื้นที่ฟาร์มคณะเทคโนโลยีการประมง โดยความร่วมมือของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จากรายวิชาต่าง ๆ ร่วมกับนักศึกษาสาขาพืชสวน - พืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากรายวิชาฝึกงานภายใน ด้วยการบูรณาการผ่านการเรียนการสอนร่วมกับการฝึกทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร ประมง และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนรู้ทางการประมง (ภาพ 2) 3. เพื่อให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ด้านการประมงที่หลากหลายแขนงวิชา คณะฯ จึงได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาฐานเรียนรู้ภายในคณะฯ เพื่อรองรับการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 14 ฐาน 4. การสำรวจชุมชนและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างชุมชนเครือข่ายด้านการประมงและพัฒนาฐานเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับนักศึกษาและรองรับการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 8 ฐาน 5. คณะฯ โดยบุคลากรของคณะฯ ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากการบูรณาการบริบทต่าง ๆ ของการได้มาซึ่งองค์ความรู้ อาทิเช่น จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล การเรียนการสอน งานวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งต้องประสานทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูลฐานเรียนรู้ภายในคณะฯ ร่วมกับจากประสบการณ์ของคณะทำงานที่ลงพื้นที่ชุมชน และดำเนินกิจกรรมด้านการประมงเพื่อส่งเสริมจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในแต่ละชุมชนต่าง ๆ นั้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในคณะฯ และชุมชนเครือข่ายด้านการประมงจึงได้ดำเนินการจัดทำป้ายไวนิลประจำฐานเรียนรู้โดยส่งมอบให้กับสมาชิกกลุ่มและผู้รับผิดชอบประจำฐานเรียนรู้ จำนวน 22 ฐาน (ภาพ 3) 5. การให้บริการวิชาการให้กับหน่วยงานภายนอก ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริการวิชาการ (เอกสารผนวก 2) ร่วมกับคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการประมงฯ (เอกสารผนวก 20) ได้ดำเนินการให้บริการวิชาการ ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการวิชาการด้านการประมงแก่ชุมชนและสังคมให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในด้านการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการสู่การพัฒนาฐานเรียนรู้ภายในคณะฯ และส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงในชุมชนเพื่อจัดตั้งฐานเรียนรู้ทางด้านการประมงเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้รับบริการวิชาการ จำนวน 22 ฐานเรียนรู้ จากเป้าหมาย จำนวน 5 ฐานเรียนรู้ คิดเป็น ร้อยละความสำเร็จ 100 ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้ภายในคณะฯ จำนวน 14 ฐาน ร่วมกับการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนเพื่อรองรับการให้บริการวิชาการและใช้เป็นสถานที่รองรับการฝึกปฏิบัติการ หรือ การฝึกงานของนักศึกษาสังกัดคณะฯ จำนวน 8 ฐาน (เอกสารผนวก 21) โดยมีการให้บริการวิชาการแก่ผู้รับบริการจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 34 กิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้ารับบริการ จำนวนทั้งสิ้น 10,783 คน (เอกสารผนวก 4) 6. ความสำเร็จของการบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและ/หรือการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2567 ผลการดำเนินงานการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกจากกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่คณะศึกษาดูงาน และการประชุมหารือด้านวิชาการจากหน่วยงานภายนอกร่วมกับคณาจารย์ภายในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการประมง จำนวน 10 เรื่อง
|
3
|
เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านการประมงและเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา
|
การให้บริการวิชาการและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านการประมงร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชน/ศิษย์เก่าที่เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา ในรูปแบบของการ ลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยา เพื่อดำเนินกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกกลุ่มของชุมชนเครือข่ายด้านการประมง ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 ด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน/ศิษย์เก่าที่เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา จำนวน 14 ชุมชน (เอกสารผนวก 23) ด้วยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนจากรายวิชาของคณะฯ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนและถ่ายทอดสู่สังคมตามกระบวนการให้บริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนา
|
4
|
เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ทางการประมงรองรับกิจกรรมการให้บริการวิชาการแบบมีรายได้
|
1. คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการจัดทำแบบเสนอขออนุมัติโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารผนวก 1) โดยกำหนดตัวชี้วัดในโครงการให้สอดคล้องตามแผนด้วยการกำหนดจำนวนรายรับจากการให้บริการวิชาการ มุ่งเน้นการให้บริการที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่สามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ได้ ประกอบด้วย การใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ การบริการตรวจสุขภาพสัตว์น้ำ และการใช้สถานที่ประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสังกัดของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เข้าร่วมดำเนินการ ทั้งในรูปแบบของผู้ให้บริการและผู้รับบริการจากสังคมเพื่อนำไปสู่การสร้างเสริมประสบการณ์ด้านการประมง 2. การประสานงานกับสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำโดย เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจสามารถแจ้งรายชื่อเข้าร่วมเป็นคณะดำเนินงานด้านการบริการวิชาการสู่สังคมแบบบูรณาการ และการให้บริการวิชาการแบบมีรายได้ โดยมีนักศึกษาสังกัดคณะฯ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 77 คน (เอกสารผนวก 3) 3. ดำเนินการให้บริการวิชาการแบบหารายได้ โดยดำเนินการให้บริการวิชาการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีการเรียกเก็บค่าบริการสถานที่สำหรับการดำเนินกิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรม โดยมีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 5,150 บาท มีรายละเอียด ดังนี้ (ภาพ 19) 3.1 การให้บริการห้องบรรยาย FT1101 อาคารเทคโนโลยีการประมง ในการจัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอคเพื่อยกระดับผลผลิตคุณภาพสูง” เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ และคณะบุคลากรร่วมเป็นวิทยากร มีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท 3.2 การให้บริการห้องบรรยาย FT1301 อาคารเทคโนโลยีการประมง ในการดำเนินโครงการฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการผลิตหนอนแมลง BSF ให้กับคณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 โดยมี คุณเทพพิทักษ์ บุญทา และคณะกรรมการบริการวิชาการ ร่วมเป็นวิทยากร มีรายได้จากการให้บริการห้องประชุม/สัมมนา จำนวน 2,400 บาท 3.3 การให้บริการตรวจวิเคราะห์เพศปลานิล จากแม่สายฟิชฟาร์ม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยคุณเทพพิทักษ์ บุญทา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาหร่ายและแพลงก์ตอนวิทยา และอาหารสัตว์น้ำแบบมีชีวิต พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ ชั้นปีที่ 4 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างลูกปลานิล จำนวน 250 ตัว ๆ ละ 5 บาท รวมรายได้เป็นเงิน 1,250 บาท เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567
|
5
|
เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ทางการประมงรองรับกิจกรรมการให้บริการวิชาการแบบมีรายได้
|
1. คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการจัดทำแบบเสนอขออนุมัติโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารผนวก 1) โดยกำหนดตัวชี้วัดในโครงการให้สอดคล้องตามแผนด้วยการกำหนดจำนวนรายรับจากการให้บริการวิชาการ มุ่งเน้นการให้บริการที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่สามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ได้ ประกอบด้วย การใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ การบริการตรวจสุขภาพสัตว์น้ำ และการใช้สถานที่ประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสังกัดของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เข้าร่วมดำเนินการ ทั้งในรูปแบบของผู้ให้บริการและผู้รับบริการจากสังคมเพื่อนำไปสู่การสร้างเสริมประสบการณ์ด้านการประมง 2. การประสานงานกับสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำโดย เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจสามารถแจ้งรายชื่อเข้าร่วมเป็นคณะดำเนินงานด้านการบริการวิชาการสู่สังคมแบบบูรณาการ และการให้บริการวิชาการแบบมีรายได้ โดยมีนักศึกษาสังกัดคณะฯ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 77 คน (เอกสารผนวก 3) 3. ดำเนินการให้บริการวิชาการแบบหารายได้ โดยดำเนินการให้บริการวิชาการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีการเรียกเก็บค่าบริการสถานที่สำหรับการดำเนินกิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรม โดยมีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 5,150 บาท มีรายละเอียด ดังนี้ (ภาพ 19) 3.1 การให้บริการห้องบรรยาย FT1101 อาคารเทคโนโลยีการประมง ในการจัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอคเพื่อยกระดับผลผลิตคุณภาพสูง” เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ และคณะบุคลากรร่วมเป็นวิทยากร มีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท 3.2 การให้บริการห้องบรรยาย FT1301 อาคารเทคโนโลยีการประมง ในการดำเนินโครงการฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการผลิตหนอนแมลง BSF ให้กับคณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 โดยมี คุณเทพพิทักษ์ บุญทา และคณะกรรมการบริการวิชาการ ร่วมเป็นวิทยากร มีรายได้จากการให้บริการห้องประชุม/สัมมนา จำนวน 2,400 บาท 3.3 การให้บริการตรวจวิเคราะห์เพศปลานิล จากแม่สายฟิชฟาร์ม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยคุณเทพพิทักษ์ บุญทา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาหร่ายและแพลงก์ตอนวิทยา และอาหารสัตว์น้ำแบบมีชีวิต พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ ชั้นปีที่ 4 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างลูกปลานิล จำนวน 250 ตัว ๆ ละ 5 บาท รวมรายได้เป็นเงิน 1,250 บาท เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567
|