โครงการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมสานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
คณะศิลปศาสตร์ได้จัดโครงการนี้เพื่อรับรองและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับผู้มาเยือนจากมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่ความร่วมมือกับคณะศิลปศาสตร์ คือ Universitas Pendidikan ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยมีบรรยายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศกัน

จากการให้นักศึกษาทำแบบประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบประเมินความพึงพอใจ 83 คน ผลประเมินความพึงพอใจคือ ร้อยละ 87 หรือ 4.35 จากคะแนนเต็ม 5

อนึ่ง จากการพูดคุย สอบถามผู้เข้าร่วมโครงการพบว่ามีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม และต้องการให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศเช่นนี้อีกต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้รับความรู้และได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ต้อนรับบุคลากรจาก Universitas Pendidikan Indonesia โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดโครงการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมสานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย และหารือความร่วมมือทางวิชาการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมกับบุคลากรจาก Universitas Pendidikan Indonesia ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOA) กับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 105 อาคารประเสริฐ ณ นคร

บุคลากรจาก Universitas Pendidikan Indonesia ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซียให้นักศึกษาไทย และบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ได้ให้ความรู้และวิธีการทำน้ำอบไทยให้บุคลากรอินโดนีเซีย จากการสังเกต พูดคุยและสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจ และมีความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศเพิ่มขึ้น จึงสรุปได้ว่า โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บุคลากรและนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้รับความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
17/11/2566  - 29/11/2566 17/11/2566  - 29/11/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ