ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 1
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ ได้จัดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-4 ได้ออกร้านขายผลิตภัณฑ์ ต่างๆจากเนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ดำ เป็นต้น ใน "งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร/อาหาร/สุขภาพ" ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 2
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้จัดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเชิญวิทยากรจากคณะบริหารธุรกิจมาให้ความรู้แก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 และบุคลากร จำนวนทั้งสิ้น 482 คน ในหัวข้อดังต่อไปนี้
1. หัวข้อ บัญชีเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (ห้อง AT 1412 ชั้น 4)
โดย วิทยากรจากคณะบริหารธุรกิจ คือ 1. ผศ.ดร.อรุณี ยศบุตร 2. ผศ.อัชญา ไพคำนาม
2. หัวข้อ Design Thinking สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ห้อง AT 1413 ชั้น 4)
โดย วิทยากรจากคณะบริหารธุรกิจ คือ อ.ดร.สุตาภัทร คงเกิด
3. หัวข้อ การเขียนแผนธุรกิจ (BMC) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 (ห้องประชุมใหญ่ 2204 โซนบี)
โดย วิทยากรจากคณะบริหารธุรกิจ คือ 1. ผศ.ดร.ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล 2. อ.อัมรินทร์ คีรีแก้ว
4. หัวข้อ การเขียนโครงการกู้เงินธนาคาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (ห้อง AT 1203 ชั้น 2)
โดย วิทยากรจากคณะบริหารธุรกิจ คือ อ.ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 3
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567
ณ ห้องประชุม 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
วันพุธที่ 18 กันยายน 2567 บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้จัดบูธแสดงผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และจัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับปศุสัตว์ และการทำงานในสายอาชีพผู้แทนขาย” จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีฯ กล่าวเปิดงานพร้อมรับมอบของที่ระลึกจาก คุณภาคภูมิ ทองสอน ผู้บริหารฝ่ายขาย ซึ่งกิจกรรมการบรรยายครั้งนี้มีคณาจารย์ และนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิชาการ (กิจกรรมติว) ครั้งที่ 1
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรระดับปริญญาตรีของ
คณะฯ ได้จัดกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิชาการ (กิจกรรมติว) ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในหัวข้อวิชาที่ติวคือ คม320 ชีวเคมีเบื้องต้น โดยวิทยากร คือ อาจารย์นัฐพงศ์ ฆ้องเม่ง จากสถาบันกวดวิชาชาร์ป ติวเตอร์ เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ และเตรียมความพร้อมในการสอบให้แก่นักศึกษาก่อนสอบกลางภาค ณ ห้องเรียน AT1412 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ให้ความสนใจเข้าติวในครั้งนี้ 110 คน
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 2201-2 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้รับเกียรติจาก วิทยากรจากคณะวิทยาศาสตร์ คือ ผศ.ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ มาให้ความรู้แก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 2-4 หลักสูตร 4 ปี และ 4 ปี เทียบเข้าเรียน มาบรรยายในหัวข้อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการข้อมูลการให้ผลผลิตในปศุสัตว์เบื้องต้น
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและการปรับตัว
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรม การบรรยายพิเศษในหัวข้อ การพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและการปรับตัว โดยวิทยากรบรรยายพิเศษ คือ อาจารย์นรพนธ์ ธรรมวิเศษศรี ในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องเรียน AT1413 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ 5 การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี และ 4 ปี เทียบเข้าเรียน จำนวน 300 คน ได้แก่ นักศึกษาใหม่, ทีมงานนักศึกษาและบุคลากร และคณาจารย์ ในวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการจัดเลี้ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากฟาร์มและสปอนเซอร์ของคณะให้นักศึกษาใหม่ ซึ่งในช่วงเช้า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้แนะนำอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตระดับปริญญาตรี และอาจารย์ผู้สอน โดยได้บรรยายในเรื่อง ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนสัตวศาสตร์, การลงทะเบียนเรียน, การวางแผนการเรียน, แนะนำการใช้งานระบบสารสนเทศนักศึกษา, แนะนำวิธีและขั้นตอนการลงทะเบียน, แนะนำเว็บไซด์คณะลัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้นักศึกษา
จัดกิจกรรมที่ 6 การแนะนำเส้นทางอาชีพ-เลือกวิชาเอก ครั้งที่ 1
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30-12.00 น. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมการแนะนำเส้นทางอาชีพ-เลือกวิชาเอก ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เข้าร่วมชมการจัดแสดงและนำเสนอบอร์ดนิทรรศการสหกิจศึกษาของรุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวิชาเอกที่ตนเองสนใจและการประกอบอาชีพที่ตนเองชอบ มีความถนัดในอนาคต โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 เข้าร่วมทั้งสิ้น 152 คน
กิจกรรมที่ 7 การอบรมมาตรฐานฟาร์ม ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
และส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ในวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (มาตรฐานฟาร์ม) สำหรับฟาร์มสุกร ฟาร์มโคนมและโคเนื้อ ฟาร์มไก่ไข่และไก่เนื้อ ให้กับนักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอก เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานในอนาคต ซึ่งเป็นกำลังสำคัญให้กับวงการปศุสัตว์ในการยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ การจัดการฟาร์มให้เข้าสู่มาตรฐาน ทำให้ได้สินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากสารตกค้างและเชื้อโรคต่างๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรจากสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ คือ 1. น.สพ.พชร ศรีประสาท ตำแหน่งสัตวแพทย์ชำนาญการ บรรยายในหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มสุกร“ 2. สพ.ญ.ประวีณ์นุต สุนะ สัตวแพทย์ชำนาญการ บรรยายในหัวข้อ ”มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่และไก่เนื้อ“ 3. สพ.ญ.มณิชญา ประชุม บรรยายในหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มโคนมและโคเนื้อ” ณ อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กิจกรรมที่ 8 การพบอาจารย์ที่ปรึกษา
ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ได้มีกิจกรรมพบอาจารย์ที่ปรึกษาทุกวันพุธในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน โดยในปีการศึกษา 2567 นี้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีมติเห็นชอบในการจัดทำสมุดคู่มือพบอาจารย์ที่ปรึกษาแบบใหม่ เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านใช้ในการบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดทำจำนวน 1,000 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการพบอาจารย์ที่ปรึกษาต่อไป
จากการสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรมพบอาจารย์ที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 พบว่า ผู้ตอบแบบประเมิน เป็นนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี ร้อยละ 88.89 และหลักสูตร 4 ปี เทียบเข้าเรียน ร้อยละ 11.11 โดยนักศึกษา ร้อยละ 77.76 เคยเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว และนักศึกษา ร้อยละ 22.22 ยังไม่เคยเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาในภาคเรียนที่ 1/2567 ทั้งนี้มีค่าความพึงพอใจในกิจกรรมการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะฯ เท่ากับ 4.33 หรือ ร้อยละ 86.6
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางสัตวศาสตร์ที่ทันสมัยให้แก่นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
|
นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงนอกเหนือจากชั้นเรียน ในรูปแบบจากการจัดการการเรียนการสอนของหลักสูตรคือ YLO ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีเบื้องต้น Design Thinking การเขียนแผนธุรกิจและการเขียนโครงการกู้เงินธนาคาร โดยเป็นข้อมูลพื้นฐาน วงจรหัวใจสำคัญในการการประกอบธุรกิจ
|
2
|
เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก องค์กร และชุมชน
|
นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงนอกเหนือจากชั้นเรียน ในรูปแบบจากการจัดการการเรียนการสอนของหลักสูตร
|
3
|
เพื่อประชาสัมพันธ์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะชนมากขึ้น
|
ได้เผยแพร่ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้นักเรียนและบุคลาการทางการศึกษารู้จักมากขึ้น
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
ได้รับความรู้ทางสัตวศาสตร์ที่ทันสมัย
1.
ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
2.
จำนวนนักศึกษาที่ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น
|
เชิงปริมาณ
|
คน
|
250
|
|
0.00
|
3.
ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
|
เชิงเวลา
|
ระดับ
|
4
|
|
0.00
|
4.
ร้อยละของโครงการที่เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนด
|
เชิงเวลา
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
17/11/2566
-
31/08/2567
|
16/12/2566
-
30/09/2567
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ