ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้รับการอนุมัติให้จัดโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2567 : ของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 4 ขึ้น ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมี รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมกล่าวต้อนรับวิทยากร และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งในปีนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณอานนท์ ไชยรัตน์ ปราชน์ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสลีปิงจัยแก้วกว้าง และคุณชุมพล สวิงวงค์ ผู้มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในการทำของเล่นไม้ไผ่ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา “บะข่างโว่” โดยนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ ขั้นตอนการทำ วิธีการเล่น เทคนิคการเล่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน กติกาการแข่งขัน รวมถึงคุณค่าและประโยชน์ของ "บะข่างโว่" ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังได้มีการแนะนำการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ในสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริมให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริมให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ทั้งนี้ รองศาตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้กล่าวขอบคุณวิทยากร และผู้เข้าร่วมโครงการที่ทำให้การดำเนินการตามโครงการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน
|
บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเกี่ยวกับของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา “บะข่างโว่” ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ ขั้นตอนการทำ วิธีการเล่น เทคนิคการเล่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน กติกาการแข่งขัน รวมถึงคุณค่าและประโยชน์ของ "บะข่างโว่"
|
2
|
เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
|
บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ตามโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2567 : ของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 4 สืบต่อไป
|
3
|
เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริม ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
|
บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้แนวทางในการสร้างรายได้ และยังสามารถสร้างอาชีพเสริมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต่อไปได้
|
4
|
เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่
|
บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา “บะข่างโว่” เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่"
1.
ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
2.
ระดับการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปบูรณาการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ระดับ
|
3.51
|
|
0.00
|
3.
จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
70
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
18/09/2567
-
18/09/2567
|
18/09/2567
-
18/09/2567
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ