โครงการอบรมการจัดทำแม่โจ้โพลล์แก่นักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการอบรมการจัดทำแม่โจ้โพลล์และการวิจัยเชิงสำรวจ จัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อวันพุธ ที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 น. - 16.00 น. ณ ห้องเศรษฐนิทัศน์ ชั้น 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ในการทำโพลล์และงานวิจัยเชิงสำรวจ และให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเรียนรายวิชาที่สูงขึ้น โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 72 คน กิจกรรมจัดให้มีการบรรยายเกี่ยวกับที่มาของการจัดทำโครงการแม่โจ้โพลล์ คณะเศรษฐศาสตร์ ขั้นตอนการดำเนินการ รวมถึงการให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแม่โจ้โพลล์ ซึ่งผลการประเมินการจัดโครงการ พบว่า
1.ด้านความคิดเห็นต่อการจัดโครงการ
- นักศึกษามีระดับความคิดเห็นด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแม่โจ้โพลล์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.42) โดย พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.47) รองลงมานักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคนิคการคิดประเด็นปัญหา การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ในระดับมากที่ (ค่าเฉลี่ย 4.38) นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการจัดทำแม่โจ้โพลล์ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากกิจกรรมต่อผู้อื่นได้ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31) และนักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.44) ตามลำดับ
- ด้านการบริหารจัดการ นักศึกษามีความคิดเห็นในภาพรวมด้านบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.22) โดยในรายละเอียด พบว่า ส่วนใหญ่ความเหมาะสมของอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.81) ถัดมา คือ สถานที่ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและรูปแบบขั้นตอนการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเท่ากัน ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.34) ความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31) และระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.28) ตามลำดับ

2.การทดสอบความรู้ความเข้าใจต่อการจัดทำโพลล์และการวิจัยเชิงสำรวจ
ผลคะแนนทดสอบก่อน-หลังของผู้เข้าร่วมโครงการบรรยายการจัดทำแม่โจ้โพลล์แก่นักศึกษา พบว่ามีความรู้-ความเข้าใจในการการทำวิจัยเชิงสำรวจที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยผลคะแนนเฉลี่ยและคะแนนมัธยฐานหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ 61.62 คะแนน มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 60 คะแนน และช่วงคะแนนอยู่ที่ 40-90 คะแนน แสดงให้เห็นว่าคะแนนสอบโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 60-70 คะแนน
ผลคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมอยู่ที่ 90 คะแนน มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 100 คะแนน และช่วงคะแนนอยู่ที่ 40-100 คะแนน แสดงให้เห็นว่าคะแนนสอบโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 90-100 คะแนน
จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโครงการบรรยายการจัดทำแม่โจ้โพลล์แก่นักศึกษาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำแม่โจ้โพลล์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้คะแนนสอบหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างเห็นได้ชัด

การดำเนินโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษาในการทำวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรานวิชาการวิจัยในระดับที่สูงขึ้น ยังเป็นการช่วยให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานด้านงานวิจัย ได้แก่ การออกแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยภาคสนาม รวมถึงการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะและประสบการณ์ในการทำงานให้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโพลล์และวิจัยเชิงสำรวจ นักศึกษามีระดับความคิดเห็นด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแม่โจ้โพลล์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.42)
2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการเรียนต่อไป นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.44)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแม่โจ้โพลล์และผ่านการอบรมเทคนิคการทำวิจัยเชิงสำรวจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่ผ่านการอบรมเทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ (60 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ใบลงทะเบียน.pdf
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. นักศึกษามีความรู้ในการทำวิจัยเชิงสำรวจ เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
29/11/2566  - 29/11/2566 29/11/2566  - 29/11/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ