โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แหล่งเรียนรู้ด้านระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการ "อบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์" ปี 2567 สรุปผลการจัดกิจกรรม รายละเอียดดังนี้
1.กิจกรรม บรรยายเกี่ยวกับการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 32 คน แบ่งออกเป็นนักศึกษาจำนวน 26 คน บุคลากรจำนวน 6 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
- บรรยายเกี่ยวกับการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์ต่างๆ และบรรยายเกี่ยวกับการเพาะกล้าผักสำหรับการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยนางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้ว
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะกล้าผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว แตงกวา และถั่วลันเตา รวมจำนวน 10 ถาด โดยนางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้ว และนายเอกพันธ์ กูนโน

2.กิจกรรม "การอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกพืชผักและการใช้สารชีวภัณฑ์ในการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์" ในวันที่ 4 กันยายน 2567 ณ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 52 คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาจำนวน 46 คน และบุคลากร จำนวน 6 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
- บรรยายเกี่ยวกับการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ และบรรยายเกี่ยวกับการใช้สารชีวภัณฑ์และการทำน้ำหมักชีวภาพ
- เชิงปฏิบัติการปลูกพืชผัก (กระเจี๊ยบเขียวและถั่วลันเตา) ในแปลงพืชผัก
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนนมสด น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง สูตร1 และสูตร 2 และน้ำหมักผลไม้ โดยนางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้ว และนายเอกพันธ์ กูนโน




ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางการเกษตรให้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มีการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านการเกษตรแก่นักศึกษา โดยจัดให้มีกิจกรรมการบรรยาย ดังนี้
1. บรรยายเกี่ยวกับการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์ต่างๆ และบรรยายเกี่ยวกับการเพาะกล้าผักสำหรับการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
2. บรรยายเกี่ยวกับการปลูกผักในระบบเกษตรอินทรีย์ และบรรยายเกี่ยวกับการใช้สารชีวภัณฑ์และการทำน้ำหมักชีวภาพ

และจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะทางด้านการเกษตร จำนวน 7 ทักษะ ได้แก่
1.ฝึกทักษะการผสมดินสำหรับเตรียมปลูกพืชผัก
2.ฝึกษาการปลูกพืชสมุนไพรและพืชผัก
3.ฝึกทักษะการพรวนดิน บำรุงแปลงสมุนไพร
4.ฝึกทักษะการเพาะกล้าผัก
5.ฝึกทักษะการเตรียมปลูกพืชผัก (เจาะผ้าใบคุลมแปลง)
6.ฝึกทักษะการปลูกพืชผัก (กระเจี๊ยบเขียวและถั่วฝักยาว)
7.ฝึกทักษะการทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้แปลงพืชผัก

2 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ นักศึกษาได้ฝีกประสบการณ์ทักษะทางด้านการเกษตร ได้แก่ 1.ฝึกทักษะการผสมดินสำหรับเตรียมปลูกพืชผัก 2.ฝึกษาการปลูกพืชสมุนไพรและพืชผัก 3.ฝึกทักษะการพรวนดิน บำรุงแปลงสมุนไพร 4.ฝึกทักษะการเพาะกล้าผัก 5.ฝึกทักษะการเตรียมปลูกพืชผัก (เจาะผ้าใบคุลมแปลง) 6.ฝึกทักษะการปลูกพืชผัก (กระเจี๊ยบเขียวและถั่วฝักยาว) 7.ฝึกทักษะการทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้แปลงพืชผัก ซึ่งจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มีความรู้และทักษะทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมฟาร์ม 67
เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
2. จำนวนทักษะเกษตรที่นักศึกษาได้เรียนรู้
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- การฝึกทักษะทางการเกษตร ปี 67
เชิงปริมาณ เรื่อง 3 0.00
3. ร้อยละจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (80 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อโครงการฟาร์ม 67
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
05/08/2567  - 30/09/2567 14/08/2567  - 04/09/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ