โครงการเสริมสร้างทักษะผู้ประกอบการ New Gen สู่ธุรกิจ Starup ในยุค Next Normal (ToBiz Entrepreneur)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
6.1 กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการ New Gen
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์ ดร.สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 - 4
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 60 คน
วันจัดกิจกรรม : 9 กันยายน 2566
สถานที่จัดกิจกรรม : ห้อง Co Maker Space สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

6.1.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการ New Gen มีเป้าหมายเพื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักศึกษาในด้านการเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อพัฒนาทักษะนักศึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจตามแนวคิด BMC Model สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 มีกำหนดการจัดกิจกรรม ดังรายละเอียดรายงานผลโครงการดังแนบ

ผลการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 – 4 มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 53 คน พบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
1) นักศึกษาได้รับฟังการบรรยายความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 3 เรื่อง (ภาพที่ 1 – 3) ได้แก่
1.1) นวัตกรรมเพื่อธุรกิจ Startup ในยุค Next Normal
1.2) ภาษีที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ
1.3) แผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC)
2) นักศึกษาได้พัฒนาทักษะผ่านกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ (ภาพที่ 4 – 6) ดังนี้
2.1) การจัดทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC) โดยเลือกธุรกิจที่สนใจและวางแผน BMC ในรูปแบบกลุ่มๆ ละ ไม่เกิน 8 คน
2.2) ฝึก Pitching แผนธุรกิจต่อผู้ประกอบการ จำนวน 5 ท่านที่มีความเชี่ยวขาญแตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงงานผลิตกระดาษรักษ์โลก ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสาหร่าย ผู้ประกอบการนำเที่ยวและที่พักแรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการ IT และการตลาดดิจิทัล

ผลการสำรวจทัศนคติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ภาพที่ 7) พบว่า
1) ด้านความรู้/ทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมให้ความเห็นว่า ได้เรียนรู้การทำธุรกิจ การจัดทำธุรกิจแต่ละรูปแบบ นวัตกรรมธุรกิจ การทำเเผนธุรกิจ เเนวคิดและไอเดียของการเป็นเจ้าของกิจการ การเริ่มธุรกิจ รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการ ได้ข้อแนะนำที่ดีในการวางแผนธุรกิจ เข้าใจและได้พัฒนาทักษะในกระบวนการทำ BMC การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เราได้ทำธุรกิจ
2) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตจากการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมให้ความเห็นว่า สามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้าง วางแผน การตัดสินใจ และการต่อยอดธุรกิจในอนาคต การคิดภาษี รวมถึงการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในอนาคต
3) ข้อเสนอแนะอื่น ๆ พบว่า อยากให้มีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ในทุก ๆ ปี เพื่อเสริมทักษะให้กับนักศึกษา

6.1.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
1) นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด
2) ได้แผนธุรกิจ BMC ไม่น้อยกว่า 5 แผน
6.1.3 สรุปผลการประเมิน
1) นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 88.33
2) ได้แผนธุรกิจ BMC จำนวน 7 แผน คิดเป็นร้อยละ 140 (แสดงในภาพที่ 8 - 14)

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักศึกษาในด้านการเป็นผู้ประกอบการ นักศึกษาได้รับฟังการบรรยายความรู้ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
(1) นวัตกรรมเพื่อธุรกิจ Startup ในยุค Next Normal
(2) ภาษีที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ
(3) แผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC)
2 เพื่อพัฒนาทักษะนักศึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจตามแนวคิด BMC Model นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ ดังนี้
(1) การจัดทำแผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC) โดยเลือกธุรกิจที่สนใจและวางแผน BMC ในรูปแบบกลุ่มๆ ละ ไม่เกิน 8 คน
(2) ฝึก Pitching แผนธุรกิจต่อผู้ประกอบการ จำนวน 5 ท่านที่มีความเชี่ยวขาญแตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงงานผลิตกระดาษรักษ์โลก ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสาหร่าย ผู้ประกอบการนำเที่ยวและที่พักแรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการ IT และการตลาดดิจิทัล
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการจากภาคธุรกิจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. แผนธุรกิจ
เชิงปริมาณ แผน 5 0.00
2. นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
09/09/2566  - 09/09/2566 09/09/2566  - 09/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ