“โครงการวันวิทยาศาสตร์ และ Open House มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร”
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผู้เข้าร่วมงานวันวิทยาศาสตร์และ Open House มีทั้ง นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ เครือข่าย และประชาชนทั่วไป กว่า 450 คน
ผลการประเมินความพึงพอใจวันวิทยาศาสตร์และ Open House ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ระหว่างวันที่ 16 -18 สิงหาคม 2566
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมาเป็นนักศึกษา จำนวน 12 คน
คิดเป็นร้อยละ 14 เป็นครู/อาจารย์ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 10.5 เป็นสถานะอื่นๆ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 9.3
และส่วนน้อยที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 66.3 รองลงมาระดับ
ปริญญาตรี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 19.8 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี 8 คน คิดเป็นร้อยละ 9.3 ระดับประถม
2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3 และน้อยที่สุดระดับปริญญาโท 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 และปริญญาเอก 1 คน คิดเป็น
ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 75.6 และรองลงมาเป็นเพศชาย จำนวน
21 คน คิดเป็นร้อยละ 24.4 ตามลำดับ
ส่วนที่ 2 ความพึงพอในในการจัดงาน
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมกิจกรรมภายในงาน จำนวน 51 คน รองลงมาด้านสถานที่จัดงาน มีความเรียบร้อย สะดวก
จำนวน 50 คน ความเหมาะสมของวันที่จัดงาน จำนวน 49 คน ความเหมาะสมของเวลาที่ให้บริการแต่ละฐานกิจกรรม จำนวน 47 คน ความพร้อมของวัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม จำนวน 46 คน การจัดระเบียบเข้าชมแต่ละกิจกรรม จำนวน 45 คน มีแผนผัง/แผนที่ ของการจัดงานที่ชัดเจน จำนวน 44 คน
และการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม 40 คน ตามลำดับ
ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจนิทรรศการวิทยาศาสตร์(โดยผู้ให้ข้อมูลจะเลือกตอบเฉพาะกิจกรรมที่เข้าร่วมเท่านั้น)
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในนิทรรศการโรงเรียนละแมวิทยา จำนวน 53 คน รองลงมามีความพึงพอใจในนิทรรศก ารส าขาก าร
จัดการสำหรับผู้ประกอบการ จำนวน 52 คน นิทรรศการศิษย์เก่าแม่โจ้จำนวน 52 คน นิทรรศการสาขาพืชศาสตร์จำนวน 51 คน นิทรรศการกาแฟโรบัสต้า
และเครื่องดื่มสุขภาวะ จำนวน 50 คน นิทรรศการสำนักงานเกษตรอำเภอละแม จำนวน 49 คน นิทรรศการเครือข่ายโครงการชุมพรโมเดล จำนวน 46 คน
นิทรรศการวิทยาลัยประมงชุมพรเขตอุดมศักดิ์จำนวน 46 คน นิทรรศการต่อเรือไม้ไผ่ skin on frame boat จำนวน 45 คน นิทรรศการวิทยาลัยการอาชีพหลัง
สวน จำนวน 45 คน นิทรรศการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร จำนวน 45 คน นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ จำนวน 44 คน นิทรรศการน้ำมันเสม็ดขาว
และผลิตภัณฑ์น้ำมันเสม็ดขาว จำนวน 43 คน นิทรรศการต่อเรือไม้ไผ่ skin on frame boatจำนวน 43 คน นิทรรศการบริการวิชาการคลินิกเทคโนโลยี
จำนวน 1 คน และนิทรรศการการเมืองการปกครองท้องถิ่น จำนวน 40 คน ตามลำดับ
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในแข่งขันจับลูกหมูป่า จำนวน 44 คน รองลงมามีความพึงพอใจการประกวดดนตรีโฟล์คซอง จำนวน
41 คน การแข่งขันการไตเตรทตัวอย่างน้ำจำนวน 39 คน และการแข่งขันแกะปูม้าจำนวน 38 คน ตามลำดับ
ส่วนที่ 4 ความพึงพอใจกิจกรรมการประกวดและการแข่งขัน (โดยผู้ให้ข้อมูลจะเลือกตอบเฉพาะกิจกรรมที่เข้าร่วมเท่านั้น)
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในกิจกรรมแปลงสาธิตการปลูกพืชผักและดาวเรืองแบบอินทรีย์จำนวน 42 คน รองลงมามีความพึงพอใจ
ในกิจกรรมการสกัดน้ำมันเสม็ดขาวและสีย้อมจากสมุนไพร จำนวน 41 คน กิจกรรมโรงเรือนการเพาะเห็ดแบบ Smart Farm จำนวน 39 คน กิจกรรมบริการ
ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 38 คน และกิจกรรมการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินเบื้องต้น จำนวน 35 คน
ตามลำดับ
ส่วนที่ 5 ความพึงพอใจกิจกรรมสาธิตและบริการวิชาการ (โดยผู้ให้ข้อมูลจะเลือกตอบเฉพาะกิจกรรมที่เข้าร่วมเท่านั้น)
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดในการอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการ จำนวน 39 คน การประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
อำเภอละแม จำนวน 39 คน รองลงมามีความพึงพอใจการเสวนา "การใช้ประโยชน์และนวัตกรรมจากไผ่ จำนวน 38 คน เสวนา "ทิศทางและอนาคตทุเรียน
ไทย" จำนวน 38 คน การอบรมการผลิตสารชีวภัณฑ์สำหรับป้องกันโรคพืช จำนวน 37 คน การประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร
จำนวน 36 คน และการอบรมการเพาะเลี้ยงไรแดงและไรน้ำเค็ม (อาร์ทีเมีย)จำนวน 35 คน ตามลำดับ
ส่วนที่ 7 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ผู้ให้ข้อมูลได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ สามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. มีความต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดกิจกรรมลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง
2. เสนอแนะให้เพิ่มกิจกรรมในช่วงเวลากลางคืน
3. การจัดงานไม่เลิกตามกำหนดเวลา เมื่อมาชมงานในช่วงเวลาบ่าย ทางผู้จัดงานได้ดำเนินการเก็บงานเรียบร้อยแล้ว
4. การจัดงานน่าจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน เนื่องจากเป็นงานเปิดบ้าน แต่ผู้เข้าร่วมงานส่วนมากเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลและนักเรียนชั้นประถม มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายน้อยเกินไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อบริการวิชาการและฐานการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แก่ประชาชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ บริการวิชาการและฐานการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร แก่ประชาชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ เช่น ฐานเรียนรู้การเลี้ยงกุ้งน้ำเค็ม การสกัดพืชสมุนไพร การเสวนาการท่องเที่ยวชุมชน การอบรมเรื่องไผ่ และการเสวนาทิดทางของทุรียนไทย เป็นต้น
2 เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัมแม่โจ้-ชุมพร ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัมแม่โจ้-ชุมพร ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ของกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน และผู้ปกครอง ในหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง หลักสูตรสาขาวิชาพืชศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชาผู้ประกอบการ และหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ
3 เพื่อบูรณาการกับองค์กรภายในและภายนอกในด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน นักศึกษา ชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป บูรณาการกับองค์กรภายในและภายนอกในด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน นักศึกษา ชุมชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ในองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยนช์ได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : แสดงนิทรรศการงานบริการวิชาการ และเสวนา เครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่รับบริการวิชาการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 180 0.00
4. ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
เชิงต้นทุน ล้านบาท 0.214829 0.00
5. ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
6. ร้อยละที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
7. ฐานการเรียนรู้ให้คำปรึกษา
เชิงปริมาณ ฐาน 10 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/06/2566  - 30/09/2566 16/08/2566  - 30/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ