โครงการ การประกวดสร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการส่งผลงานร่วมประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้นที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีมอบรางวัลและมีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ดังนี้
การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”
รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)
ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”
ทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”

การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”
รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”

การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”
รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ ได้ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์
2 เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านทางวัฒนธรรม ด้วยการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เห็นคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน ได้รวบรวมข้อมูลด้านทางวัฒนธรรม ด้วยการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เห็นคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน
3 เพื่อสนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้สนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การประกวดสร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างสรรค์ผลงาน เชิงคุณภาพ ระดับ 3 0.00
2. จำนวนผลงานที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินและได้รับรางวัล
เชิงปริมาณ ผลงาน 12 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2566  - 30/09/2566 01/08/2566  - 30/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ