ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำวน 240 คน ตามรายละเอียดดังนี้
(1) นักศึกษารายวิชาชีววิทยาและนิเวศวิทยาทางน้ำ/ปฏิบัติงานฟาร์ม 3 จำนวน 66 คน (2) นักศึกษารายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จำนวน 32 คน
(3) นักศึกษารายวิชาหลักชีววิทยาเพื่อการประมง จำนวน 19 คน (4) คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 31 คน (5) นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป จำนวน 92 คน โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การเพาะพันธุ์ปลากินยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคุณณัฏฐกานต์ มุกดาจตุรพักตร์ ด้วยการบูรณาการร่วมกับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ FM95.5 Mhz. ในรายการแม่โจ้วิชาการ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 โดยนำเสนอวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงและประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของลูกน้ำ (ลูกยุง)ทุกชนิด ที่สามารถเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกหรือทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ และให้นักศึกษาทำการเพาะขยายพันธุ์ เพื่อฝึกการปฏิบัติจริง โดยบูรณาการเข้ากับพันธกิจด้านการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ โดยมีอาจารย์ประจำวิชาเป็นผู้ควบคุม และนำแจกจ่ายใหห้แก่ชุมชน อีกทั้งสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เข้าร่วมจัดกิจกรรมเปิดโลกกิจกรรมนักศึกษา ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 โดยทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและกิจกรรมของคณะฯ ร่วมกับเชิญชวนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมดำเนินงานโครงการเพาะปลากินยุงกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก ด้วยการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลา ณ พื้นที่ดำเนินงาน และในงานสโมสรฯ ได้จัดกิจกรรมตักปลาสวยงามเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีกด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
|
จากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สรุปผลงานประจำปี ทบทวนแผนกลยุทธ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 15–27 กันยายน 2565 และได้จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC) พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต (วิชาการและพัฒนานักศึกษา) และมีกลยุทธ์เชิงรุกที่สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ประกอบด้วย (1) พัฒนานักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงกับ smart farm และฐานเรียนรู้ของคณะ ชุมชนภายนอก และเครือข่ายศิษย์เก่า และ (2) การบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำร่วมกับชุมชน หน่วยงานภายนอก จึงนำมาสู่การวางแผน และกำหนดรูปแบบกิจกรรมด้านส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาบูรณาการกับพันธกิจอื่น ๆ เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบจึงกำหนดรูปแบบการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการส่งเสริมกิจการนักศึกษา และคณะกรรมการบริการวิชาการ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลากินยุงเพื่อกำจัดยุงลาย ในกลุ่มเป้าหมายจากแผนงานโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน ร่วมกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ภายใต้โครงการประมงโรงเรียน
|
2
|
เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรมีการบูรณาการกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในในด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัยและการให้บริการวิชาการ
|
(1) วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 โดยความร่วมมือของนักศึกษารายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นักศึกษาสาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ หลักสูตร 2 ปี ชั้นปีที่ 4 ดำเนินการย้ายบ่อปูนซีเมนต์และบ่อพลาสติกสำหรับพักน้ำ ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบ รื้อหลังคาที่ชำรุด และสำรวจและสรุปรายการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงปลา (2) วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 โดยความร่วมมือของนักศึกษารายวิชาชีววิทยาของปลาและนิเวศวิทยาทางการประมง และรายวิชาปฏิบัติงานฟาร์ม 3 นักศึกษาสาขาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 2 ดำเนินการทำความสะอาดพื้นที่รอบบ่อดิน ขัดล้างบ่อปูนซีเมนต์ ตู้กระจก และเตรียมน้ำพักในบ่อเพื่อรองรับการเลี้ยงและอนุบาลปลา โดยมีคุณเทพพิทักษ์ บุญทา กรรมการบริการวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ ร่วมกำกับดูแลและให้ความรู้ เรื่อง คุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อบูรณาการร่วมกับการเสริมทักษะความรู้ให้กับนักศึกษาจากการฝึกปฏิบัติการเพาะพันธุ์ปลาในรายวิชา แล้วนำลูกพันธุ์ปลาที่ได้ไปอนุบาลต่อเพื่อกิจกรรมของคณะฯ ต่อไป (3) วันที่ 4 สิงหาคม 2566 โดยความร่วมมือของนักศึกษารายวิชาหลักชีววิทยาเพื่อการประมง นักศึกษาสาขานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 1 ร่วมกับนายจิณณวัตร ม่วงมี พร้อมคณะทำงาน ดำเนินการปล่อยปลาลงเลี้ยงและอนุบาลในบ่อที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งได้จากการรวบรวมลูกพันธุ์ปลากินยุง (G. affinis) ปลาหางนกยูง จากแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ฟาร์มคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 300 ตัว และปลาหางนกยูง (P. reticulata) ที่ได้รับอนุเคราะห์จากหน่วยงานภายนอก จำนวน 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) หจก. แม่โจ้ออร์แกนิค ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งมอบปลา จำนวน 200 ตัว และ โรงเรียนชุมชนตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ส่งมอบปลา จำนวน 150 ตัว (4) เมื่อเริ่มปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว คณะทำงานได้มอบหมายงานเพื่อติดตามการเพาะพันธุ์ปลา โดยมีหน้าที่ปฏิบัติทุกวัน เพื่อ (1) ตรวจดูบ่อเพาะผสมพันธุ์ (2) รวบรวมลูกพันธุ์ปลาย้ายไปบ่ออนุบาล (3) การให้อาหารและการคำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสม (4) ตรวจประเมินคุณภาพน้ำ ทุก 3 วัน หรือ เมื่อพบปัญหาในบ่อเลี้ยงและบ่ออนุบาล และ (5) บันทึกข้อมูลลูกพันธุ์ปลา (5) ฝ่ายสรุปงานและประเมินผล มอบหมายให้ นางสาวหงเหม ทองนาค นักศึกษาสาขาการประมง หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 4 เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการวางแผนเพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางในการสรุปงานและประเมินผลจากการดำเนินงานในรูปแบบการสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงสู่การประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ และสอดคล้องตามตัวชี้วัดของโครงการ โดยใช้แบบประเมินออนไลน์เพื่อประเมินความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับสำรวจความต้องการรับพันธุ์ปลาไปเลี้ยง เพื่อนำมาประมาณการจำนวนลูกพันธุ์ปลาให้เพียงพอ
|
3
|
เพื่อเพาะขยายพันธุ์ปลากินยุงและส่งเสริมความรู้ให้กับชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
1. การถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การเพาะพันธุ์ปลากินยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคุณณัฏฐกานต์ มุกดาจตุรพักตร์ ด้วยการบูรณาการร่วมกับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ FM95.5 Mhz. ในรายการแม่โจ้วิชาการ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 โดยนำเสนอวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงและประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของลูกน้ำ(ลูกยุง)ทุกชนิด ที่สามารถเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกหรือทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ 2. การเพาะพันธุ์ปลากินยุง (G. affinis) และปลาหางนกยูง (P. reticulata) ซึ่งจัดเป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาทิเช่น คอบร้า (Cobra) ทักซิโด้ (Tuxedo) โมเสค (Mosaic) กราซ (Grass) และ นกยูงหางดาบ (Sword tail) เป็นต้น (ภาพ 7) เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง ลำตัวไม่คดงอ มีการทรงตัวปกติ ครีบหางเป็นแพนขนาดใหญ่ และที่สำคัญมีสีสันลวดลายสวยงาม มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินสัตว์น้ำตัวเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งลูกปลาตัวเล็กๆ ที่เกิดใหม่ด้วย สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่อปลามีอายุประมาณ 3 เดือน ดังนั้นจึงต้องแยกเลี้ยงปลาเพศผู้กับเพศเมีย เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กันเอง การแยกเพศทำได้เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป 3. การให้บริการวิชาการในชุมชนร่วมกับสถาบันการศึกษา จำนวน 1 ครั้ง ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 เพื่อเข้าพบ มาสเตอร์มงคลศักดิ์ ใหม่จันทร์แดง หัวหน้าประจำกลุ่มงานสาระเรียนรู้ด้านการเกษตร หารือความร่วมมือในการมอบลูกพันธุ์ปลากินยุง เพื่อนำไปเพาะขยายพันธุ์และส่งเสริมให้นักเรียนร่วมบูรณาการในแผนการเรียนของวิชากลุ่มสาระการเกษตรทุกระดับชั้น ประจำปีการศึกษา 2/2566 สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เข้าร่วมจัดกิจกรรมเปิดโลกกิจกรรมนักศึกษา ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 โดยทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและกิจกรรมของคณะฯ ร่วมกับเชิญชวนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมดำเนินงานโครงการเพาะปลากินยุงกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก ด้วยการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลา ณ พื้นที่ดำเนินงาน และในงานสโมสรฯ ได้จัดกิจกรรมตักปลาสวยงามเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษาและผู้รับบริการจากโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างยั่งยืน
1.
ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
|
เชิงเวลา
|
ร้อยละ
|
100
|
|
0.00
|
2.
สำหรับนักศึกษา ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการจากการเข้าร่วมโครงการต่อการเรียน
|
เชิงคุณภาพ
|
คะแนน
|
3.51
|
|
0.00
|
3.
จำนวนรายวิชาของคณะฯที่ร่วมบูรณาการ
|
เชิงปริมาณ
|
รายวิชา
|
2
|
|
0.00
|
4.
ร้อยละของจำนวนนักศึกษาสังกัดคณะฯ เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ (จากจำนวน 30 คน)
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
5.
สำหรับเครือข่ายงาน ระดับคะแนนประโยชน์และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และหรือกิจกรรมด้านการประมงต่อการพัฒนาหน่วยงาน
|
เชิงคุณภาพ
|
คะแนน
|
3.51
|
|
0.00
|
6.
จำนวนครั้งในการออกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการในพื้นที่เป้าหมาย
|
เชิงปริมาณ
|
ครั้ง
|
2
|
|
0.00
|
7.
จำนวนเครือข่าย/หน่วยงานภายนอกที่ร่วมบูรณาการ
|
เชิงปริมาณ
|
หน่วยงาน
|
1
|
|
0.00
|
8.
ระดับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ/กิจกรรม
|
เชิงคุณภาพ
|
คะแนน
|
3.51
|
|
0.00
|
9.
ร้อยละของจำนวนผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก (จากจำนวน 50 คน)
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
03/07/2566
-
29/09/2566
|
05/07/2566
-
25/09/2566
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ