โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 (เงินรายได้)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 ขึ้น เมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 โดยได้รับงบประมาณการจัดโครงการจากงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 100,000 บาท ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน ดังนี้
กิจกรรมส่วนที่ 1 คือ กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมย่อย คือ
(1) พิธีถวายพานพุ่มสักการะ รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
(2) นิทรรศการเทิดพระเกียรติ และพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทว มหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
(3) นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
(4) นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(5) นิทรรศการและกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เป็นภารกิจหลักหรือเป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ คือ นิทรรศการแสดงผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อจัดงานหลัก “วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG” และหัวข้อจัดงานย่อย “เรียน-เล่น-งาน-อาชีพ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นิทรรศการแสดงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
กิจกรรมส่วนที่ 2 คือ กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเลือกดำเนินการประกอบด้วย 8 กิจกรรมย่อย ที่มีการดำเนินกิจกรรมทั้งแบบจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย (on-site) และแบบออนไลน์ (online) ประกอบด้วย
(1) การแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (on-site)
(2) การแข่งขันจรวดขวดน้ำ ประเภทยิงแม่นยำ (on-site)
(3) การแข่งขันนักบินน้อย (on-site)
(4) การแข่งขันหุ่นยนต์ (on-site)
(5) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ (on-site)
(6) ฐานกิจกรรมการเรียนรู้/สาธิตปฏิบัติการ (on-site)
(7) การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) (online)
(8) การประกวดหนังสั้นวิทยาศาสตร์ (online)
ผลการประเมินความพึงพอใจของกิจกรรมในภาพรวมพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมทั้ง 2 ส่วนในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.74) คิดเป็นร้อยละ 87.2

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" 1. เป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2 2. เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชน เยาวชนไทย ให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. ได้ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชน เยาวชนไทย ให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 (เงินรายได้)
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 0.00
2. งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
เชิงต้นทุน ล้านบาท 0.1 0.00
3. มหาวิทยาลัยมีศักยภาพและความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผลการประเมินตัวชี้วัดโครงการ.pdf
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- จำนวนของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม.pdf
เชิงปริมาณ คน 3500 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2566  - 30/09/2566 17/08/2566  - 19/08/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ