โครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 20 กันยายน 2566 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการ"พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ" โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้นานาชาติจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และนักศึกษาไทยร่วมกิจกรรม พิธีเปิด ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฏ คำมูล ได้กล่าวต้อนรับนักศึกษาและกิจรรมสันทนาการโดยน้องๆนักศึกษาทีมสันทนาการจากพัฒนาการท่องเที่ยว จากนั้นได้เดินทางไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ ณ ฐานเรียนรู้กิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เหมืองกุง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนักศึกษาได้ทำกิจกรรมฐานเรียนรู้ ฐานตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน ร่วมทำกิจกรรม Workshop การปั้นดินเผาโดยใช้ล้อหมุน การเพ้นท์สีกระถาง การเผารากุ จากนั้นภาคบ่ายนักศึกษาเข้าฐานเรียนรู้ชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิต อัตลักษณ์ล้านนา และฐานเรียนรู้ประวัติศาสตร์ล้านนา ณ หอศิลปเมืองเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ได้ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
2 เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ ในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ นักศึกษาได้มีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ ในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมถึงการใช้ทักษะวิชาชีพให้เป็นประโยชน์
3 เพื่อสนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้สนับสนุนให้งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : โครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 60 0.00
2. การประยุกต์ศิลป์สู่แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2566  - 30/09/2566 20/09/2566  - 20/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ