การยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย ได้จัดสรรงบประมาณการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูงด้าน ววน. เพื่อขับเคลื่อนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มยุทธศาสตร์ ภายใต้โปรแกรม 25 (P25) แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน. ได้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) เพื่อดำเนินโครงการการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง โดยมหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
ด้านการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ระบบ โดยฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ ได้ดำเนินโครงการฯ ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัยร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในการผ่านการขับเคลื่อนผลงานด้าน Technology/Business Incubation & Technology Transfer ในการ Utilization การผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดระบบฐานข้อมูลการติดตามผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนด้านการนำไปใช้ประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยรวมทั้งการพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยการผลักดันให้บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงานได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร จำนวน 4 คน โดยแบ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการจัดการผลงานทรัพย์สินทางปัญญาจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 2 ราย จากวิทยาเขตแม่โจ้-แพร่ จำนวน 1 ราย และจากฝ่ายกฎหมาย จำนวน 1 ราย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในระดับมหาวิทยาลัย
ด้านการผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการจัดทำความร่วมมือกับบริษัท/หน่วยงานในการผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จำนวน 3 สัญญา/ผลงาน โดยมีบริษัทผู้รับอนุญาต ได้แก่ บริษัท น้ำเชื้อว่องไว จำกัด จำนวน 1 สัญญา และบริษัท อนิ โปรดัก จำกัด จำนวน 2 สัญญา และมีการดำเนินกิจกรรมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลักดันการนำผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับชุมชน/ผู้ประกอบการ โดยมีข้อเสนอโครงการทั้งสิ้นจำนวน 18 ผลงาน และมีจำนวนโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 5 ผลงาน โดยแบ่งผู้ประกอบการที่นำไปใช้ประโยชน์เป็นประเภทนิติบุคคล จำนวน 3 บริษัท และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 แห่ง รวมทั้งการผลักดันให้เกิดพืชที่มีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ จำนวน 3 ผลงาน อันเป็นพืชปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ ในนาม แม่โจ้ ไวท์ เพิร์ล (Maejo White Pearl) แม่โจ้ กรีน เพิร์ล (Maejo Green Pearl) และแม่โจ้ พิ้งค์ เพิร์ล (Maejo Pink Pearl) โดยผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี อาจารย์/นักวิจัย สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ด้านการสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ นักวิจัย นักศึกษาและบุคลากรมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 261 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวิทยาเขตแพร่และชุมพร
- การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่
เกี่ยวข้อง หัวข้อ “พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
ที่มีผลกระทบต่อการวิจัยในมหาวิทยาลัย”
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
- การสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- การพัฒนาบุคลากรด้านการนํานวัตกรรมไปใช?ประโยชน?ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งของมหาวิทยาลัย
- การอบรมการจัดการนวัตกรรมขององค์กรสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิช ตาม
แนวทางของ ISO 56002:2021
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 การเสริมสร้างกลไก (Mechanism) ระบบการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างผู้ประกอบการใหม่ พร้อมทั้งเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Core Culture) ในการพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม - เศรษฐกิจ และสามารถยกระดับขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศ ด้านการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ระบบ โดยฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ ได้ดำเนินโครงการฯ ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัยร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในการผ่านการขับเคลื่อนผลงานด้าน Technology/Business Incubation & Technology Transfer ในการ Utilization การผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดระบบฐานข้อมูลการติดตามผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนด้านการนำไปใช้ประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
2 เพื่อผลักดันงานวิจัยที่อยู่ในมหาวิทยาลัยให้มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการสร้างความตระหนักด้านการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคลากรและส่วนงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย ด้านการสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ นักวิจัย นักศึกษาและบุคลากรมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 261 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวิทยาเขตแพร่และชุมพร
- การสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบ ข้อบังคับที่
เกี่ยวข้อง หัวข้อ “พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
ที่มีผลกระทบต่อการวิจัยในมหาวิทยาลัย”
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
- การสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- การพัฒนาบุคลากรด้านการนํานวัตกรรมไปใช?ประโยชน?ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งของมหาวิทยาลัย
- การอบรมการจัดการนวัตกรรมขององค์กรสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิช ตาม
แนวทางของ ISO 56002:2021
3 เพื่อสร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้ตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และการพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต การพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยการผลักดันให้บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงานได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร จำนวน 4 คน โดยแบ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการจัดการผลงานทรัพย์สินทางปัญญาจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 2 ราย จากวิทยาเขตแม่โจ้-แพร่ จำนวน 1 ราย และจากฝ่ายกฎหมาย จำนวน 1 ราย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในระดับมหาวิทยาลัย
4 เพื่อส่งเสริมการนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area based Innovation for Community) ด้านการผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการจัดทำความร่วมมือกับบริษัท/หน่วยงานในการผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จำนวน 3 สัญญา/ผลงาน โดยมีบริษัทผู้รับอนุญาต ได้แก่ บริษัท น้ำเชื้อว่องไว จำกัด จำนวน 1 สัญญา และบริษัท อนิ โปรดัก จำกัด จำนวน 2 สัญญา และมีการดำเนินกิจกรรมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลักดันการนำผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับชุมชน/ผู้ประกอบการ โดยมีข้อเสนอโครงการทั้งสิ้นจำนวน 18 ผลงาน และมีจำนวนโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 5 ผลงาน โดยแบ่งผู้ประกอบการที่นำไปใช้ประโยชน์เป็นประเภทนิติบุคคล จำนวน 3 บริษัท และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 แห่ง รวมทั้งการผลักดันให้เกิดพืชที่มีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ จำนวน 3 ผลงาน อันเป็นพืชปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ ในนาม แม่โจ้ ไวท์ เพิร์ล (Maejo White Pearl) แม่โจ้ กรีน เพิร์ล (Maejo Green Pearl) และแม่โจ้ พิ้งค์ เพิร์ล (Maejo Pink Pearl) โดยผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี อาจารย์/นักวิจัย สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ภายใต้ Platform กลางของมหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 1. MJU_ระบบนิเวศIP.pdf
เชิงคุณภาพ ระบบ 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. พันธุ์พืชที่มีการจดสิทธิบัตรต่างประเทศ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 5. MJU_IP ต่างประเทศ.pdf
เชิงคุณภาพ ผลงาน 2 0.00
2. บริษัท/หน่วยงาน ที่จัดทำความร่วมมือ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 2. MJU_หน่วยงานที่มีความร่วมมือ.pdf
เชิงคุณภาพ หน่วยงาน/บริษัท 3 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : การพัฒนากำลังคนด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. บุคลากรปฏิบัติงานส่วนงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 6. MJU_ตัวแทนสิทธิบัตร.pdf
เชิงคุณภาพ คน 3 0.00
2. นักวิจัย นักศึกษา บุคลากร ที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 4. MJU_การสร้างความตระหนัก.pdf
เชิงคุณภาพ คน 120 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 4 : การนํานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน Area-based Innovation for Community
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 3. MJU_การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์.pdf
เชิงคุณภาพ ผลงาน 6 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
28/02/2566  - 27/02/2567 28/02/2565  - 30/08/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ