โครงการศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
รายวิชาปฏิบัติงานฟาร์ม 1 ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดกิจกรรมเสวนาศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์-Fish Talk จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
(1) ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ FISHTALK EP-1 หัวข้อ “การจัดการฟาร์มแบบครบวงจร” ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุม FT1101 โดยได้เชิญคุณราเมษ ปานนิล (พี่หมู) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 64 ประมงรุ่น 16 ตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายอาหารสัตว์น้ำจืด บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และ คุณศราวุธ บัวล้อม (พี่นุ๊ก) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 67 ประมงรุ่น 19 ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขายอาหารสัตว์น้ำจืด บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มาเป็นเป็นวิทยากร และดำเนินรายการโดย อ.ดร.โดม อดุลย์สุข และนายประเสริฐ ประสงค์ผล ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 106 คน ทั้งนี้วิทยากรทั้งสองท่านได้ให้แนวคิดแก่นักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ หรือวางแผนในการประกอบอาชีพ ดังนี้
- ต้องฝึกฝนและปฏิบัติให้ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่รักและชอบ
- ศึกษาและทำความเข้าใจกับรายวิชาอย่างถ่องแท้ เพราพในการประกอบอาชีพจริง ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น ถ่อยากเป็นนักวิชาการส่งเสริม ก็จะต้องมีความชำนาญเรื่องคุณภาพน้ำ คุณน้ำอาหาร โรคสัตว์น้ำ การตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น การคำนวณค่าต่าง ๆ ได้แก่ FCR, ADG ตลอดจนต้องศึกษาข้อมูลเรื่องราคาปลา กลไกการตลาด ระบบการขนส่ง อย่างสม่ำเสมอ
- ต้องรู้จักวางแผนในการประกอบอาชีพในอนาคต เพราะอาชีพทางด้านการประมงมีเยอะพอสมควร ไม่ใช่แค่การเพาะ อนุบาล เลี้ยง ยังมีองค์ประกอบอีกหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ธุรกิจประมงขับเคลื่อนไปได้ เช่น บริษัท/ร้านค้าจำหน่ายอาหาร เวชภัณฑ์ พ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้อปลา ผู้รับจ้างลากปลา ผู้รับจ้างขนย้ายปลา ร้านจำหน่ายปลา พ่อครัว/แม่ครัว คนปรุงอาหาร ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตวน้ำ

(2) ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ FISHTALK EP-2 หัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีเลี้ยงปลาในแม่น้ำระบบเปิด” ในวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุม FT1101 โดยได้เชิญคุณชาคริต ชูทอง (พี่หมี) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 61 ประมงรุ่น 13 ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการทั่วไป บริษัทกรีนเทคอะโกรโปรดักส์ จำกัด มาเป็นเป็นวิทยากร และดำเนินรายการโดย อ.ดร.โดม อดุลย์สุข และนายประเสริฐ ประสงค์ผล ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 101 คน ทั้งนี้วิทยากรได้ให้แนวคิดแก่นักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ หรือวางแผนในการประกอบอาชีพ ดังนี้
สิ่งที่ทำให้คนประสบตวามสำเร็จ มีดังนี้
- คิดมากกว่าที่คนอื่นเห็น
- เห็นมากกว่าที่คนอื่นคิด
- มองโลกให้แตกต่างอย่างสดใส
- กระตือรือร้นทำเรื่องเดิมด้วยวิธีใหม่
- หาทางตั้งคำถามใหม่โดยไม่ใช้คำตอบเดิม
ต้องศึกษาปัญหาและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่
- ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศClimate Change
- โรคอุบัติใหม่ในปลานิล-ทับทิม ที่เกิดจากเชื้อ ไวรัส TiLV
- เกษตรกรยังใช้พันธุ์ปลาที่ไม่ได้รับการพัฒนาเรื่องการเจริญเติบโตที่เหมาะสม(ADG) ต้นทุนอาหารที่ปรับสูงขึ้นมาในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนการผลิตปลาเพิ่มขึ้น(FCR) การคำนวนต้นทุนผลผลิต ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
- การจดบันทึกข้อมูล
- การวางแผนการผลิต
กุญแจสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม มีดังนี้
- สายพันธุ์ปลาที่ดี
- อาหารที่มีคุณภาพดี
- การจัดการที่ดี รู้จักใช้เทคโนโลยี
- การตลาดที่ดี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้จากประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่หลายหลากของศิษย์เก่า ศิษย์เก่าของคณะได้ถ่ายทอดองค์ความด้านวิชาชีพทางการประมงที่ได้เรียนรู้จากการทำงานจริง สู่น้องนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
2 เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ทั้งช่วงระหว่างที่ศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา นักศึกษาของคณะได้รับแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งการสร้างอาชีพและหารายได้ระหว่างเรียนได้
3 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และ สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าของคณะ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดเพื่อสร้างเครือทางอาชีพการประมง และอาชีพทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประมง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนศิษย์เก่าที่ร่วมเล่าประสบการณ์
เชิงปริมาณ คน 6 0.00
2. ร้อยละของโครงการที่เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
3. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จากผู้เข้าร่วม 160 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
4. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/05/2566  - 29/09/2566 08/08/2566  - 15/08/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ