โครงการค่ายอาสาพัฒนาทักษะความรู้ด้านสื่อดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการค่ายอาสาพัฒนาทักษะความรู้ด้านสื่อดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2566 ณ บ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านสื่อดิจิทัลให้กับนักศึกษา และเปิดโอกาสให้สโมสรนักศึกษา และนักศึกษาสาขาการสื่อสารดิจิทัลได้นำความรู้ ความเข้าใจด้านวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ได้เรียนมา ผสมผสานระหว่างการเรียนในสถานศึกษาและการทำงานร่วมกับชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถ การวางแผน การประสานงาน และทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์สู่การปฏิบัติจริง โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนักศึกษาได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน และชุมชนในพื้นที่ โดยผลิตและถ่ายทำสื่อวีดิโอประชาสัมพันธ์ชุมชน ,ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว เสร็จแล้วได้กลับมาประชุมวางแผนการผลิตชิ้นงาน,แบ่งหน้าที่ในการผลิต,ตัดต่อ,บันทึกเสียง ร่วมกัน จนได้ผลงานสื่อวีดิโอเพื่อชุมชน จำนวน 3 เรื่อง คือ บ่อพวงสันเขา ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อพัฒนาชีวิต,แคบหมูสูตรดั้งเดิมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธรรมชาติปลอดภัยบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง และบ่อน้ำเย็น ชุมชนธรรมชาติปลอดภัยบ้านแม่ปาน สันเกี๋ยง เสร็จแล้วได้นำมอบให้ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์,เว็บเพจของคณะ และช่องทาง Youtube อันจะเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว ให้แก่ชุมชน สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำผลงานของนักศึกษาไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นในโอกาสต่อไปได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ การประสานงาน และการแก้ปัญหา โดยการปฏิบัติจริง และบูรณาการร่วมกับกับชุมชน นักศึกษาได้นำความรู้ ความเข้าใจด้านวิชาการสื่อสารดิจิทัล ที่ได้เรียนมา อาทิ การถ่ายภาพ,Info graphic, หนังสั้น หรือสื่ออื่นๆ ผสมผสานระหว่างการเรียนในสถานศึกษาและการทำงานร่วมกับชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถ การวางแผน การประสานงาน และทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์สู่การปฏิบัติจริง
ได้เรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ การประสานงาน และการแก้ปัญหา ร่วมกับกับชุมชน พื้นที่บ้้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
2 2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในด้านการอาสาพัฒนาแก่ชุมชน สังคม และการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในด้านการอาสาพัฒนาแก่ชุมชน สังคม และการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยได้ร่วมกันผลิตและถ่ายทำสื่อวีดิโอผลิตภัณฑ์ของชุมชน จำนวน 3 เรื่อง คือ บ่อพวงสันเขา ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อพัฒนาชีวิต,แคบหมูสูตรดั้งเดิมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธรรมชาติปลอดภัยบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง และบ่อน้ำเย็น ชุมชนธรรมชาติปลอดภัยบ้านแม่ปาน สันเกี๋ยง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือผู้อื่น และมีทักษะความรู้ด้านสื่อดิจิทัล
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผลงานและนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและ สังคมได้ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษาที่สร้างสรรค์ อย่างน้อย 3 ผลงาน เชิงปริมาณ ผลงาน 3 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/04/2566  - 30/06/2566 03/04/2566  - 04/04/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ