โครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้ารับการศึกษาและออกสู่โลกอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2565 - 2566
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงาน (กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ)

การดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้ารับการศึกษาและออกสู่โลกอาชีพ (กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ) ประจำปี 2566 ในครั้งนี้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้เตรียมการดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้ารับการศึกษาและออกสู่โลกอาชีพ ได้เตรียมการดำเนินโครงการในปัจจุบันปัญหาการหางานทามีความเข้มข้นของการแข่งขันในตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ ทาให้การลงทุนน้อยลง และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการชะลอการรับพนักงาน พร้อมกับอาจมีการเลิกจ้าง ดังนั้นตลาดแรงงานจึงเป็นตลาดของผู้รับสมัครที่จะคัดเลือกเฉพาะคนที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติตรงกับ ความต้องการเข้าทางาน การหางานจึงยากกว่าเดิมหลายเท่า
การเตรียมความพร้อมก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจาเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบการศึกษา ซึ่งปัจจุบัน ในแต่ละปีจานวนผู้จบการศึกษาทั่วประเทศรวมทั้งผู้ที่ตกงานค้างจากปีก่อน ๆ ที่ยังไม่ได้งานทามีจานวน มากขึ้นเรื่อยๆ และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป ซึ่งในยุคปัจจุบันการรับคนเข้าทางานในทุกวันนี้จะพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บุคลิกภาพ ความคล่องตัว ความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ เป็นต้น การเตรียมความพร้อมของผู้สมัครงานก่อนไปพบนายจ้างจึงเป็นสิ่งที่ดีและควรทา เข้าทานองที่ว่า "ฟอร์มดี มีชัยไปกว่าครึ่ง" ผู้หางานเปรียบเสมือนเซลล์แมนหรือเซลล์วูแมน โดยผู้หางานจาเป็นจะต้องมีเทคนิคและมีวิธีการต่างๆ ที่จะทาให้ผู้ซื้อสินค้า (นายจ้าง) พร้อมที่อยากจะได้สินค้า (ผู้สมัครงาน) เอาไว้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อม จึงเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้สมัครงานให้มีโอกาสที่จะได้งานมากขึ้น จึงได้เรียนเชิญวิทยากรพิเศษมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Future Skill x New Career Thailand : โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/ Newskill)” และหัวข้อ “Future of Work Trends in 2022 The new era of humanity : Second Job ทางเลือกของคนรุ่นใหม่” โดย วิทยากรพิเศษ อาจารย์วันวิพา บุญยะศรีมานนท์ (สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่)


(กิจกรรมปฐมนิเทศ)
การดำเนินโครงการปฐมนิเทศและต้อนรับนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2566 คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ในครั้งนี้ สโมสรนักศึกษาคณะพัฒนาการท่องเที่ยว ได้เตรียมการดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบันเรื่องการหางานทำมีความเข้มข้นของการแข่งขันในตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ ทำให้การลงทุนน้อยลง และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการชะลอการรับพนักงาน พร้อมกับอาจมีการเลิกจ้าง ดังนั้นตลาดแรงงานจึงเป็นตลาดของผู้รับสมัครที่จะคัดเลือกเฉพาะคนที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติตรงกับ ความต้องการเข้าทางาน การหางานจึงยากกว่าเดิมหลายเท่า
การเตรียมความพร้อมก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบการศึกษา ซึ่งปัจจุบัน ในแต่ละปีจานวนผู้จบการศึกษาทั่วประเทศรวมทั้งผู้ที่ตกงานค้างจากปีก่อน ๆ ที่ยังไม่ได้งานทำ มีจำนวน มากขึ้นเรื่อยๆ และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป ซึ่งในยุคปัจจุบันการรับคนเข้าทางานในทุกวันนี้จะพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บุคลิกภาพ ความคล่องตัว ความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ มีการฝึกประสบการณ์จากการเรียนรู้ภายนอก เป็นต้น การเตรียมความพร้อมของผู้สมัครงานก่อนไปพบนายจ้างจึงเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ เข้าทำนองที่ว่า "ฟอร์มดี มีชัยไปกว่าครึ่ง" ผู้หางานเปรียบเสมือนเซลล์แมนหรือเซลล์วูแมน โดยผู้หางานจำเป็นจะต้องมีเทคนิคและมีวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ซื้อสินค้า (นายจ้าง) พร้อมที่อยากจะได้สินค้า (ผู้สมัครงาน) เอาไว้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อม จึงเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้สมัครงานให้มีโอกาสที่จะได้งานมากขึ้น

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่สำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของคณะพัฒนาการท่องเที่ยว นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะเข้ารับการศึกษา ได้รับการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนก้าวเข้าสู่การเป็นนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย จากคณะพัฒนาการท่องเที่ยว
2 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษาและออกสู่โลกแห่งการประกอบอาชีพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา ได้รับการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนก้าวเข้าสู่การประกอบอาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา จากคณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาคณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาและก่อนสำเร็จการศึกษาเพื่อไปประกอบอาชีพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
29/03/2566  - 31/07/2566 22/03/2566  - 26/06/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ