โครงการพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัยในคน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การอบรมหลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (Good Research Practice: GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (Human Subject Protection: HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จัดขึ้นในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และผู้ที่เตรียมรับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เข้าร่วมการอบรม จำนวน 66 คน และผ่านเงื่อนไขได้รับใบประกาศนียบัตรฯ จำนวน 66 คน
1.1 ผลการทดสอบความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จำนวน 66 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมได้คะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post-test) เพิ่มขึ้นมากกว่าคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม (Pre-test) จำนวน 62 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 93.94 ส่วนที่เหลือได้คะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post-test) เท่ากับคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม (Pre-test) (ได้คะแนนเต็มทั้งการทดสอบก่อนและหลังการอบรม) จำนวน 4 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.06 โดยผลการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม (Pre-test) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.18 คะแนน และผลการทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post-test) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.71 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
1.2 ผลการสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จำนวน 66 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการอบรมฯ ในระดับมากที่สุด (4.80 คะแนน) หรือคิดเป็นร้อยละ 96.00 โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ (4.84 คะแนน) ด้านวิทยากร/เจ้าหน้าที่ (4.88 คะแนน) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (4.56 คะแนน) และด้านการให้บริการในภาพรวม (4.85 คะแนน) ได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
1.3 ผลการสอบถามข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมของผู้เข้าร่วมการอบรม หลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จำนวน 66 คน พบว่า มีผู้ให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรม จำนวน 14 คน โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ เป็นกิจกรรมที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติ จำนวน 9 คน ควรมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้น จำนวน 3 คน และควรให้มีการจัดอบรมในลักษณะนี้เป็นประจำ จำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ 2 การอบรมหลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 7.45 – 16.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ มีนักวิจัยและนักศึกษา เข้าร่วมการอบรม จำนวน 220 คน และผ่านเงื่อนไขได้รับใบประกาศนียบัตรฯ จำนวน 144 คน
2.1 ผลการทดสอบความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย จำนวน 144 คน (เฉพาะผู้เข้าอบรมที่ทำแบบทดสอบและแบบประเมินฯ) พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมได้คะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post-test) เพิ่มขึ้นมากกว่าคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม (Pre-test) จำนวน 144 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 100 โดยผลการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม (Pre-test) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 คะแนน และผลการทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post-test) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.51 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
2.2 ผลการสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย จำนวน 144 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการอบรมฯ ในระดับมากที่สุด (4.27 คะแนน) หรือคิดเป็นร้อยละ 85.40 โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ (4.29 คะแนน) และด้านวิทยากร/เจ้าหน้าที่ (4.36 คะแนน) ได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (4.20 คะแนน) และด้านการให้บริการในภาพรวม (4.18 คะแนน) ได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับมาก
2.3 ผลการสอบถามข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย จำนวน 144 คน พบว่า มีผู้ให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรม จำนวน 34 คน โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ เป็นกิจกรรมที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติ จำนวน 19 คน ควรลดเนื้อหาและระยะเวลาในการอบรมให้น้อยลง จำนวน 6 คน ควรจัดกิจกรรมแบบ On-site มากกว่าแบบ Online จำนวน 3 คน ควรให้มีการจัดอบรมในลักษณะนี้เป็นประจำ จำนวน 3 คน ควรมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้น จำนวน 1 คน วิทยากรควรลดความเร็วในการบรรยายเนื้อหาลง จำนวน 1 คน และเอกสารประกอบการอบรมควรเป็นภาษาไทยเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย จำนวน 1 คน

กิจกรรมที่ 3 การอบรมหลักสูตร การยื่นขอรับรองโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและการกรอกแบบฟอร์ม สำหรับนักวิจัย จัดขึ้นในวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 8.30 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ มีนักวิจัยและนักศึกษา เข้าร่วมการอบรม จำนวน 60 คน และผ่านเงื่อนไขได้รับใบประกาศนียบัตรฯ จำนวน 26 คน
3.1 ผลการสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร การยื่นขอรับรองโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและการกรอกแบบฟอร์ม สำหรับนักวิจัย จำนวน 26 คน (เฉพาะผู้เข้าอบรมที่ทำแบบประเมินฯ) พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดการอบรมฯ ในระดับมากที่สุด (4.73 คะแนน) หรือคิดเป็นร้อยละ 94.60 โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ (4.79 คะแนน) ด้านวิทยากร/เจ้าหน้าที่ (4.73 คะแนน) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (4.69 คะแนน) และด้านการให้บริการในภาพรวม (4.67 คะแนน) ได้รับการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการสอบถามข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรมของผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร การยื่นขอรับรองโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและการกรอกแบบฟอร์ม สำหรับนักวิจัย จำนวน 26 คน พบว่า มีผู้ให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดกิจกรรม จำนวน 5 คน โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ เป็นกิจกรรมที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติ จำนวน 4 คน และควรให้มีการจัดอบรมในลักษณะนี้เป็นประจำ จำนวน 1 คน

กิจกรรมที่ 4 การพิจารณาโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคนของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับพิจารณาโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน จำนวน 27 โครงการ ได้แก่
4.1 โครงการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 16 โครงการ แบ่งออกเป็น
4.1.1 โครงการวิจัยที่พิจารณาแบบยกเว้น (Exemption Review) จำนวน 3 โครงการ
4.1.2 โครงการวิจัยที่พิจารณาแบบเร่งด่วน (Expedited Review) จำนวน 12 โครงการ
4.1.3 โครงการวิจัยที่พิจารณาแบบครบองค์ประชุม (Full Board Review) จำนวน 1 โครงการ
4.2 โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 11 โครงการ แบ่งออกเป็น
4.2.1 โครงการวิจัยที่พิจารณาแบบยกเว้น (Exemption Review) จำนวน 2 โครงการ
4.2.2 โครงการวิจัยที่พิจารณาแบบเร่งด่วน (Expedited Review) จำนวน 9 โครงการ
โดยทั้ง 27 โครงการได้ถูกนำเข้าพิจารณาฯ ตามกระบวนการและขั้นตอนที่ระบุไว้ในวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างครบถ้วน ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 13 โครงการ อยู่ระหว่างการแก้ไขปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการวิจัยตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ จำนวน 2 โครงการ และขอถอนโครงการวิจัยออกจากกระบวนการพิจารณา จำนวน 1 โครงการ ส่วนโครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีจำนวน 10 โครงการ และอยู่ระหว่างการแก้ไขปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการวิจัยตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ จำนวน 1 โครงการ

กิจกรรมที่ 5 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดประชุมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 7 ครั้ง แบ่งออกเป็น
5.1 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2/2565 (HS002/65) จัดขึ้นในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 10 คน
5.2 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2566 (HS001/66) จัดขึ้นในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 8 คน
5.3 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1/2566 (ST001/66) จัดขึ้นในวันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุม จำนวน 10 คน
5.4 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2/2566 (HS002/66) จัดขึ้นในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 11 คน
5.5 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 3/2566 (HS003/66) จัดขึ้นในวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 9 คน
5.6 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4/2566 (HS004/66) จัดขึ้นในวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 7 คน
5.7 การประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 5/2566 (HS005/66) จัดขึ้นในวันพุธที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 8 คน
หมายเหตุ: เนื่องจาก ในบางเดือนไม่มีโครงการวิจัยที่อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาแบบครบองค์ประชุม (Full Board Review) ยื่นเสนอขอรับรองฯ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และไม่มีเรื่องการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หรือเรื่องเร่งด่วนใดๆ จึงยกเว้นการประชุมประจำเดือนในเดือนเหล่านั้น

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (สมทบ) ให้มีคุณสมบัติในการทบทวนพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในคนตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ (NECAST) การอบรมหลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (Good Research Practice: GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (Human Subject Protection: HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จัดขึ้นในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สำนักวิจัยและส่งเริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (สมทบ) รวมทั้งผู้ที่เตรียมรับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เข้าร่วมการอบรม จำนวน 66 คน ซึ่งจากผลการทดสอบทั้งก่อนและหลังการอบรม ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การอบรมหลักสูตร แนวทางการปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ดี (Good Research Practice: GRP) และการคุ้มครองอาสาสมัคร (Human Subject Protection: HSP) สำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ทำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมดังกล่าวมีความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนเพิ่มสูงขึ้น
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยให้มีความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับการวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอบรมหลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 7.45 – 16.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ มีนักวิจัยเข้าร่วมการอบรม จำนวน 220 คน ซึ่งจากผลการทดสอบทั้งก่อนและหลังการอบรม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการอบรม หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย ทำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมดังกล่าวมีความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนเพิ่มสูงขึ้น
3 เพื่อพิจารณาโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคนของสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับพิจารณาโครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน จำนวน 27 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 16 โครงการ และ (2) โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 11 โครงการ โดยทั้ง 27 โครงการได้ถูกนำเข้าพิจารณาฯ ตามกระบวนการและขั้นตอนที่ระบุไว้ในวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างครบถ้วน ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 13 โครงการ และโครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 10 โครงการ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผลการพัฒนาศักยภาพการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 257 0.00
3. ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เชิงเวลา ร้อยละ 80 0.00
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
16/02/2566  - 30/09/2566 04/10/2565  - 29/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ