โครงการบัณฑิตนักพัฒนา มุ่งสร้างคุณค่าแหล่งท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ในปีการศึกษา 2565 โครงการบัณฑิตนักพัฒนา มุ่งสร้างคุณค่าแหล่งท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน สามารถดาเนินการจัดกิจกรรมได้ 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในชุมชน/แหล่งท่องเที่ยว (ลงพื้นที่ชุมชนออนใต้) และ 2) กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวใน
อุทยานแห่งชาติ (ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน) โดยในแต่ละกิจกรรมมีผลการดาเนินงานดังนี้

ผลการดาเนินงานกิจกรรม : ศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในชุมชน/แหล่งท่องเที่ยว (ชุมชนออนใต้)
กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในชุมชนจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและบริบทของพื้นที่ที่สามารถนามาออกแบบบริการบนหลักการ และแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุมชน และเพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้
กระบวนการออกแบบบริการที่เป็นการออกแบบประสบการณ์เบื้องต้น ไปพัฒนากิจกรรมหรือบริการที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวได้ โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ชุมชนออนใต้ อ.สันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีนักศึกษาเทียบเรียน 2 ปี ชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มย่อย หมุนเวียนศึกษาเรียนรู้และทากิจกรรมในแต่ละฐานที่มีทีมวิทยากรคอยบรรยายให้ความรู้
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1. ศึกษาเรียนรู้เชิงปฏิบัติงานฐานกิจกรรม ฟ้าใหม่แฮนด์ลูม ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
ร่วมฟังบรรยายศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอ การย้อมสีธรรมชาติจากพืชพื้นถิ่น ชมวิวัฒนาการกี่ทอมือชนิด
ต่างๆ โดยวิทยากร คุณจินดา โปธาปัน
กลุ่มที่ 2.ศึกษาเรียนรู้เชิงปฏิบัติงานฐานกิจกรรม ม่อนบาหลี สปาบ้านทุ่ง ฐานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ร่วมฟังบรรยายศึกษาเรียนรู้เรื่องการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในชุมชน โดยวิทยากร คุณฉัตรรุ่ง
ประกอบไวทยกิจ
กลุ่มที่ 3. ศึกษาเรียนรู้เชิงปฏิบัติงานฐานกิจกรรม เกษตรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวกลุ่มเกษตรบ้านแม่
ผาแหน โคกหนองนา/โฮมสเตย์
ร่วมฟังบรรยายศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทาเกษตรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยว
โดยวิทยากร คุณจรัส อุปาละ
กลุ่มที่ 4. สวนหม่อนสิริ แปรรูปสินค้าจากมัลเบอร์รี่
ร่วมฟังบรรยายศึกษาเรียนรู้การปลูกมัลเบอร์รี่ และแปรรูปมัลเบอร์รี่ โดยวิทยากร คุณกิตติพงษ์ ปาลี
สุดท้ายจะมีการรวมกลุ่มเสวนาและนาเสนอผลงานจากแนวคิดของนักศึกษา ในประเด็น แสวงหา
จุดเด่น เพื่อสานต่อภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรมการออกแบบบริการบนหลักการและแนวคิดในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีทีมวิทยากร และคณาจารย์เป็นผู้ให้คาแนะนำ


ผลการดาเนินงานกิจกรรม : ศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ (อุทยานแห่งชาติออบขาน)
กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและบริบทของพื้นที่ที่สามารถนามาออกแบบบริการบนหลักการ และแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้
กระบวนการออกแบบบริการที่เป็นการออกแบบประสบการณ์เบื้องต้น ไปพัฒนากิจกรรมหรือบริการที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวได้ โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 31 มกราคม 2566 – 01 กุมภาพันธ์ 2566 และ 7 กุมภาพันธ์ 2566 – 8 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เทียบเรียน 2 ปี และนักศึกษา 4 ปีชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน มีการแบ่งนักศึกษาทากิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม และเป็นกิจกรรมตามความสมัครใจเนื่องจากมีพื้นที่ และสิ่งอานวยความสะดวกรองรับในการพักแรมจากัด ซึ่งกิจกรรมจะมีการพักค้างแรมในพื้นที่อุทยานเป็นเวลา 1 คืน เพื่อศึกษากิจกรรมในทุกมิติของการบริการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน เช่น เดินป่าเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น และกางเต็นท์พักแรม ซึ่งนักศึกษาได้ศึกษาดูงาน และเรียนรู้การจัดการด้านพื้นที่ การบริการ และการจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่อุทยานออบขาน รวมถึงกิจกรรมกางเต็นท์ค้างแรม ซึ่งมีข้อจากัดตามระเบียบของอุทยานแห่งชาติที่นักท่องเที่ยวจะต้องปฏิบัตินักศึกษาจะร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นแนวคิดการจัดการพื้นที่ ข้อสังเกต และบริบท องค์ประกอบด้านต่างๆ ของพื้นที่ที่แต่ละคนได้รวบรวมจดบันทึกประเด็นมา เพื่อสรุปเป็นข้อมูลหาแนวทางในการพัฒนากันในกลุ่ม และออกแบบแนวคิดผลิตภัณฑ์ บริการหรือกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่แล้วมานาเสนอผลงานแลกเปลี่ยนกัน โดยมีคณาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด
แล ะทักษ ะการคิดเชิงออกแบ บ (Design
Thinking) เบื้องต้นที่สามารถนามาประยุกต์ใช้
ในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้
2 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจพื้นฐานเเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและบริบทของพื้นที่ที่สามารถนำมาออกแบบบริการบนหลักการ และแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 1. นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
2. นักศึกษามีได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการออกแบบบริการที่เป็นการออกแบบประสบการณ์เบื้องต้นไปพัฒนาพื้นที่กรณีศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับบริการและประสบการณ์เบื้องต้นทางการท่องเที่ยว 1. นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้างสรรค์ หรือพัฒนา กิจกรรม/บริการทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสาหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้
2. นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้างสรรค์ หรือพัฒนา กิจกรรม/บริการทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสาหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้างสรรค์ หรือพัฒนา กิจกรรม/บริการทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานได้
เชิงปริมาณ ผลงาน 5 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน
เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : การศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในชุมชน/แหล่งท่องเที่ยว
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมในชุมชน/แหล่งท่องเที่ยว
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้างสรรค์ หรือพัฒนา กิจกรรม/บริการทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวได้
เชิงปริมาณ ผลงาน 5 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน
เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : การฝึกอบรมการคิดเชิงออกแบบ เพื่อออกแบบบริการ และประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และทักษะการเชิงออกแบบ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ ในการออกแบบบริการ/ประสบการณ์เบื้องต้นทางการท่องเที่ยว
เชิงปริมาณ ผลงาน 5 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
31/01/2566  - 30/09/2566 31/01/2566  - 22/02/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ