โครงการสืบสานวัฒนธรรมแฮกนาปลูกข้าว
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมแฮกนาปลูกข้าว ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ฟาร์มพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร
โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 663 คน แบ่งเป็น ผู้บริหาร บุคลากรและผู้สนใจ จำนวน 95 คน นักศึกษา จำนวน 563 คน
คิดเป็นร้อยละ 385 ของเป้าหมาย 172 คน

ในการนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาแบบท้องถิ่นเกี่ยวกับ พิธีแฮกนาปลูก เป็นพิธีกรรมที่ทำก่อนจะเริ่มปลูกข้าว เพื่อบวงสรวงหรือบูชาเทพยดาที่คุ้มครองเกี่ยวกับการทำนา คือท้าวจตุโลกบาล และแม่โคสก(แม่โพสพ) แม่ธรณี เพื่อให้เกิดสิริมงคล ให้การเกี่ยวข้าวเป็นไปด้วยดี ปกป้องให้ไม่เกิดอันตรายระหว่างการเก็บเกี่ยว ให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก และเพื่อสร้างกำลังใจให้กับตนเอง ครอบครัว ตลอดจนชุมชน โดยตามความเชื่อของคนล้านนา แต่ละพื้นที่จะมีเทพ 4 องค์คอยดูแลรักษาพื้นที่นั้นไว้ ก่อนที่จะลงมือทำอะไร จะมีการบูชาด้วยเครื่องสักการะ เพื่อให้เทพารักษ์ช่วยปกปักรักษาให้รอดปลอดภัยจากเภทภัยอันตรายทั้งปวง การบูชาเทพทั้ง 4 คนล้านนาเรียกกว่า การขึ้นต๊าวตังสี่
(ท้าวทั้งสี่) ได้แก่
1. ท้าวมหาราชธตรฐ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ เป็นผู้รักษาทิศตะวันออก
2. ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ เป็นผู้รักษาทิศใต้
3. ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาค เป็นผู้รักษาทิศตะวันตก
4. ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร ผู้เป็นใหญ่แห่งยักษ์ เป็นผู้รักษาทิศเหนือ
ทั้งนี้ นอกจากสี่ทิศแล้วยังมีส่วนของฟ้า ยังมีพระอินทร์ ผู้ซึ่งเป็นประมุขของเทพทั้งปวง เป็นผู้รักษา ส่วนของผืนดิน มีพระแม่ธรณีเป็นผู้รักษา
ดังนั้นเมื่อจะทำการบูชา จึงต้องทำเครื่องสักการะเป็น 6 ส่วน โดย 4 ส่วนใช้บูชาทิศทั้ง 4 อีก 2 ส่วนใช้บูชาพระอินทร์และพระแม่ธรณี
การบูชาท้าวทั้งสี่จะต้องมีการจัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ประกอบด้วย
1.เสาไม้ที่ตีไม้ไขว้เป็นกากบาทหันไปยัง 4 ทิศ มีความสูงประมาณ 2 ฟุต ด้านบนและปลายไม้ติดด้วยแผ่นไม้ขนาดเท่าหรือใหญ่กว่าสะตวง
หรือเรียกอีกอย่างว่า หอประสาทเสาเดียว
2. สะตวงทำด้วยกาบกล้วย นำมาหักพับเสียบด้วยไม้ไผ่ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม รองด้วยกระดาษ เพื่อใช้สำหรับบรรจุเครื่องสักการะ
3. เครื่องสักการะในสะตวง มี หมาก เมี่ยง บุหรี่ ของกินอย่างละ 4 พร้อมด้วยกรวยดอกไม้ ที่สำคัญมีตุงจ้อ (ตุงช่อ) ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบูชา ทำด้วยกระดาษตัดเป็นรูปคล้ายธงปักไว้ที่สะตวงทั้งสี่แจ่ง โดยตุงจ้อสีเขียวจะปักไว้ที่สะตวงเพื่อบูชาพระอินทร์ นำไปวางไว้บนสุดของเสาไม้ ตุงจ้อสีแดงจะปักไว้ที่สะตวงเพื่อบูชาท้าววิรุฬหก นำไปวางทางทิศใต้ ตุงจ้อสีฟ้าจะปักไว้ที่สะตวงเพื่อบูชาท้าวธตรฐ นำไปวางทางทิศตะวันออก ตุงจ้อสีดำจะปักไว้ที่สะตวงเพื่อบูชาท้าววิรูปักษ์ นำไปวางทางทิศตะวันตก ตุงจ้อสีหม่นหรือเทาจะปักไว้ที่สะตวงเพื่อบูชาท้าวกุเวร นำไปวางทางทิศเหนือ และตุงจ้อสีขาวจะปักไว้ที่สะตวงบูชาพระแม่ธรณี นำไปวางด้านล่างสุดบนพื้นดินชิดโคนเสา
จากนั้น ปู่จ๋านหรือผู้ประกอบพิธีจะเริ่มทำพิธี โดยนำสะตวงที่เตรียมไว้ไปวางตามทิศต่างๆ ปู่จ๋านจะทำพิธีปลุกแม่ธรณีว่า “แม่ธรณีเอ๋ย รู้หรือยัง ” แล้วตอบเองว่า “รู้แล้ว” จากนั้นสวด สาวะคะตั๋ง โลก๋าวิทู นะมามิ ๓ จบ เสกมือแล้วตบที่เสา ๓ ครั้ง กล่าวคาถาชุมนุมเทวดา กล่าวคำปูจาแม่ธรณีและท้าวทั้งสี่
(จตุโลกบาล) กล่าวคำปูจาพญาอินทร์ เป็นอันเสร็จพิธี
อ้างอิง : สารคดีผะหญาล้านนา ตอน ฮีตข้าววิถีคนล้านนา โดย นิคม พรหมมาเทพย์ https://archives.mju.ac.th/web/?p=1136
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจได้สัมผัสเรียนรู้อัตลักษณ์ของหน่วยงานและมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจได้สัมผัสเรียนรู้อัตลักษณ์ของหน่วยงานและมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาและการเรียนการสอน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาและการเรียนการสอน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาและบุคลากรได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของการเกษตร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
2. ร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. นักศึกษาและบุคลากรได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมวัฒนธรรมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของการเกษตร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลการประเมินโครงการปลูกข้าว 160866
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2566  - 31/08/2566 16/08/2566  - 16/08/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ