ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ (ลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม)
ณ โครงการพัฒนาป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ตามที่ เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอความอนุเคราะห์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการให้คำปรึกษาและวางแผนออกแบบศูนย์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้และบูรณาการการจัดการลุ่มน้ำแม่กวง (ขุนน้ำยอดดอยนางแก้ว) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ได้รับทราบและได้ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ ภายใต้โครงการบริการวิชาการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ (ลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม) วันที่ 30 มกราคม 2566 โดยมี อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม ผู้ช่วยคณบดีและหัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกร มหาวัน ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม ร่วมลงพื้นที่ดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ : กำหนดการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการฯ ดังกล่าว ร่วมกับส่วนปกครองท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ รวมถึงกำนัน ต.ป่าเมี่ยง และ ผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่ใกล้เคียง ณ โครงการพัฒนาป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และเดินทางไปสำรวจสถานที่ออกแบบก่อสร้าง ณ เขตรอยต่อจังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย พบว่า ลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขาลาดชัน ส่งผลต่อแนวทางการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง จึงขอความร่วมมือให้ทางเทศบาลตำบลป่าเมี่ยง ทำการสำรวจรังวัดระดับความลาดชันและตำแหน่งต้นไม้ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบโครงการ เบื้องต้น ทางทีมงานออกแบบฯ ได้วางแนวคิดในการออกแบบโครงการ และเสนอต่อเจ้าของโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เครื่องตัดและแกะสลักเลเซอร์ ชนิด CO2”
ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
จากการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เครื่องตัดและแกะสลักเลเซอร์ ชนิด CO2” โครงการบริการวิชาการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ให้กับนักศึกษา บุคลากรทั้งสายวิชาการ สายสนับสนุน และผู้สนใจทั่วไป นั้น มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 47 คน ทั้งนี้ มีทีมวิทยากรจาก บริษัท นีโอเทค เป็นวิทยากรในการดำเนินการจัดกิจกรรม สรุปได้ดังนี้
วิทยากรจากบริษัทนีโอเทค ได้บรรยายแนะนำอุปกรณ์และโปรแกรม rdworks v8 สำหรับการแปลงข้อมูลที่ต้องการเป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับเครื่องตัดเลเซอร์ การใช้งานเครื่องรวมถึงการดูแลรักษาและประมาณการงบประมาณ สำหรับการดูแลรักษาให้แก่บุคลากรและนักศึกษาผู้สนใจ ภาคปฏิบัติ วิทยากรได้สาธิตการใช้งานเครื่องตัดเลเซอร์กับวัสดุชนิดต่าง ๆ ปัญหาที่พบและข้อสังเกตในการใช้งานต่าง ๆ บุคคลากรและนักศึกษาได้ทดลองการใช้โปรแกรมและสั่งการเครื่องตัดเลเซอร์ พร้อมถามตอบข้อสงสัยในการทดลองใช้งาน ทั้งนี้ มีบุคคลากรและนักศึกษาให้ความสนใจและต้องการทดลองใช้งานในอนาคตเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้กับตนเองและวางแผนในการหารายได้สำหรับคณะฯ ในอนาคต
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์กรต่าง ๆ
|
ได้บริการวิชาการในการวางแนวคิดในการออกแบบโครงการ และเสนอต่อเจ้าของโครงการพัฒนาป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และเดินทางไปสำรวจสถานที่ออกแบบก่อสร้าง ณ เขตรอยต่อจังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย
|
2
|
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการและงานวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
|
ได้บูรณาการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการภายนอกในการเข้ามาให้ความรู้แก่บุคคลากรและนักศึกษาเกี่ยวกับการทดลองใช้งานของอุปกรณ์และโปรแกรม rdworks v8 สำหรับการแปลงข้อมูลที่ต้องการเป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับเครื่องตัดเลเซอร์ การใช้งานเครื่องรวมถึงการดูแลรักษาและประมาณการงบประมาณ เพื่อวางแผนในการหารายได้สำหรับคณะฯ ในอนาคต
|
3
|
เพื่อเป็นการบริการวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรม แก่ชุมชน หน่วยงาน องค์กร ผู้ประกอบการ นักวิชาชีพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ได้ดำเนินการการบริการวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมแก่ชุมชน หน่วยงาน องค์กร ผู้ประกอบการ นักวิชาชีพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
ผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้านการบริการวิชาการของคณะ
1.
จำนวนกิจกรรมบริการวิชาการ
|
เชิงปริมาณ
|
กิจกรรม
|
2
|
|
0.00
|
2.
จำนวนกิจกรรมจากการให้บริการวิชาการที่ต่อยอดและก่อให้เกิดรายได้
|
เชิงปริมาณ
|
กิจกรรม
|
1
|
|
0.00
|
3.
ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
80
|
|
0.00
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
11/01/2566
-
30/09/2566
|
27/01/2566
-
28/02/2566
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ