โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2566 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 3
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้รับการอนุมัติให้จัดโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาตร์ ประจำปี 2566 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 3 ขึ้น ในวันที่ 13 กันยายน 2566 ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมี ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บุคลากร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ซึ่งในปีนี้ ได้มีการอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังได้มีการประกวดแข่งขัน พร้อมนำเสนอกรรมการเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายบนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้านการคิดต้นทุน และผลตอบแทนจากการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพเสริม เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ตามโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2566 : สรรสร้างเสน่ห์บนผืนผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 3 สืบต่อไป
2 เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริม ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ได้แนวทางในการสร้างรายได้ และยังสามารถสร้างอาชีพเสริมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต่อไปได้
3 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ บุคลากร และนักศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ รวมถึงผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการย้อมผ้า และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำผ้ามัดย้อม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. ระดับการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปบูรณาการ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
3. จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
13/09/2566  - 13/09/2566 13/09/2566  - 13/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ