โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการคัดแยกขยะในองค์กร ประจำปีงบประมาณ 2566
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ - สิงหาคม 2566 ซึ่งได้ดำเนินงาน 3 กิจกรรม โดยสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.กิจกรรม การบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ ของคณะเศรษฐศาสตร์ (ปี 66 เดือน กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 66) ข้อมูลปริมาณขยะดังนี้

- มกราคม 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 822.51 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 163.34 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 659.17 กิโลกรัม
- กุมภาพันธ์ 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 1073.19 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 188.07 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 885.12 กิโลกรัม
- มีนาคม 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 974.79 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 141.70 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 833.09 กิโลกรัม
- เมษายน 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 709.67 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 81.71 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 627.96 กิโลกรัม
- พฤษภาคม 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 612.39 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 136.70 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 475.69 กิโลกรัม
- มิถุนายน 2566 ปริมาณขยะทั้งหมด 823.33 กิโลกรัม โดยส่งกำจัดจำนวน 190.22 กิโลกรัม นำมาใช้ประโยชน์ 633.11 กิโลกรัม
โดยสามารถลดปริมาณขยะที่ส่งกำจัด (ขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์) จำนวนกว่า 4,114.14 กิโลกรัม ซึ่งได้แก่ ขยะประเภทรีไซเคิลและขยะอินทรีย์

2.กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักในวงตาข่าย ดำเนินการในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คน แบ่งเป็นบุคลากรจำนวน 17 คน และนักศึกษาจำนวน 23 คน โดยสามารถนำเศษขยะอินทรีย์ได้แก่ เศษใบไม้แห้ง กิ่งไม้ขนาดเล็ก รวมถึงเศษอาหาร นำมาทำปุ๋ยแบบไม่กลับกองในวงตาข่าย จำนวน 15 วง นำเศษขยะอินทรีย์นำกลับมาใช้ประโยชน์กว่า 750 กิโลกรัม

3.กิจกรรม แยก แลก รับ ดำเนินการจำนวน 3 ครั้ง ในช่วงวันที่ 12 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 66 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 109 คน ซึ่งในกิจกรรมได้ช่วยสร้างเสริมให้บุคลากรและนักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะ จากการปฏิบัติการแยกขยะประเภทรีไซเคิลด้วยตนเอง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อทราบข้อมูลปริมาณขยะ ของคณะเศรษฐศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 ข้อมูลปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ ปี 2566 (มกราคม - มิถุนายน) มีปริมาณขยะรวมทั้งสิ้น 7,064.68 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นขยะที่ส่งกำจัด จำนวน 901.74 กิโลกรัม และนำมาใช้ประโยชน์ จำนวน 4,114.14 กิโลกรัม
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รวมถึงจิตสำนึกในการลดปริมาณและการจัดการขยะอย่างถูกต้องของบุคลากรและนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ การดำเนินโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษาใน 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่ายและกิจกรรม แยก แลก รับ จำนวนรวมทั้งสิ้น 149 คน
3 เพื่อลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การดำเนินโครงการสามารถช่วยลดปริมาณขยะที่ส่งกำจัด (ขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์) ในปี 2566 (มกราคม - มิถุนายน) จำนวนกว่า 4,114.14 กิโลกรัม
4 เพื่ออบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการขยะในองค์กร (การทำปุ๋ยหมักในวงตาข่าย) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในวงตาข่ายให้แก่บุคลากรและนักศึกษา เพื่อให้มีความรุ้ในการกำจัดขยะประเภทอินทรีย์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : คณะเศรษฐศาสตร์มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ปริมาณขยะ มค-มิย.66
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 60 0.00
2. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม (130 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ปริมาณขยะของคณะเศรษฐศาสตร์ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ปริมาณขยะ มค-มิย.66
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/02/2566  - 30/09/2566 01/02/2566  - 30/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ