โครงการเลือกตั้งผู้นำองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ในการเลือกตั้งผู้นำองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้นำองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งสิ้น 13,958 คน มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 7,404 คน คิดเป็นร้อยละ 53.04 โดยคณะ/วิทยาลัยที่มาใช้สิทธิ์มากที่สุด ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 50 คน (คิดเป็นร้อยละ 92.59) รองลงมาคือ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จำนวน 824 คน (คิดเป็นร้อยละ 80.71) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จำนวน 217 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.45) ซึ่งคณะ/วิทยาลัยที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยที่สุด คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 259 คน (คิดเป็นร้อยละ 32.09) ซึ่งได้ตัวแทนนักศึกษา ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรนักศึกษาต่าง ๆ ดังนี้
1. สมาชิกสภานักศึกษา จำนวน 33 คน
2. นายกองค์การนักศึกษา จำนวน 3 คน (เชียงใหม่/แพร่/ชุมพร)
3. นายกสโมสรนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย จำนวน 12 คน
ทั้งนี้ ได้มีการร้องเรียนการเลือกตั้งจำนวน 1 องค์กร คือนายกสโมสรนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ จึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกสภานักศึกษาในคณะ/วิทยาลัยที่ไม่มีหรือมีสมาชิกไม่ครบตามสัดส่วน มอบหมายให้สภานักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษาในตำแหน่งที่ว่างนั้น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเลือกตั้งตัวแทนนักศึกษาที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ผู้นำองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ได้ตัวแทนนักศึกษามาปฏิบัติผู้นำองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ได้แก่ สมาชิกสภานักศึกษา จำนวน 33 คน นายกองค์การนักศึกษา จำนวน 3 คน นายกสโมสรนักศึกษา จำนวน 12 คน
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการ และมีส่วนร่วมในการได้มาซึ่งผู้นำองค์กรนักศึกษา อันเป็นสิทธิและหน้าที่ของนักศึกษาที่พึงปฏิบัติตามหลักประชาธิปไตย นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการและมีส่วนร่วมในการได้มาซึ่งผู้นำองค์กรนักศึกษา อันเป็นสิทธิและหน้าที่ของนักศึกาาที่พึงปฏิบัติตามหลักประชาธิปไตย โดยมีค่าคะแนนความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.10)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีส่วนร่วมใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งผู้นำองค์กรนักศึกษา และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามหลักประชาธิปไตย รวมถึงการได้ผู้นำองค์กรนักศึกษาตามสัดส่วนที่กำหนด
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ตัวชี้วัดที่ 1 ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้และตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนตามหลักประชาธิปไตย โดยอาศัยกิจกรรมการเลือกตั้งผู้นำองค์กรนักศึกษาเป็นเครื่องมือ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากกลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เชิงปริมาณ ร้อยละ 50 0.00
3. ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของผู้นำนักศึกษาที่ได้รับเลือกตั้งตามสัดส่วนที่กำหนดของแต่ละองค์กร เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
19/12/2565  - 28/02/2566 19/12/2565  - 07/04/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ