โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์หลักสูตรเชิงรุก ในระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม 2566
1. วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 – 12.00 น. ผศ.ดร.จุฬากร ปานะถึก รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก โดยคุณครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ได้ทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องทดลอง คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ให้ความรู้ในครั้งนี้
2. จัดทำโปสเตอร์แนะนำหลักสูตรฯ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวน 900 ใบ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยเพศชายร้อยละ 18.18 เพศหญิงร้อยละ 81.82
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในภาพรวมและเห็นควรจัดกิจกรรม ฯ ในโอกาสต่อไป คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับปรุง/วิพากษ์หลักสูตร ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษาของระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม 2209 ในรูปแบบออนไซต์และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบโปรแกรม Ms Teams
ในการประชุมได้พิจารณาปรับรายละเอียดของหลักสูตรตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้
1. ปรับ PLO ของหลักสูตร
2. ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร คงเดิม
3. ปรับปีการศึกษาที่จะเผยแพร่หลักสูตร ให้เป็น 2566 ทั้งหมด ในเล่มหลักสูตร มคอ. 2
4. แก้ไข ระบบการศึกษาเพิ่มแบบ online ด้วย
5. ปรับวันที่และกิจกรรมต่างๆให้เป็นปัจจุบัน
6. ปรับฟอร์มให้เป็นรูปแบบ AUN QA โดยเฉพาะตั้งแต่หมวดที่ 5-8
7. ปรับหน่วยกิตและวิชาใหม่
8. เพิ่มเรื่องทักษะปฏิบัติเข้าไปและงานวิจัยในรายวิชา และให้มีทักษะปฏิบัติใน PLO และให้มีผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ PLO
10. ปรับตัวบ่งชี้ในการดำเนินงาน
11. ปรับข้อมูลส่วนกลางเข้ามาเสริมในเรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ข้อมูลห้องสมุดและ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่สนับสนุนการเรียนการสอน
12. ปรับหลักการและเหตุผลตาม conecept per
13. ปรับผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตรให้สอกคล้องกับ Bloom Taxonomy
14. นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้มีการปรับลดและเพิ่มรายวิชาใหม่ ตามกลุ่มต่างๆ ด้วย โดยจะพิจารณาและนำเสนอคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรต่อไป ดังนี้
กลุ่มวิชาแกน
เคมีเพื่อการเกษตร
ชีวเคมีเพื่อการเกษตร
สัตววิทยา
จุลชีววิทยา
พันธุศาสตร์เบื้องต้น
หลักสถิติ
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยง
โภชนศาสตร์สัตว์เบื้องต้น
การผลิตสัตว์ปีก
การผลิตโคและกระบือ
การผลิตสุกร
การปฏิบัติงานฟาร์ม
การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยทางสัตวศาสตร์
นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
ยาและการใช้ยาในสัตว์
การจัดการฟาร์มปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ธุรกิจและการตลาดปศุสัตว์
ภาษาอังกฤษทางสัตวศาสตร์
สัมมนา
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสัตวบาล
ทักษะงานช่างทางสัตวศาสตร์
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์
กลุ่มวิชาเอกบังคับ
วิชาเอกสัตว์ปีก
โภชนศาสตร์และการให้อาหารสัตว์ปีก
การจัดการฟาร์มสัตว์ปีก
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ปีก
สรีรวิทยาและการสืบพันธุ์สัตว์ปีก
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ปีก
การปฏิบัติงานฟาร์มสัตว์ปีก
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกโคนมและโคเนื้อ
โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค
พืชอาหารสัตว์และการจัดการอาหารหยาบ
การสืบพันธุ์และผสมเทียมในสัตว์เลี้ยง
การจัดการฟาร์มโคนมและโคเนื้อ
โรคและการสุขาภิบาลโค-กระบือ
การปฏิบัติงานฟาร์มโคนมและโคเนื้อ
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อและนม
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกการผลิตสุกร
อาหารและการให้อาหารสุกร
การสืบพันธุ์และผสมเทียมในสัตว์เลี้ยง
การจัดการฟาร์มสุกร
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสุกร
โรคและการสุขาภิบาลสุกร
การปฏิบัติงานฟาร์มสุกร
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สุกร
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกอาหารสัตว์
ปฏิบัติการโภชนศาสตร์สัตว์
การผลิตอาหารสัตว์และเทคโนโลยีการผลิต
อาหารและการให้อาหารปศุสัตว์
การจัดการฟาร์มปศุสัตว์
สุขศาสตร์และการป้องกันโรคในฟาร์มปศุสัตว์
การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของสัตว์
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์
กลุ่มสหกิจศึกษา
กลุ่มวิชาเลือก
อาหารและการให้อาหารสัตว์เลี้ยง
สารเสริมสำหรับการผลิตสัตว์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตปศุสัตว์
การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
การจัดการสิ่งแวดล้อมในฟาร์มปศุสัตว์
ระบบคุณภาพและมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
การเป็นผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์
พฤติกรรมสัตว์
การจัดการโรงฆ่าสัตว์
การตัดสินและประกวดสัตว์
ฝีกงาน
ปัญหาพิเศษ
หัวข้อศึกษาสนใจ
ปรับหน่วยกิตจาก 135 เป็น 122 หน่วยกิต ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24
2) หมวดวิชาเฉพาะ 92
- กลุ่มวิชาแกน 61
- กลุ่มวิชาเอกบังคับ 22
- เอกเลือก 9
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับปรุง / วิพากษ์หลักสูตร ครั้งที่ 2 คือ กิจกรรมวิพากษ์หลักสูตร ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษาของระดับปริญญาตรี ในวันพุธที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม 2209 ในรูปแบบออนไซต์และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบโปรแกรม Ms Teams โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร
ในการประชุมได้พิจารณาปรับรายละเอียดของหลักสูตรตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ
โดยประธานนำเสนอเนื้อหาเบื้องต้นและแจ้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ดังนี้
กลุ่มวิชาแกน
เคมีเพื่อการเกษตร
ชีวเคมีเพื่อการเกษตร
สัตววิทยา
จุลชีววิทยา
พันธุศาสตร์เบื้องต้น
หลักสถิติ
กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยง
โภชนศาสตร์สัตว์เบื้องต้น
การผลิตสัตว์ปีก
การผลิตโคและกระบือ
การผลิตสุกร
การปฏิบัติงานฟาร์ม
การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยทางสัตวศาสตร์
นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
ยาและการใช้ยาในสัตว์
การจัดการฟาร์มปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ธุรกิจและการตลาดปศุสัตว์
ภาษาอังกฤษทางสัตวศาสตร์
สัมมนา
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสัตวบาล
ทักษะงานช่างทางสัตวศาสตร์
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์
กลุ่มวิชาเอกบังคับ
วิชาเอกสัตว์ปีก
โภชนศาสตร์และการให้อาหารสัตว์ปีก
การจัดการฟาร์มสัตว์ปีก
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ปีก
สรีรวิทยาและการสืบพันธุ์สัตว์ปีก
โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ปีก
การปฏิบัติงานฟาร์มสัตว์ปีก
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกโคนมและโคเนื้อ
โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค
พืชอาหารสัตว์และการจัดการอาหารหยาบ
การสืบพันธุ์และผสมเทียมในสัตว์เลี้ยง
การจัดการฟาร์มโคนมและโคเนื้อ
โรคและการสุขาภิบาลโค-กระบือ
การปฏิบัติงานฟาร์มโคนมและโคเนื้อ
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อและนม
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกการผลิตสุกร
อาหารและการให้อาหารสุกร
การสืบพันธุ์และผสมเทียมในสัตว์เลี้ยง
การจัดการฟาร์มสุกร
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงสุกร
โรคและการสุขาภิบาลสุกร
การปฏิบัติงานฟาร์มสุกร
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สุกร
กลุ่มสหกิจศึกษา
วิชาเอกอาหารสัตว์
ปฏิบัติการโภชนศาสตร์สัตว์
การผลิตอาหารสัตว์และเทคโนโลยีการผลิต
อาหารและการให้อาหารปศุสัตว์
การจัดการฟาร์มปศุสัตว์
สุขศาสตร์และการป้องกันโรคในฟาร์มปศุสัตว์
การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของสัตว์
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์
กลุ่มสหกิจศึกษา
กลุ่มวิชาเลือก
อาหารและการให้อาหารสัตว์เลี้ยง
สารเสริมสำหรับการผลิตสัตว์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตปศุสัตว์
การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
การจัดการสิ่งแวดล้อมในฟาร์มปศุสัตว์
ระบบคุณภาพและมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
การเป็นผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์
พฤติกรรมสัตว์
การจัดการโรงฆ่าสัตว์
การตัดสินและประกวดสัตว์
ฝีกงาน
ปัญหาพิเศษ
หัวข้อศึกษาสนใจ
ปรับหน่วยกิตจาก 135 เป็น 122 หน่วยกิต ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24
2) หมวดวิชาเฉพาะ 92
- กลุ่มวิชาแกน 61
- กลุ่มวิชาเอกบังคับ 22
- เอกเลือก 9
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6
ที่ประชุมมติความคิดเห็นเสนอ ดังนี้
-อ.สมฤทธิ์
- ทำรายวิชาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- ทำรายวิชาการจัดการฟาร์ม (ด้วยเทคโนโลยี-smart farm) (สำหรับทุกสาขาวิชาเอก)
-อ.สุชน
-61 ใส่วิชาต่อยอดเยอะ
-ปรับโดยอ้างว่า ม. ให้ปรับหน่วยกิตน้อยลง
- ปรับวิชาธุรกิจการตลาด
- ปรับวิชาเทคโนโลยี
* ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ( PLO ,CLO)
- ธุรกิจอาหาร สศ 31 หน่วยกิต
* ตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยกิต
- ชื่อ ปริญญาสลับ ??? (น่าจะในเล่ม)
- การโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการ
- PLO เกี่ยวกับภาษา
-อ.อภิชัย
หน้า 36 รายวิชาแทนหน่วยกิจเกิน
- เทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์สัตว์
- ภาษาอังกฤษทางสัตว์ศาสตร์ *อาจจะตัดออกได้หรือไม่
- ทักษะงาน ทางสัตว์
- (จริยธรรม เรียงข้อ)
- วิชาเอกอาหารสัตว์
- น่าจะเพิ่ม ไขมัน / โภชนาสัตว์ในการเติบโต
- สุขศาสตร์ / ธุรกิจ / การป้องกันโรค (ไม่ค่อยเกี่ยวกับอาหารสัตว์)
- วิชาเอกเลือก ( สามารถเปิดวิชาอื่นได้ไหม) ex.การผลิต
- เลือกเสรี (อาจเป็นวิชาทางมหาวิทยาลัยได้) เช่น กระต่าย สัตว์ปีกเฉพาะอย่าง
-อ.สุชน
- 498 เรียงผิดต้องเป็น วิชา 499
- วิชาแทน เอาพืชไร่เศรษฐกิจ กับฟิสิกส์ออก อาจต้อง
* (มีข้อมูลความประเมินความพึงพอใจ / ของอาจารย์ / ผู้ใช้บัณฑิตไหม่)
- วิชาเอก
*ทำไมสุกรต้องมีคำว่า *การผลิตสุกร*
*วิชาเอกอื่นจำเป็นต้องมีคำว่า *ผลิต* อีกไหม
-คุณชนินทร์
- เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ
-รุ่งนิรันดร์
- หลักสูตรสอดคล้อง / ไม่ติดขัด
- พ.ร.บ.สัตวบาล อยากให้มีวิชาที่สอนหรือใกล้เคียงกับ พ.ร.บ.สัตวบาล ต้องมีสอนให้มาก
ที่สุด
- อยากให้มีแนวคิดที่เปิดกว้าง / ไม่จำเพาะต่อสาขาเอกใดเอกหนึ่ง อยากให้มีความรู้รอบ
ด้าน
-สุวิมล
- เห็นด้วยที่ตัดวิชาฟิสิกส์ออก วิชาฟิสิกส์ส่งผลการรับนักศึกษาที่ไม่ใช่มาจากหลักสูตร
วิทยาศาสตร์
- ควรลงปฏิบัติมากกว่านี้
-อ.วันทมาส
- เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์ (สัตว์ปีก/สุกร/โค/อาหารสัตว์) – มีคำอธิบายรายวิชาที่ต่างกัน
อย่างไร
*ใน มคอ.2 จะระบุไว้
- ฝึกงาน – กรณีต่างประเทศจะใช้ระยะเวลาในการฝึกงาน 16 สป. โดยให้เทียบเท่ากับ
การฝึกสหกิจ
- หลักสูตรควรประสานงานเกี่ยวกับวิชา
- ความเชื่อมโยงวิชาของแต่ละชั้นปี เช่น ก่อนเรียนวิชาสัมมนา ควรจะผ่านวิชาอะไรมา
ก่อน วิชาพรีฯ

-อ.ธนนันท์
- วิชาสัมมนา – ควรมีเกณฑ์ในการให้คะแนนของแต่ละสาขา หรือแตกวิชาสมมนาของแต่
ละสาขาโดยแยกเขียน ตาม มคอ.2
* เกณฑ์การตัดสินหรือคะแนนให้มีความชัดเจนมากขึ้น*
- สหกิจสรุปไปอยู่ปี 4 เทอม 2 โดยมีห้อยท้ายว่า ตามความเหมาะสม
-อ. บัวเรียม –ควร เผื่อบางกรณี
- คุณดุริยพันธ์ – ไม่มีความเห็นเห็นด้วยกับที่ประชุม
- อ.วันทมาส
- รหัสหลักสูตร/
- หลัก 6,7,8 อยากให้ระบุสาขาวิชาเอก ซึ่งทางหลักสูตรไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
-อ.มงคล
- ไม่เอาชั้นปีมาคิด แต่คิดตามการแยกวิชาตาม พ.ร.บ. วิชาชีพสัตวบาล
- ซึ่งชั้นปีอาจจะไม่เป็นตัวสื่อมากนัก แต่อยากให้อิงกับพ.ร.บ. มากกว่า
-อ. วันทมาส
- แยกรหัสวิชา หลักที่ 4 หรือหลักที่ 5 – อ.แม็ค อธิบายแล้ว
-อ. สุบรรณ
- เลขรหัสมีแค่ 8 หลัก (โดยมีการกำหนดจากมหาลัย) 01/02/03
- สามารถเอาเลข 3 ตัวหลัก มาปรับเป็นสาขาได้หรือไม่ เพื่อช่วยในการรับทราบของการ
ตกแผน
-อ.สมฤทธิ์
- ความเฉพาะทางของคณะ ควรที่จะไปดูคุณวุฒิ ของพ.ร.บ. ว่าตรงตามเป้าหมายได้
หรือไม่
- โดยปัญญาภิวัฒน์ได้เริ่มทำ
- ม.แม่โจ้ สามารถเป็นศูนย์ทดสอบความเฉพาะทาง ว่าทำอะไรได้บ้าง ซึ่งมีผลต่อการ
สมัครงาน
- ตั้งศูนย์ทดสอวิชาชีพ ของ ม.แม่โจ้


กิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, ปัจฉิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ และระบบอาจารย์ที่ปรึกษา) ครั้งที่ 1
“กิจกรรมมัชฌิมนิเทศ”ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2566
อาจารย์ผู้รับผิดชอบสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมมัชฌิมนิเทศ สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 เพื่อให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมและวางแผนเลือกสาขาวิชาเอก และสำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน เป็นนักศึกษาที่สนใจสมัครงาน รวมทั้งสิ้น 282 คน บริษัทได้แนะแนวทางการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง โดยได้เชิญวิทยากรจากบริษัทในเครือ QVS group มาบรรยายในเรื่อง การแนะแนวอาชีพ การส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล “กิจกรรมอบรมมาตรฐานฟาร์ม”
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จัดกิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล “กิจกรรมอบรมมาตรฐานฟาร์ม”ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา หัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ ไก่เนื้อ และไก่พ่อแม่พันธุ์” หัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มสุกร” และหัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มโคนมและโคเนื้อ” ให้กับนักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอก เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำฟาร์มของเกษตรกร ซึ่งเป็นกำลังสำคัญให้กับวงการปศุสัตว์ในการยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ การจัดการฟาร์มให้เข้าสู่มาตรฐาน ได้สินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากสารตกค้าง และเชื้อโรคต่างๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรจากสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ คือ น.สพ.ชัยโรจน์ โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์ พร้อมทีมงาน ณ อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีนักศึกษา และเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมรับการอบรมจำนวน 247 ราย

กิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล “กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ”
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
ในวันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 ระหว่างเวลา 13.00-16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 210 คน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์ฯ และคณาจารย์ของคณะฯ ได้ให้ปัจฉิมโอวาทแก่นักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา และจัดการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน และการสมัครงาน”(career guide) โดย คุณพิชิตพล ชั่งใจ ผู้อำนวยการผลิตโครงการจ้างเลี้ยงสุกรขุน และคุณนพดล ดวงแสงศรี ผู้อำนวยการผลิตฟาร์มสุกรพันธุ์ วิทยากรรับเชิญจาก บริษัทเครือเบทาโกร พร้อมทั้งเปิดรับสมัครและสัมภาษณ์งานนักศึกษา ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (ปฐมนิเทศ, มัชฌิมนิเทศ, ปัจฉิมนิเทศ, มาตรฐานฟาร์ม, เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ และระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)
กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ประจำปี 2566ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมใหญ่ ศส 2204
คณะฯจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี และ 4 ปี เทียบเข้าเรียน จำนวน 300 คน โดย ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี กล่าวต้อนรับ ให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ แนะนำคณะฯ การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย และการตั้งเป้าหมายในอนาคต และอาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย กล่าวต้อนรับ ให้ปฐมโอวาทนักศึกษาใหม่ แนะนำหลักสูตรระดับปริญญาตรี แนะนำอาจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถลิงศักดิ์ อังกุรเศรณี แนะนำเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

กิจกรรมที่ 5 ก้าวใหม่สู่เส้นทางอาชีพนักสัตวบาล (เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่)
สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2566
ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการศึกษา
ในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 08.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ หลักสูตร 4 ปี และ 4 ปี เทียบเข้าเรียน จำนวน 300 คน ได้แก่ นักศึกษาใหม่, ทีมงานนักศึกษาและบุคลากร และคณาจารย์ ในวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ 2204 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการจัดเลี้ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากฟาร์มและสปอนเซอร์ของคณะให้นักศึกษาใหม่ ซึ่งในช่วงเช้า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้แนะนำอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตระดับปริญญาตรี และอาจารย์ผู้สอน โดยได้บรรยายในเรื่อง ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนสัตวศาสตร์, การลงทะเบียนเรียน, การวางแผนการเรียน, แนะนำการใช้งานระบบสารสนเทศนักศึกษา, แนะนำวิธีและขั้นตอนการลงทะเบียน, แนะนำเว็บไซด์คณะลัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และแนะนำกิจกรรมคณะและสโมสรนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ฯ ส่วนในช่วงบ่ายมีกิจกรรมนักศึกษาใหม่เยี่ยมชมฟาร์มคณะสัตวศาสตร์ฯ ได้แก่ ฟาร์มสุกร, ฟาร์มสัตว์ปีก และฟาร์มโคนม-โคเนื้อ และนักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่มด้วย


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเริ่มการเรียนในระบบมหาวิทยาลัย ได้รับการพัฒนาความรู้พื้นฐาน, แผนการศึกษา, ทราบกิจกรรมของหลักสูตรที่มีระหว่างปีการศึกษาแรกนี้, การลงทะเบียนเรียน, การวางแผนการเรียน และปัญหาที่พบบ่อยในการเรียน และกิจกรรมนักศึกษา สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
2 เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ การปรับปรุงหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการดำเนินงานทำเพื่อบริหารจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติตามที่กำหนดไว้

3 เพื่อส่งเสริมการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก องค์กร และชุมชน หลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เป็นที่รู้จักมากขึ้น

การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้จากคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก องค์กร และชุมชน โดยการประชุมเพื่อหารือและแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรต่อไป
4 เพื่อประชาสัมพันธ์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะชนมากขึ้น กิจกรรมที่ 1 จากการประชาสัมพันธ์ทำให้คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การบริหารจัดการหลักสูตรมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก สกอ.
เชิงปริมาณ หลักสูตร 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : ความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 0.00
3. ความรู้ที่ทันสมัยซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการได้รับเพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. การดำเนินงานแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
08/12/2565  - 31/08/2566 14/12/2565  - 02/07/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ