โครงการสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเส้นทางอาชีพและความก้าวหน้าในสายงานสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว (Tourism Development Career Path)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการ Tourism Development Career Path จัดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมครั้งนี้คือ นักศึกษา 4 ปี ชั้นปีที่ 1 และ นักศึกษา 2 ปีเทียบเรียน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 182 คน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้รวม 182 คน ในการจัดโครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรจำนวน 2 ท่านคือ 1. คุณอโนชา ปาระมีสัก เกษตรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จการพัฒนาชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้ในระดับชุมชน และ 2. คุณวีรินทร์ภัทร ศรีสองเมือง ศิษย์เก่าคณะพัฒนาการท่องเที่ยว รุ่นที่ 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์มืออาชีพ โดยโครงการนี้มีการบรรยายจากคณาจารย์ วิทยากร และการเสวนาร่วมกันตามกลุ่มสายงานที่สนใจ ได้แก่ กลุ่มสายงานด้านนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กลุ่มสายงานด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มสายงานด้านผู้ออกแบบประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว กลุ่มสายงานด้านผู้สื่อความหมายธรรมชาติและวัฒนธรรม และกลุ่มสายงานด้านผู้จัดการแหล่งท่องเที่ยวระดับต้น เพื่อเป็นข้อมูลนำมาการวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้ นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้
2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้ นักศึกษาสามารถกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้ และนักศึกษาสามารถกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้ และนักศึกษาสามารถกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของตนเองได้
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 182 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
14/12/2565  - 14/12/2565 14/12/2565  - 14/12/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ