โครงการประมงโรงเรียน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
(1) การดำเนินการจัดกิจกรรม ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน ตามความต้องการและความพร้อมของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย โดยมีสถาบัน การศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 11 สถาบันดังนี้
1. โรงเรียนโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 นำโดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คุณณัฏฐกานต์ มุกดาจตุรพักตร์ และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและคณะครูประจำหลักสูตรโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน
2. โรงเรียนนวมินทรราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 27 ตุลาคม 2565 นำโดยอาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบรองผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนโรงเรียนนวมินทรราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือความร่วมมือ(MOU) และแนวทางโครงการประมงโรงเรียน
3. โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 นำโดยอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสมและคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูประจำหลักสูตรแผนกเกษตร โรงเรียนแม่อายวิทยาคม หารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน
4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 นำโดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูประจำหลักสูตรแผนกเกษตร โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่การหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน
5. โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 13 ธันวาคม 2565 นำโดยอาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เพื่อเข้าพบผู้อำนวยการ และคณะครูประจำหลักสูตรแผนกเกษตร โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ การหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน
6. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 16 ธันวาคม 2565 นำโดย อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คุณณัฏฐกานต์ มุกดาจตุรพักตร์ และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบรองผู้อำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบกิจกรรมด้านการเกษตรและประมงของโรงเรียน ในการหารือความร่วมมือ (MOU) และแนวทางการเข้าร่วมโครงการประมงโรงเรียนแบบบูรณาการกับแผนกิจกกรรมเกษตรของโรงเรียน
7. โรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 14 ธันวาคม 2565 โดยอาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คุณเทพพิทักษ์ บุญทาและคุณสุฤทธิ์
สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูประจำหลักสูตรแผนกเกษตร โรงเรียนฮอดพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือความร่วมมือ (MOU) และแนวทางการเข้าร่วมโครงการประมงโรงเรียน พร้อมดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมแผนดำเนินกิจกรรม โครงการประมงโรงเรียน
8. วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 7 กุมภาพันธุ์ 2566 นำโดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เข้าพบผู้อำนวยการและคณาจารย์ประจำหลักสูตรแผนกเกษตร วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน พร้อมดำเนินการสำรวจสถานที่เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม
9. โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2566 นำโดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และคุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ ลงพื้นที่เพื่อเข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูประจำหลักสูตรแผนกเกษตร โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน พร้อมดำเนินสำรวจสถานที่เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม
10. โรงเรียนบ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 นำโดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม และ คุณสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย คณะกรรมการบริการวิชาการ พร้อมนักศึกษา ป.โท ลงพื้นที่เพื่อเข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน พร้อมสำรวจสถานที่เพื่อใช้ในการเลี้ยงปลา
11. โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 โดย อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คณะกรรมการบริการวิชาการ
ลงพื้นที่เพื่อเข้าพบผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และติดตามการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน พร้อมดำเนินการสำรวจสถานที่ใช้ในดำเนินการกิจกรรม
(2) การดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการประมงโรงเรียนของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นฐานเรียนรู้ทางการประมงแก่นักเรียน บุคลากร เกษตรกรและผู้สนใจในชุมชนเขตพื้นที่่รอบโรงเรียน มีสถาบันการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 สถาบันดังนี้
1. โรงเรียนโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
3. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
4. โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
5. โรงเรียนบ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่
(3) การดำเนินการจัดกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาดูงานองค์ความรู้ทางการประมงของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ฝึกทักษะปฏิบัติงานทางการประมง โดยสถาบันการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 สถาบันดังนี้
1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
คณะกรรมการบริการวิชาการ ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาดูงานฐานเรียนรู้แก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 ระหว่างวันที่ 30–31 มกราคม 2566 โดย รองศาสตราจารย์ ว่าที่ ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ คณบดีฯ กล่าวเปิดงาน และคณะกรรมการบริการวิชาการ เข้าร่วมบรรยายองค์ความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. โรงเรียนโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 3 มีนาคม 2566 คณะครูและนักเรียนมัธยมปีที่ 6 แผนกเกษตรกรรมโรงเรียนสันทราย
วิทยาคม รุ่นที่ 1 เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรูเพื่อศึกษาองค์ความรู้ทางการด้านประมง และการฝึกทักษะการแยกเพศพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ โดยคณะกรรมการบริการวิชาการ เป็นผู้บรรยาย
3. วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 คณะกรรมการบริการวิชาการ ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ แก่ผู้อำนวยการและคณาจารย์ประจำหลักสูตรแผนกเกษตร วิทยาลัยการอาชีพโนนดิน โดย รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ คณบดีฯ กล่าวเปิดงานและคณะกรรมการบริการวิชาการ บรรยายองค์ความรู้ ทางด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
4. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 อาจารย์และนักศึกษาสาขาการประมง ชั้น ปวช. 1 2 และ 3 ชั้นปวส. 1 และ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
(4) ได้เข้าศึกษาดูงาน เยี่ยมชมฐานเรียนรู้เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทางการด้านประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ พร้อมเข้ารับฟังการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี การดำเนินการจัดกิจกรรม การบูรณาร่วมกับการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียน ได้เพิ่มพูนความรู้ทางด้านการประมง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น โดยมีสถาบันการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 สถาบันดังนี้
1. โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนโรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
(5) การดำเนินการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการแนะการศึกษาต่อคณะเชิงรุกในสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะ โดยคณะกรรมการบริการวิชาการมีกิจกรมการ ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการแนะแนวเข้าศึกษาต่อ จำนวน 6 ครั้ง
1. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการบริการวิชาการ ณ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 2 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จังหวัดราชบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี จังหวัดพรรณบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร จังหวัดพิจิตร
3. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการบริการวิชาการ ณ โรงเรียนธารทองพิทยาคม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
4. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการบริการวิชาการ ณ โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
5. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการบริการวิชาการ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
6. กิจกรรมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะแนวการเข้าศึกษาต่อ ครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการบริการวิชาการ ณ โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่



















ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อจัดกิจกรรมทางการประมงตามความต้องการและความพร้อมของสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนเป้าหมาย มีการดำเนินการจัดกิจกรรมในการหารือความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และการดำเนินงานโครงการประมงโรงเรียน ตามความต้องการและความพร้อมของสถาบันของการศึกษากลุ่มเป้าหมาย
2 เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง หรือเกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเบื้องต้น มีการดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการประมงโรงเรียนของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้ทางการประมงแก่นักเรียน บุคลากร เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปในชุมชนเขตพื้นที่่รอบโรงเรียน
3 เพื่อส่งเสริมโรงเรียนเป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้ทางการประมงให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปในชุมชนเขตพื้นที่่รอบโรงเรียน มีการดำเนินการจัดกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานองค์ความรู้ทางการประมงของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้มีความรู้ ได้ฝึกทักษะปฏิบัติงานทางการประมง
4 เพื่อสนับสนุนให้มีการบูรณาการกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัย มีการดำเนินการจัดกิจกรรมการบูรณาร่วมกับการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อนักเรียนได้เพิ่มพูนความรู้ทางการประมงสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น
5 เพื่อเชื่อมโยงการบริการวิชาการกับการประชาสัมพันธ์คณะเชิงรุกในพื้นที่โรงเรียนเป้าหมาย เพิ่มโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร ของคณะมากยิ่งขึ้น มีการดำเนินการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการแนะการศึกษาต่อคณะเชิงรุก และการแนะการศึกษาต่อคณะเชิงรุกในสถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้รับบริการจากงานบริการวิชาการมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถนำไปพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการจากการเข้าร่วมโครงการต่อการเรียน (สำหรับนักศึกษา)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
2. จำนวนสถาบันการศึกษาที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการประมง (ประชาสัมพันธ์ จัดฝึกอบรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นต้น)
เชิงปริมาณ โรงเรียนหรือวิทยาลัย 5 0.00
3. ร้อยละของจำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ (จากจำนวน 30 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
4. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
5. จำนวนครั้งในการออกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมในสถาบันการศึกษาเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ครั้ง 6 0.00
6. จำนวนสถาบันการศึกษาที่ร่วมบูรณาการองค์ความรู้และดำเนินกิจกรรมทางการประมง ณ สถาบันการศึกษา (หน่วยเรียนรู้ปฏิบัติการ หรือจุดสาธิตกิจกรรมด้านการประมง)
เชิงปริมาณ โรงเรียนหรือวิทยาลัย 5 0.00
7. ระดับคะแนนประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของการเข้ารับบริการวิชาการต่อชุมชน/องค์กร/สังคม (สำหรับผู้รับบริการทั่วไป)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
8. ร้อยละของจำนวนผู้รับบริการ กลุ่มนักเรียน และบุคลากรจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ (จากจำนวน 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
9. จำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2566 ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ร่วมบูรณาการกิจกรรมด้านการประมงภายใต้แผนงานโครงการ
เชิงปริมาณ คน 5 0.00
10. ระดับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ/กิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
11. จำนวนองค์ความรู้ทางการประมงที่นำไปประกอบการดำเนินกิจกรรมด้านการประมง ณ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ
เชิงปริมาณ เรื่อง 10 0.00
12. ระดับคะแนนของความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ (สำหรับนักเรียน)
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/11/2565  - 30/09/2566 11/11/2565  - 25/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ