โครงการการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Tobiz CLOs)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
6.1 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจนำเที่ยว
1) บูรณาการรายวิชานักศึกษารหัส 65/1
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์อรุณโรจน์ พวงสุวรรณ
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 1
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 104 คน
วันจัดกิจกรรม : 21 – 22 ตุลาคม 2565
สถานที่จัดกิจกรรม : เส้นทางท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ผลการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ นักศึกษารหัส 65 มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 104 คน โดยได้เพิ่มทักษะ ความรู้ และแนวคิดด้านการจัดการการท่องเที่ยว และทรัพยากรการท่องเที่ยวมากขึ้น หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม พบว่า นักศึกษามีความเข้าใจต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวมากขึ้น

6.1.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 80
6.1.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า นักศึกษามีทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี
คิดเป็นร้อยละ 83.02

6.2 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจร้านอาหาร
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์อรุณโรจน์ พวงสุวรรณ
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 2
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 27 คน
วันจัดกิจกรรม : 21 - 24 มีนาคม 2566
สถานที่จัดกิจกรรม : ณ ห้อง 2477 Bar & Bistro อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์
6.2.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจร้านอาหาร มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2
ผลการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ นักศึกษารหัส 64 มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 27 คน โดยนักศึกษาได้เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการวางแผนกำลังคน วางแผนการคัดเลือกพนักงาน จนถึงการลงมือปฏิบัติผ่านการทำร้านอาหารจำลอง หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม พบว่า นักศึกษาสามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มได้ดีขึ้น มีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น
6.3.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
ได้จำนวนเมนูอาหาร 5 เมนู
6.3.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า ได้จำนวนเมนูอาหาร 10 เมนู คิดเป็นร้อยละ 200

6.3 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจ MICE
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์อรจนา แสนไชย จันทรประยูร
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 – 4
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 35 คน
วันจัดกิจกรรม : 4 - 5 มีนาคม 2566
สถานที่จัดกิจกรรม : ณ ม่อนหมาเมิน ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่
6.3.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจ MICE มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจ MICE สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4
ผลการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ นักศึกษารหัส 63 มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 33 คน โดยได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านธุรกิจ MICE ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับสำนักหอสมุดและสาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ จากผลการประเมิน พบว่า นักศึกษาได้รับความพึงพอใจมากที่สุด โดยได้ฝึกปฏิบัติจากกิจกรรมจริง จากการฝึกทักษะในการให้บริการด้านการขนส่งนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ฝึกทักษะในการให้บริการด้านการควบคุมฝูงชน (Crown control) ฝึกทักษะในการให้บริการด้านงาน Exhibition การจัดการแสดง (Special Event) การอำนวยการให้บริการในพื้นที่การจัดแสดง ฝึกทักษะในการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจ MICE และฝึกทักษะในการให้บริการด้านงาน workshop
6.2.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
กิจกรรมพิเศษ จำนวน 1 กิจกรรม
6.2.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า กิจกรรมพิเศษ จำนวน 1 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100

6.4 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจโรงแรม
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์อรุณโรจน์ พวงสุวรรณ
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 2
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 26 คน
วันจัดกิจกรรม : 21 - 22 ตุลาคม 2565
สถานที่จัดกิจกรรม : โรงแรม ยู เชียงใหม่
6.4.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านโรงแรม มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการด้านโรงแรม สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 26 คน
ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า นักศึกษาได้เรียนรู้แบบ Best practice ตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากสถานประกอบการด้านโรงแรม ที่เป็นมาตรฐาน หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม พบว่า นักศึกษาได้เข้าใจถึงมาตรฐานการจัดการด้านห้องพักในธุรกิจโรงแรมได้ดีขึ้น สามารถปรับใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเองในอนาคตได้
6.4.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 80
6.4.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า นักศึกษามีทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี
คิดเป็นร้อยละ 86.25

6.5 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจ Wellness
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์ ดร.ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 33 คน
วันจัดกิจกรรม : ไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากจะจัดกิจกรรมในปีงบประมาณถัดไป เพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาเรียนของนักศึกษา


6.6 กิจกรรมการเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและ ICT
1) 10603260 การสร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์ ดร.ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 2
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 26 คน
วันจัดกิจกรรม : 19 ตุลาคม 2565
สถานที่จัดกิจกรรม : ห้อง 80-303 อาคารแม่โจ้ 80 ปี
6.6.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านโรงแรม มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการด้านICT สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 26 คน โดยนักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ figma. เพื่อออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการได้ นักศึกษาสามารถสร้าง wireframe และ user interface ของต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการได้
6.6.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 80
6.6.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า นักศึกษามีทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 86.75

2) ธท 311 เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม : อาจารย์อรจนา แสนไชย จันทรประยูร
กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : 26 คน
วันจัดกิจกรรม : 20 ตุลาคม 2565
สถานที่จัดกิจกรรม : ห้อง 421 อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
6.6.1 ผลการดำเนินงานในภาพรวม
กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านผู้ประกอบการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 26 คน เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้ สามารถประเมินแนวโน้มของธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการในอนาคต และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว
ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่านักศึกษาได้ทราบข้อมูล ปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นกัผู้ประกอบการที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว นักศึกษาสามารถนำข้อมูลต่างๆจากการสัมภาษณ์หรือหาข้อมูล ไปวิเคราะห์โอกาสและความเป็นไปได้ในทางธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ อีกทั้งสามารถประเมินแนวโน้มของธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงวางแผนและสร้างสินค้าและบริการที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อไปในอนาคตได้
6.6.2 วิธีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมตามตัวชี้วัด
ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 80
6.6.3 สรุปผลการประเมิน
ผลสำเร็จของกิจกรรม พบว่า นักศึกษามีทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับดี
คิดเป็นร้อยละ 87.00

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะให้กับนักศึกษาตามเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาที่กำหนด รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active learning นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงที่แต่ละรายวิชาได้มอบโจทย์ในการทำ Project ตามธรรมชาติพื้นฐาน และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่แต่ละรายวิชาได้รับมอบการกระจายความรับผิดชอบของ PLOs ให้ ซึ่งวัดผลแล้วถือว่าบรรลุตามเป้าหมาย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจนำเที่ยว บูรณาการรายวิชานักศึกษารหัส 65/1)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและ ICT ธท 310 การวิจัยเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและ ICT 10603260 การสร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและ ICT ธท 311 เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
5. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจนำเที่ยว นักศึกษารหัส 63/2)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
6. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจโรงแรม)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
7. เมนูอาหาร (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจร้านอาหาร)
เชิงปริมาณ เมนู 5 0.00
8. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจ Wellness)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
9. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจนำเที่ยว บูรณาการรายวิชานักศึกษารหัส 65/2)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
10. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและ ICT ธท 330 บัญชีและการเงินเพื่อการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
11. ทัศนคติต่อกิจกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับ "ดี" (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจนำเที่ยว นักศึกษารหัส 64/2)
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
12. แผนธุรกิจ (กิจกรรมการเสริมสมรรถนะด้านธุรกิจ MICE)
เชิงปริมาณ ธุรกิจ 1 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
19/10/2565  - 30/09/2566 19/10/2565  - 24/03/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ