โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แหล่งเรียนรู้ด้านระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ปี 2566
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แหล่งเรียนรู้ด้านระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ปี 2566 ได้ดำเนินการใน 2 กิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรม การอบรมให้ความรู้การเพาะกล้าผักและผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์ จัดขึ้นในวันที่ 26 กรกฏาคม 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงเรียนบ้านป่าบง มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 10 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านป่าบง จำนวน 60 คน ครูและเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
เวลา 9.00 น. - 10.00 น. นางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้ว ได้บรรยายเกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และวิธีการเพาะกล้าผักชนิดต่างๆ
เวลา 10.00 น. - 12.00 น. นางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้วและนายเอกพันธ์ กูนโน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะกล้าผัก โดยแบ่งนักเรียนและนักศึกษาออกเป็น 9 กลุ่ม โดยให้ร่วมกันทดลองเพาะกล้าผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก ถั่วพู ถั่วแขก
จากนั้นในช่วงบ่าย นักเรียนและนักศึกษาได้เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านป่าบง เพื่อดำเนินการเตรียมแปลงสำหรับปลูกพืชผัก ได้แก่ แปลงปลูกผักบุ้ง จำนวน 2 แปลง แปลงปลูกมะเขือยาว จำนวน 2 แปลง และแปลงสำหรับปลูปผักค้างอีกจำนวน 3 แปลง

2.กิจกรรม การอบรมให้คาวมรู้การขยายพันไม้ดอกไม้ประดับเพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ จัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมจำนวน 40 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วย
เวลา 9.00 น. - 10.30 น. นางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้ว ได้บรรยายเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการตลาดออนไลน์สำหรับไม้ดอกไม้ประดับ
เวลา 10.30 - 12.00 น. นางสาวเบญจวรรณ จันทร์แก้วและนายเอกพันธ์ กูนโน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะเมล็ดไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ ดอกดาวเรือง ดอกบานชื่น และดอกบลูซัลเวียร์
เวลา 13.00 น. - 16.00 น. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ โดยการผสมดินสำหรับเพาะไม้ดอกไม้ประดับ จากนั้นทำการเพาะชำด้วยกิ่งและย้ายกล้ามาปลูกลงในกระถาง


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาทักษะทางการเกษตรให้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และนักเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ และนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าบง ได้พัฒนาทักษะทางการเกษตรต่างๆ ได้แก่ การรู้จักชนิดพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงวิธีการเพาะกล้าผัก เพาะกล้าไม้ดอกไม้ประดับอีกด้วย
2 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ นักศึกษาได้ทราบถึงหลักการสำหรับการตลาดสินค้าออนลไน์ที่เป็นสินค้าเกษตร ประเภทไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งนักศึกษาที่สนใจก็จะสามารถนำไปทดลองจำหน่ายสินค้าไม้ดอกไม้ประดับในอนาคตได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดด้านพาณิชย์ได้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (70 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 4.2 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
10/07/2566  - 30/09/2566 10/07/2566  - 30/09/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ