โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมสานสัมพันธ์ ไทย-อินโดนีเซีย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
คณะศิลปศาสตร์ได้จัดโครงการนี้เพื่อรับรองและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับผู้มาเยือนจากมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่ความร่วมมือกับคณะศิลปศาสตร์ คือ Universitas PGRI Adi Buana Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยคณะศิลปศาสตร์แนะนำการตัดตุงไส้หมูล้านนาให้กับผู้มาเยือน และผู้มาเยือนได้แนะนำการทำหน้ากาก Topeng ของชาวอินโดนีเซียให้กับบุคลากรและนักศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ ในวันที่ 23 กันยายน 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยเป็นผู้มาเยือนจำนวน 7 คน นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์จำนวน 21 คน และบุคลากรคณะศิลปศาสตร์จำนวน 11 คน ส่วนในช่วงบ่ายมีการลงนาม MoU ระหว่างอธิการบดีของทั้งสองสถาบัน และมีการนำผู้มาเยือนสำรวจฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหารือความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติมในช่วงเย็น และในวันที่ 24 กันยายน 2565 นำผู้มาเยือนทัศนศึกษา ณ หอศิลปวัฒนธรรม วัดเกตุการาม และรอบตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ จากการพูดคุย สอบถามผู้เข้าร่วมโครงการพบว่ามีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม และต้องการให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศเช่นนี้อีกต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและอินโดนีเซียกับบุคลากรและนักศึกษาจาก Universitas PGRI Adi Buana Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 23 กันยายน 2565 คณะศิลปศาสตร์ นำโดยอาจารย์จิลลา กิตติกรวรเดช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร คำยอด ได้บรรยายให้ความรู้และสอนผู้มาเยือนและนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ที่ร่วมโครงการ ในการตัดตุงไส้หมูล้านนา ในส่วนของผู้มาเยือนนั้น มี Asst.Prof.Hertiki และ Miss Shabrina Tsabyca Adelya เป็นผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหน้ากาก Topeng ของชาวอินโดนีเซีย และได้เตรียมหน้ากากมาให้นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้ระบายสีตามแบบของอินโดนีเซีย และในวันที่ 24 กันยายน 2565 คณะศิลปศาสตร์นำผู้มาเยือนทัศนศึกษา ณ หอศิลปวัฒนธรรม วัดเกตุการาม และรอบตัวเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ คณะศิลปศาสตร์ได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาของคณะฯ และผู้มาเยือน มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 20 คน จากทั้งหมด 27 คน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับ 17.95 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 89.75 เกินกว่าตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 25 คน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โครงการนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ทั้งในด้านความพึงพอใจและจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บุคลากรและนักศึกษาจาก Universitas PGRI Adi Buana Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย และคณะศิลปศาสตร์ได้รับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 25 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
20/09/2565  - 30/09/2565 22/09/2565  - 25/09/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ