โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล จัดขึ้นในวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลให้นักศึกษาสาขาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นทางวิชาชีพการสื่อสาร กิจกรรมในภาคเช้ามีการอบรมหัวข้อการพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล โดย อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ เนื้อหาประกอบด้วยรูปแบบธุรกิจ startup/SMEs ตามกฏหมาย,ปัจจัยการเลือกรูปแบบธุรกิจ startup/SMEs /ขั้นตอนและการยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ห้างหุ้นส่วน/บริษัท/บริษัทจำกัดมหาชน รวมทั้งค่าธรรมเนียม/ภาษีต่างๆ และในภาคบ่ายมีการอบรมแนวทางการพัฒนาธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการใหม่ (startup) ในยุคดิจิทัล โดย คุณธนพล ฟูศรีเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัท นอร์ทเทิร์นอาร์ต จำกัด เป็นวิทยากร เนื้อหาประกอบด้วย ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการใหม่ (startup) ในยุคดิจิทัล/พฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ทและระบบออนไลน์/10 Mindset ที่ผู้ประกอบการควรมีเพื่อธุรกิจยุคดิจิทัล/Digital tranformation/การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ/การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค/Social Media ในยุคดิจิทัล รวมทั้งกลยุทธ์องค์กร และทักษะที่ผู้ประกอบการใหม่ (startup) ในยุคดิจิทัลต้องมี กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่ ห้อง IC106 ชั้น 1 อาคาร 75ปีแม่โจ้ ทั้งนี้ นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เตรียมความพร้อม และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ แนวทางการพัฒนาธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการใหม่ (startup) ในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ/การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้ง การใช้งานระบบ Social Media เพื่อดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลต่อไป

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลให้นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร นักศึกษาได้เตรียมความพร้อม และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งได้แนวทางการพัฒนาธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการใหม่ (startup) ในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ/การวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้ง การใช้งานระบบ Social Media เพื่อดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจต่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
07/09/2565  - 30/09/2565 07/09/2565  - 07/09/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ