โครงการการสร้างสรรค์ตำรับอาหารเชิงหน้าที่จากวัตถุดิบอินทรีย์ตามฤดูกาลเพื่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว “Creative Food Design for Tourism: EatWell, DrinkWell”
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงาน
โครงการ การสร้างสรรค์ตำรับอาหารเชิงหน้าที่จากวัตถุดิบตามฤดูกาลเพื่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว “Creative Food Design for Tourism: EatWell, DrinkWell” จัดขึ้นในวันที่ 22 และวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมครั้งนี้คือ นักศึกษา 4 ปี ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 และนักศึกษา 2 ปีเทียบเรียน ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้รวม 200 คน ในการจัดโครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรจำนวน 4 ท่านคือ 1. อาจารย์ ดร. ภัทรศรี อินทร์ขาว อาจารย์ประจำสังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา พันธุ์แสนศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ฯ 3. คุณศิริศุภมาศ ตัณฑ์ทวี เชฟผู้เชี่ยวชาญจากร้าน Sara’s Kitchen at Bann Nai Lert, Capers และ Grape Wine Bar และ 4. คุณ กนิษฐกา ลิมังกูร เชฟผู้เชี่ยวชาญจากร้าน อันจะกิน วิลล่า (Anja Kinn Villa) โดยโครงการนี้มีกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งบรรยายร่วมเสวนากับคณาจารย์สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกี่ยวกับปฐมบทอาหารเชิงหน้าที่กับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตลอดจนการสาธิตการปรุงประกอบอาหารและเครื่องดื่มเชิงหน้าที่จากวัตถุดิบตามฤดูกาลจากเชฟผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ลงมือปรุงประกอบอาหารและเครื่องดื่มเชิงหน้าที่ ร่วมทดลองชิมอาหารโดยวิทยากร เชฟและคณาจารย์สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจแนวคิดด้านการปรุงประกอบอาหารเชิงหน้าที่ แนวทางการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์และขั้นตอนการปรุงประกอบอาหารเบื้องต้น สามารถสรุปองค์ความรู้และเสนอรูปแบบการออกแบบประสบการณ์เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิดด้านการปรุงประกอบอาหารเชิงหน้าที่ - นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดด้านการปรุงประกอบอาหารเชิงหน้าที่และแนวทางการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์
2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการปรุงประกอบอาหารเบื้องต้น - นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการปรุงประกอบอาหารเบื้องต้น
3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวทางการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านตำรับอาหารเชิงหน้าที่และอาหารเชิงสร้างสรรค์ - นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านตำรับอาหารเชิงหน้าที่และอาหารเชิงสร้างสรรค์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยวที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดพัฒนาเป็นเครื่องมือเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยว
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเข้าใจแนวคิดด้านการปรุงประกอบอาหารเชิงหน้าที่ แนวทางการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์และขั้นตอนการปรุงประกอบอาหารเบื้องต้นจากวัตถุดิบอินทรีย์ตามฤดูกาล สามารถสรุปองค์ความรู้และเสนอรูปแบบการออกแบบประสบการณ์เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวได้
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
22/08/2565  - 24/08/2565 22/08/2565  - 24/08/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ