โครงการเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการนี้ได้ตั้งเป้าหมาย 2 ประการคือ ประการแรก นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 70 มีความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel, Microsoft Word และ Microsoft Power Point และประการที่สอง นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการปฎิบัติงานสหกิจในสถานประกอบการและการปฎิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงาน
จากเป้าหมายประการแรก ผลการสำรวจจำแนกได้ดังนี้ 1) โปรแกรม Microsoft Excel พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ นักศึกษาร้อยละ 37.2 มีความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 23.3 มีความรู้ความเข้าใจปานกลาง และร้อยละ 39.50 มีความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด หลังเข้าร่วมโครงการ พบว่านักศึกษาร้อยละ 3.50 มีความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 10.5 มีความรู้ความเข้าใจปานกลาง และ ร้อยละ 86.00 มีความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด 2) โปรแกรม Microsoft Word พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ นักศึกษาร้อยละ 54.70 มีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุดถึงปานกลาง และร้อยละ 45.4 มีความรูู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด หลังเข้าร่วมโครงการ พบว่านักศึกษาร้อยละ 83.70 มีความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด 3) โปรแกรม Microsoft Power Point พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ นักศึกษาร้อยละ 57.1 มีความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมน้อยที่สุดถึงปานกลาง หลังเข้าร่วมโครงการ พบว่านักศึกษาร้อยละ 83.8 มีความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด ในด้านภาพรวมของการจัดกิจกรรม พบว่านักศึกษาร้อยละ 79.10 มีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด โดยนักศึกษายังให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์มาก เนื่องจากสามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา และทำงานในอนาคตได้
จากจำนวนร้อยละที่ปรากฏ จะเห็นได้ว่าภายหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยเฉลี่ยทั้งสามโปรแกรม นักศึกษาร้อยละ 84.5 มีความรู้ความเข้าใจทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มากถึงมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าจากเป้าหมายประการที่หนึ่ง โครงการบรรลุเป้าหมายการจัดกิจกรรม
เป้าหมายประการที่สอง ผลการสำรวจพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร ก่อนเข้าการอบรม นักศึกษาร้อยละ 56.3 มีความรู้ระดับน้อยที่สุดถึงระดับปานกลาง และร้อยละ 43.60 มีความรู้ระดับมากถึงมากที่สุด หลังเข้ารับการอบรม พบว่า นักศึกษาร้อยละ 91.9 มีความรู้ความเข้าใจระดับมากถึงมากที่สุด 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในองค์กรหรือหน่วยงาน ก่อนเข้าการอบรม นักศึกษาร้อยละ 50.5 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวน้อยถึงระดับปานกลาง และร้อยละ 49.40 มีความรู้ความเข้าใจระดับมากถึงมากที่สุด หลังเข้ารับการอบรม พบว่า นักศึกษาร้อยละ 91.90 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวระดับมากถึงมากที่สุด 3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการปฎิบัติงานสหกิจศึกษา ก่อนเข้าการอบรม นักศึกษาร้อยละ 51.2 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวน้อยที่สุดถึงระดับปานกลาง หลังเข้ารับการอบรม พบว่า นักศึกษาร้อยละ 93.1 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวระดับมากถึงมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าโดยภาพรวมของการจัดกิจกรรม 85.10 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม และร้อยละ 90.80 เห็นว่าสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดอบรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้มากถึงมากที่สุด
จากจำนวนร้อยละที่ปรากฏ จะเห็นได้ว่าภายหลังการเข้าร่วมโครงการ จากการประเมินความรู้ความเข้าใจการปฎิบัติสหกิจศึกษาทั้งสามด้าน โดยเฉลี่ย นักศึกษาร้อยละ 92.30 มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร การปฏิบัติตัวในองค์กร และขั้นตอนปฏิบัติสหกิจศึกษาในระดับมากถึงมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าจากเป้าหมายประการที่สอง โครงการบรรลุเป้าหมายการจัดกิจกรรมเช่นกัน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงาน นักศึกษาร้อยละ 84.50 มีความรู้ความเข้าใจทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานมากถึงมากที่สุด
2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงานสหกิจในสถานประกอบการและการปฎิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงาน นักศึกษาร้อยละ 92.30 เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงานสหกิจในสถานประกอบการในระดับมากถึงมากที่สุด
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานมาประยุกต์ใช้สร้างผลงานได้ในระดับดีขึ้นไป เชิงปริมาณ 70 70 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานสหกิจในสถานประกอบการและการปฎิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงานเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติสหกิจและการปฎิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำงานในระดับดีขึ้นไป เชิงปริมาณ 70 70 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2565  - 30/09/2565 07/09/2565  - 17/09/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ