โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้ทักษะประมง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1. สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับรายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์ม 1 สาขาวิชาการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ ชั้นปีที่ 1 เข้าศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในฐานเรียนรู้ภายในคณะ ดังนี้
- วันที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 15.00-18.00 น.
นักศึกษากลุ่มที่ 1 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ปลานิล
นักศึกษากลุ่มที่ 2 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำ
- วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 15.00-18.00 น.
นักศึกษากลุ่มที่ 1 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำ
นักศึกษากลุ่มที่ 2 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ปลานิล
- วันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 15.00-18.00 น.
นักศึกษากลุ่มที่ 1 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ปลากะพง
นักศึกษากลุ่มที่ 2 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ Smart Aquaculture
- วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 15.00-18.00 น.
นักศึกษากลุ่มที่ 1 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ Smart Aquaculture
นักศึกษากลุ่มที่ 2 เข้าศึกษาฐานเรียนรู้ปลากะพง
ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 75 คน

2. สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการประมงฯ และธนาคารออมสิน สาขาแม่โจ้ จัดงานปลามง Fishfest#2 ในวันที่ 7-8 กันยายน 2565 ซี่งมีรายละเอียดดังนี้
- จัดการแข่งขันทักษะทางการประมง เพื่อคัดเลือกนักศึกษาแข่งทักษะในงานประเพณี 4 จองแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่
1. ทักษะการทอดแห
2. ทักษะการบรรจุพันธุ์ปลา
3. การประกวดแผนธุรกิจนวัตกรรมทางการเกษตร โดยการคัดเลือกจากกิจกรรม Fishtech start up league
- การประกวดชุดรีไซเคิลจากวัสดุเหลือใช้ทางการประมง
- การออกร้านจำหน่ายผลิตผลิตภัณฑ์จากรายวิชา โครงการปลูกผักแลกค่าเทอม(การประมง) ซึ่งมีสินค้าและผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เพื่อส่งเสริมนักศึกษเป็นผุ้ประกอบการ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาฝึกทักษะในการขาย การผลิต การเก็บรักษผลิตภัณฑ์ และการบริการ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของผู้ประกอบการ ได้แก่
- ร้านค้าสโมสรนักศึกษา จำหน่ายอาหารทะเล และบริการย่าง (กุ้งก้ามกรามสด1 หมึกสด2 กุ้งขาวสด3 หอยแครง4) จากเครือข่ายศิษย์เก่า ร้านตักปลา (สวิงกระดาษ) ร้านโซดาและวุ้นปลา
- ร้านค้า Make a dish จากโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม (การประมง) จำหน่าย ยำลูกชิ้นปลายอ5 ข้าวเหนียวปลาสวรรค์6 ข้าวเหนียวปลาส้ม7 ข้าวเกรียบปลา8 และ หนังปลาทอดกรอบ9
- ร้านค้า 451 จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากรายวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง จำหน่าย . ปลาหมึกบดปรุงรส10 อ่องมันปูนา11 และ ทอดมันปลา12
- ร้านค้ายำขนมจีน น้ำปลาร้าบ้านจานจอม13
- ร้านครัวปลามง จำหน่าย ปลาทับทิมเผาเกลือ14 ปลาดุกย่าง15 ปลาดุกแดดเดียว16 ปลาดุกหั่นชิ้น17 ปลาทับทิมแปรรูป18 และ ปลาหมอแปรรูป19
- ร้านปลาสวยงาม จากโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม (การประมง) จำหน่ายปลาสวยงามและอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานและพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพประมง และทักษะอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษา จัดกิจกรรมเดินฐานเรียนรู้ภายในคณะ เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากฐานเรียนรู้และบุคลากร/เจ้าหน้าที่ประจำฐาน
2 เพื่อให้นักศึกษาและบัณฑิตได้มีองค์ความรู้ด้านผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจประมง กิจกรรมธุรกิจประมงจำลอง ในงานปลามง Fishfest#2 เพื่อให้นักศึกษาร่วมออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในโครงการและได้เห็นบรรยากาศการค้า การขาย จากเครือข่ายผู้ประกอบการ (Food truck)
3 เพื่อให้นักศึกษาและบัณฑิตได้นำองค์ความรู้ด้านผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจประมงมาใช้ในการฝึกปฏิบัติจริง นักศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ และโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม (การประมง) นำสินค้าและผลิตภัณฑ์จากการเรียนรู้ในรายวิชา มาจำหน่ายในงานปลามง Fishfest#2 และทั้งนี้ยังมีสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายอย่างต่อเนื่องในช่องทางต่าง ๆ
4 เพื่อสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกในการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ นักศึกษาดีการสร้างเครือข่ายกับศิษย์เก่าของคณะในการนำสินค้า และองค์ความรู้จากศิษย์เก่าที่เป็นผู้ประกอบการมาเป็นแนวทางในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนทักษะทางการประมงที่จัดให้มีการแข่งขัน
เชิงปริมาณ ทักษะ 2 0.00
2. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
3. ร้อยละของนักศึกษาและบัณฑิตที่เข้าร่วมกิจกรรม (จากจำนวน 200 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
4. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้ข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
5. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
6. จำนวนฐานเรียนรู้ภายในคณะที่นักศึกษาเข้าศึกษาความรู้เพิ่มเติม
เชิงปริมาณ ฐาน 4 0.00
7. จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้จำหน่าย (แบบสด แบบพร้อมปรุง แบบพร้อมทาน)
เชิงปริมาณ ผลิตภัณฑ์ 5 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2565  - 30/09/2565 19/08/2565  - 08/09/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ