โครงการศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดกิจกรรมเสวนาศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่
-กิจกรรมเสวนาออนไลน์ ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ 2565 EP1 : การตลาดกุ้งไทย ในวันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 10.00 -12.00 น. ผ่าน Zoom Cloud Metting โดยมี คุณไมตรี เอี่ยมปิยะ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 62 (ประมง 14) ตำแหน่งผู้จัดการ (ฝ่ายขาย) บมจ. อะควาบิส และคุณมาริสา โพธิ์ทอง ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 62 (ประมง 14) ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายอนุบาลลูกกุ้งโครงการพิเศษ ดำเนินรายการโดย ผศ.ทิพย์สุคนธ์ พิมพ์พิมล และมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 34 คน ซึ่งนักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุบาลลูกกุ้ง การเลี้ยงกุ้ง และการตลาดกุ้งในสภาวะการณ์ปัจจุบัน
-กิจกรรมเสวนาออนไลน์ ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ 2565 EP2 : พัฒนาประสิทธิภาพงานสหกิจศึกษาในประเทศ ในวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2565 เวลา 13.30 -15.30 น. ผ่าน Zoom Cloud Metting โดยมี นายสาทร กิจบุญชุ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 82 (ประมง 34) ตำแหน่งหัวหน้าแผนก ผักและผลไม้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด ดำเนินรายการโดย อ.ดร.จอมสุดา ดวงวงษา และมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 107 คน ซึ่งนักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการฝึกสหกิจศึกษากับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด และการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจประมง
-กิจกรรมเสวนา ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ 2565 EP3 : ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทางด้านการประมง ในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 15.00 -17.00 น. ซึ่งเป็นการเสวนา พูดคุย แชร์ไอเดียประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการ จากนักศึกษาและศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เพื่อเป็นแนวทางให้น้อง ๆ ที่ศึกษาอยู่หรือ ผู้ที่มีความฝันต้องการอยากจะเป็นเจ้านายตัวเอง มีกิจการเป็นของตัวเองว่า ต้องเริ่มอย่างไร ทำอะไรบ้าง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ประสบการณ์การทำงาน ว่าต่างจากการเรียนอย่างไร วิชาไหนได้เอาไปปรับใช้บ้าง ปัญหา อุปสรรค ที่พบเจอในการดำเนินธุรกิจ มีอะไรบ้าง แก้ปัญหาอย่างไร และแนวทางธุรกิจในอนาคต ดำเนินรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์ เทียมเมือง และ อาจารย์กานต์ ทิพยาไกรศรี โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำและผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้เป็นแรงบันดาลใจและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักศึกษาผู้ประกอบการ กล่าวให้กำลังใจและแนวทางการประสบความสำเร็จให้แก่นักศึกษาและผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยต้องมีแรงบันดาลใจ ก้าวข้ามในสิ่งที่ทำไม่ได้ ไม่ย่อท้อกับอุปสรรค ปรับความคิดใหม่ ๆ เพราะปัจจุบันมีโอกาสค่อนข้างมาก ซึ่งการจะมี starup ได้ ต้องมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม (เหมาะสมกับลูกค้า) มีองค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี ต่อยอดงานวิจัยและนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทางด้านประมง รายละเอียดดังนี้
1. นางสาวรุจิราภรณ์ มุสิกะพันธ์ นักศึกษาปริญญาเอก (นักศึกษาปัจจุบัน) สาขาวิชา
เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เจ้าของธุรกิจ “ฟาร์มกบอารมณ์ดี” และ “ANURA PRO FRESH” ธุรกิจแปรรูปกบ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 67 (ประมง 19) เริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงลูกพันธุ์กบ เพื่อจำหน่ายลูกพันธุ์ จากนั้นต้องการเลี้ยงเพื่อขายเนื้อ แต่ตลาดไม่ค่อยตอบรับ จึงต้องหาช่องทางอื่น ดังนั้นจึงทำเป็นผลิตภัณฑ์กบสดสำหรับลูกค้าที่นำไปปรุงอาหารต่อ และผลิตภัณฑ์แปรรูปกบ พร้อมทาน เช่น กบอั่ว กบหมักสมุนไพร ซึ่งลูกค้าตอบรับดีมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเป็นผู้ประกอบการสิ่งสำคัญคือความต้องการของลูกค้า “ต้องเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค” เราต้องหาสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าและคิดปรับปรุง ค้นคิดสิ่งใหม่ ๆ เสมอ ที่สนองความต้องการของลูกค้า จะสามารถทำให้ธุรกิจของเราไปได้ วิชาที่นำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ เช่น วิชาการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดการฟาร์ม โรคสัตว์น้ำ การจัดการตลาดธุรกิจ และประสบการณ์จากการประกวด starup ในขณะที่เป็นนักศึกษา มีประโยชน์เป็นอย่างมาสำหรับการต่อยอดธุรกิจ
2. นายภัทราวุธ สายเขียว นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงและ
ทรัพยากรทางน้ำ (ศิษย์เก่า) เจ้าของ “บริษัทประภาพร โปรดักชั่น” เจ้าของแบรนด์ “สะเด็ดพี่” ผงปลาโรยข้าว เจ้าของสโลแกน “อร่อยเด็ด สะเด็ดพี่” เริ่มต้นจากการเลี้ยงปลาสะเด็ด ซึ่งทำอยู่ในระหว่างที่เรียน เนื่องจากอยากมีรายได้ระหว่างเรียน และมองว่าสัตว์น้ำเป็นที่ต้องการของตลาดและคนยังเลี้ยงปลาสะเด็ดไม่เยอะ และช่วงระหว่างที่เรียน ก็อาศัยการเรียนรู้จากการออกไปบริการวิชาการร่วมกับคณาจารย์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรที่ทำอาชีพเลี้ยงปลาสะเด็ด อีกทั้งมีการสนับสนุนและมีพี่เลี้ยงจาก MAP และทางคณะ จึงทำให้มีโอกาสหลาย ๆ อย่าง ที่พร้อมจะพัฒนาตัวเอง จากนั้นเริ่มทำแปรรูป คือ ปลาสะเด็ดจี่ ขาย และคิดต่อยอดเรื่องการจัดการของเสียหากไม่สามารถขายหมด ก็มีโอกาสได้ไปเรียนรู้การแปรรูปกับอาจารย์ที่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่การจะทำให้มีมาตรฐานต้องทำโรงงาน ซึ่งใช้ทุนสูงมาก ซึ่งปัจจุบันก็ปรับวิธีการโดยการหาแหล่งในการผลิต โดยที่เราไม่ต้องทำโรงงานเอง ซึ่งก็ช่วยลดต้นทุนได้ การจะประสบความสำเร็จได้ จะต้อง “ลงมือทำ” ไม่รอให้เวลาผ่านไป เรียนรู้ประสบการณ์ พลิกแพลงอุปสรรคเพื่อแก้ไขปัญหา จะนำพาสู่ความสำเร็จ
3. นายสิทธิกร อยู่แจ่ม นักศึกษาปริญญาเอก (นักศึกษาปัจจุบัน) สาขาวิชาเทคโนโลยี
การประมงและทรัพยากรทางน้ำ เจ้าของ “บริษัท เอส.ที.ดี.เมติคส์ จำกัด” ผลิตเครื่องสำอางจากสาหร่ายไกและสาหร่ายเตา สาหร่ายพวงองุ่น และ เจ้าของร้านอาหาร “กระต่ายกับเต่า” เริ่มต้นจากสาหร่ายเตา / สาหร่ายไก (สาหร่ายพื้นบ้านของทางภาคเหนือ) ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล ได้นำมาทำวิจัยเกี่ยวกับ เวชสำอาง ซึ่งตนเอง “อยากสร้างความแตกต่าง” จึงนำมาดัดแปลงเป็นแผ่นมาสก์หน้า และมีโอกาสนำไปจัดแสดงผลงานทั้งในและต่างประเทศ หลากหลายเวที ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีการติดต่อของซื้อแผ่นมาสก์หน้า จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่อยากจะทำขายจึงไปปรึกษา MAP อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (UBI เดิม) แนะนำให้ไปเป็นนิติบุคคล แล้วไปจัดตั้งบริษัท ซึ่งตนเองทำธุรกิจการพัฒนาสูตรเครื่องสำอาง ต้องมีทั้งมาตรฐานรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา : อย. (Food and Drug Administration) และโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันรับทำทั้งสารสกัด ผลิตอาหาร แบบครบวงจร สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ ในระหว่างเรียน การเลือกเรียนวิชาเลือกเสรีควรเลือกข้ามศาสตร์ เพื่อความรู้ใหม่ เพื่อนใหม่ เครือข่ายใหม่ และอาจารย์ใหม่ การคิดผลิตภัณฑ์ ต้องสำรวจความต้องการของตลาด หาข้อมูลก่อนพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แล้วกลับมาทำวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้จริง และระหว่างขายสินค้าเรา “สามารถดูรีวิวหรือคอมเมนต์ของผู้บริโภค เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์”
4. นายเมธัส เงินจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงและ
ทรัพยากรทางน้ำ เจ้าของ“บริษัท B.S.N. Life จำกัด” ผลิตภัณฑ์ เข้ (ครีมลดการอักเสบของกล้ามเนื้อจากไขมันจระเข้)
“คิดนอกกรอบ มีความชัดเจน ไม่ปิดกั้นโอกาส” เราจะพบโอกาสใหม่ ๆ เสมอ ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยต้องกล้าที่จะเข้าหาอาจารย์ และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้เป็นพื้นที่ฝึกประสบการณ์ก่อนที่เราจะออกไปใช้ในโลกของความเป็นจริง ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ และส่วนตัวชอบวิชางานฟาร์ม เพราะได้ทดสอบความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญในชีวิตจริง ควรมีการเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ ด้านธุรกิจ เช่น การขายแบบ B2B เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค เรียนรู้ด้านตลาด Red Ocean และการทำงานเป็นทีม (ไม่ต้องเหนื่อยคนเดียว) แต่มี Smart way ที่มีความถนัดในแต่ละด้าน ดังนั้น น้อง ๆ “ต้องเรียนรู้หลาย ๆ ศาสตร์” เผื่อนำความรู้มาปรับใช้ได้จริง ซึ่งระหว่างเรียนเราสามารถเลือกลงเรียนวิชาต่างคณะเพื่อเพิ่มความรู้ใหม่ ๆ ได้
และมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 44 คน
-กิจกรรมเสวนา ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ 2565 EP4 : แนวทางการประกอบอาชีพทางการประมง
ในยุคปัจจุบัน ในวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 -12.00 น. ซึ่งเป็นการเสวนา พูดคุย แชร์ไอเดียประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล การประกอบธุรกิจค้าส่งอาหารทะเล และ อาชีพผู้สังเกตุการณ์ในเรือประมงพานิชย์ จากศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการประมง เพื่อเป็นแนวทางให้น้อง ๆ ที่ศึกษาอยู่หรือ ผู้ที่มีความฝันต้องการอยากจะเป็นเจ้านายตัวเอง มีกิจการเป็นของตัวเอง และอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ว่า ต้องเริ่มอย่างไร ทำอะไรบ้าง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง โดย คุณเอกลักษณ์ ต๊ะจี๋ (พี่เอิร์น) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 74 (ประมง 2) อาชีพผู้สังเกตการณ์บนเรือประมง (Observer on board) กรมประมง คุณอรรถชัย บัวเล็ก (พี่อั้น) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 76 (ประมง 28) เจ้าของธุรกิจรับซื้อและจำหน่ายสัตว์น้ำ และ คุณอภิสิทธิ์ คำเพ็ชร์ (พี่บิว) ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 76 (ประมง 28) เจ้าของธุรกิจเพาะเลี้ยงและรับซื้อสัตว์น้ำ และมีนักศึกษาเข้าร่วมฟัง จำนวน 127 คน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้จากประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่หลายหลากของศิษย์เก่า ศิษย์เก่าของคณะได้ถ่ายทอดองค์ความด้านวิชาชีพทางการประมงที่ได้เรียนรู้จากการทำงานจริง สู่น้องนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
2 เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ทั้งช่วงระหว่างที่ศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา นักศึกษาของคณะได้รับแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งการสร้างอาชีพและหารายได้ระหว่างเรียนได้
3 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และ สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าของคณะ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดเพื่อสร้างเครือทางอาชีพการประมง และอาชีพทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประมง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ทั้งช่วงระหว่างที่ศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของโครงการที่เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 0.00
2. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 136 0.00
3. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 0.00
4. จำนวนศิษย์เก่าที่ร่วมเล่าประสบการณ์
เชิงปริมาณ คน 14 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/07/2565  - 30/09/2565 03/01/2565  - 31/08/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ