โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
รายละเอียดในการส่งมอบผลผลิตตัวชี้วัดตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 8 ตัวชี้วัดและได้บรรลุตัวชี้วัดดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้าสู่ตลาด ตัวชี้วัดจำนวน 23 ผลิตภัณฑ์ บรรลุ 26 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจำนวน 14 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำแผนการตลาดเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความพร้อมในการขยายฐานการตลาดจากช่องการจำหน่ายเดิมเพื่อเสริมศักยภาพให้กับผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน
2. เครือข่ายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ ตัวชี้วัดจำนวน 5 เครือข่าย บรรลุ 18 เครือข่าย ผ่านความร่วมมือในด้านการส่งเสริมพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาต่างประเทศ 4 แห่ง, เครือข่ายผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวตกรรม 2 แห่ง สถาบันการศึกษาต่างประเทศร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจ 12 ความร่วมมือ และเครือข่ายผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 2 บริษัท
3. บุคลากร นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ ตัวชี้วัดจำนวน 320 คน บรรลุ 1,357 คน โดยการร่วมดำเนินงานร่วมกันทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย (อ้างอิงจากระบบ KPI monitoring) จำนวน 716 คน, การดำเนินงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 245 คน, การจัดอบรม MODULE 376 คน และการจัดอบรมหลักสูตรด้านนวัตกรรม 20 คน
4. ผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์พิเศษด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตัวชี้วัดจำนวน 4 คน บรรลุ 19 คน โดยแบ่งเป็นผู้เชียวชาญภายนอกจำนวน 2 คน และภายในจำนวน 17 คน ตามหลักการของความเชี่ยวชาญ ดังนี้
- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและเกษตรอัจฉริยะ 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษา 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและการพัฒนาผู้ประกอบการ 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร 15 คน

5. ระบบการบริหารจัดการที่ได้รับการยกระดับบรรลุจำนวน 1 ระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสู่ ภายใต้การผลักดันขับเคลื่อนแผนแม่บทวิชาการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการพัฒนาและปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ กฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องการมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 การปรับรูปแบบ มคอ. 2-6 ให้เป็นไปตาม AUNQA รวมถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ใช้ระบบประกันคุณภาพหลักสูตรทั้งมหาวิทยาลัยเป็นแบบ AUNQA V4 มีการสนับสนุนให้บุคลากรในทุกคณะได้เข้าอบรมการเป็นผู้ประเมินตามมาตรฐาน AUNQA V4 เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งการยกระดับการศึกษาของหลักสูตร Non Degree หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ Reskill/Upskill
6. หลักสูตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ตัวชี้วัดจำนวน 1 หลักสูตร บรรลุ 2 หลักสูตร ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (แม่โจ้- ชุมพร) ขยายผลในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรนวัตกรรมการจัดการชุมชน (แม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ) และอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรมหาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (วิทยาลัยพลังงานทดแทน) โดยวางเป้าหมายในการเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2568
7. High Quality Engineer หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) ตัวชี้วัดจำนวน 80 คน บรรลุ 58 คน และอยู่ระหว่างการดำเนินการ 22 ทุน
8. Module สำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะด้านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Short Course for Reskill Upskill/Module Credit Bank/สัมฤทธิบัตรบรรลุจำนวน 8 Module โดยมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนา module ที่สามารถเสริมสร้าง Reskill Upskill ให้ผู้เข้าร่วมเกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและเสริมแนวความคิดในการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจสู่การพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ



ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ การกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์พิเศษด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่มีความเข้าใจในระบบนิเวศนวัตกรรมและผู้ประกอบการ และมีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้นวัตกรรมและมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่พร้อมนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญไปใช้ในการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 19 คน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภายนอกจำนวน 2 คน และภายในจำนวน 17 คน ตามหลักการของความเชี่ยวชาญ ดังนี้
- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและเกษตรอัจฉริยะ 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษา 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและการพัฒนาผู้ประกอบการ 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง 1 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร 15 คน
2 เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมและศักยภาพสู่ในการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทางด้านงานวิชาการอันประกอบด้วย งานการปรับปรุงหลักสูตร และงานด้านการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) แบบชุดวิชาหรือหลักสูตรฝึกอบรม (Module) และมุ่งเน้นการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ภายใต้การผลักดันขับเคลื่อนแผนแม่บทวิชาการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการพัฒนาและปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ กฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องการมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 การปรับรูปแบบ มคอ. 2-6 ให้เป็นไปตาม AUNQA รวมถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ใช้ระบบประกันคุณภาพหลักสูตรทั้งมหาวิทยาลัยเป็นแบบ AUNQA V4 มีการสนับสนุนให้บุคลากรในทุกคณะได้เข้าอบรมการเป็นผู้ประเมินตามมาตรฐาน AUNQA V4 เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งการยกระดับการศึกษาของหลักสูตร Non Degree หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ Reskill/Upskill

3 เพื่อผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เพื่อตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve) การสร้างและพัฒนา High Quality Engineer ภายใต้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) โดยได้กำหนดให้มีทุนการสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประเภทวิชาเกษตรกรรม หรือประเภทวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการ ศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรียน (ก.พ.) รับรอง หรือผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือ สาขาวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ทุนพัฒนากำลังคน High Quality Engineer (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) ได้มีการจัดทำสัญญาผู้รับทุนแล้วจำนวน 58 คน และอยู่ระหว่างการจัดทำสัญญา 22 ทุน โดยเมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาภายใต้หลักสูตรแล้วนั้นจะเป็นการเพิ่มกำลังคน High Quality Engineer อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศต่อไป
และการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรด้วยหลักสูตรแบบ Module ได้มุ่งเน้นการจัดหลักสูตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะด้วยกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการเรียนรู้แบบ Module ได้รับการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นวิสาหกิจหรือผู้ประกอบการได้ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะอาชีพขั้นสูง ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรประกาศนียบัตร (NON-DEGREE) หรือหลักสูตรฝึกอบรม (module) และหลักสูตรระยะสั้นรวม 18 หลักสูตร และได้มีการจัดการอบรมฯ หลักสูตรสำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะด้านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Short Course for Reskill Upskill/Module Credit Bank/สัมฤทธิบัตร จำนวน 8 Module ดังนี้
1. เทคโนโลยีพลังงานชีวมวล
2. การพัฒนาฟาร์มและโรงเรือนอัจฉริยะ
3. การพัฒนาทักษะโดรนสำรวจทางการเกษตรและการทำแผนแผนที่ทางการเกษตร
4. การจัดการความปลอดภัยธุรกิจอาหาร
5. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
6. ป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 1
7. การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
8. เทคนิคการจับบังคับควบคุมสัตว์
4 เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการใหม่ นักศึกษา บัณฑิตผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาให้บุคลากร นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ โดยมีการขับเคลื่อนร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัยในการจัดโครงการ/กิจกรรมรวม 17 หน่วยงาน ผ่านการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาทักษะ Reskill Upskill การจัดการแข่งขัน Startup การพัฒนา Platform ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยมีบุคลากร นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนารวม 1,357 คน จากองค์ความรู้ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับก่อให้เกิดทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ อันที่จะสามารถนำไปพัฒนาเกิดแนวคิดทางธุรกิจ เกิดรายได้ตลอดจนเกิดธุรกิจใหม่ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
5 เพื่อสร้างเครือข่ายในการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ การสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ จำนวน 18 เครือข่าย ผ่านความร่วมมือในด้านการส่งเสริมพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็น
1. เครือข่ายสถาบันการศึกษาต่างประเทศ 4 แห่ง
2. เครือข่ายผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวตกรรม 2 แห่ง
3. สถาบันการศึกษาต่างประเทศร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจ 12 ความร่วมมือ
4. เครือข่ายผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 2 บริษัท
6 เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการ/SMEs ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เข้าสู่ตลาด มหาวิทยาลัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด/ภาคธุรกิจได้รวมจำนวน 26 ผลิตภัณฑ์ โดยมีการวางจำหน่ายโดยวิสาหกิจชุมชน/ภาคธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้าสู่ตลาด แบ่งเป็นประเภทดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจำนวน 14 ผลิตภัณฑ์
2. ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์
3. ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์
4. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์
5. บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : การยกระดับการบริหารจัดการเพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประเมิน Reinventing
เชิงคุณภาพ ครั้ง 1 0.00
2. การบริหารโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายงานพลิกโฉม65_ฉบับสมบูรณ์_Final (19Feb-2024).pdf
เชิงคุณภาพ หน่วยงาน 1 0.00
3. การสนับสนุนการขับเคลื่อนเพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ระดับคณะ เชิงคุณภาพ คณะ/หน่วยงาน 19 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : การสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การประชุมความร่วมมือระดับนานาชาติ เชิงคุณภาพ เครือข่าย 5 0.00
2. การเสวนาแนวทางความร่วมมือและนำเสนอผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ เชิงคุณภาพ เครือข่าย 5 0.00
3. การจัดอบรมและแลกเปลี่ยนบุคลากรเครือข่ายนานาชาติด้านเทคโนโลยีและเกษตรเกษตรอัจฉริยะ : การประชุมวิชาการเครือข่ายนานาชาติ 2023 SAFE NETWORK เชิงคุณภาพ คน 50 0.00
4. การจัดอบรมและแลกเปลี่ยนบุคลากรเครือข่ายนานาชาติด้านเทคโนโลยีและเกษตรเกษตรอัจฉริยะ : การสัมมนาทางวิชาการ และการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ เชิงปริมาณ คน 100 0.00
5. การจัดนิทรรศการและประกวดรางวัลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ เชิงคุณภาพ เครือข่าย 5 0.00
6. การจัดงานประชุมวิชาการเครือข่ายนานาชาติ 2022 UNTA Annual Assemblyเรื่อง “Driving Economy for BCG Model: A Road to Sustainable Growth in High Value Products and Smart Agriculture”
เชิงปริมาณ เครือข่าย 10 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 3 : การสรรหาผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์พิเศษด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การแสวงหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่จากภายนอก เชิงคุณภาพ คน 4 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 4 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้าสู่ตลาด
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การยกระดับและเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ประกอบการ Scale-up ที่ผ่านมาตรฐานและพร้อมวางจำหน่าย
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 1. รายงานพลิกโฉม65_ฉบับสมบูรณ์_Product.pdf
เชิงคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ 25 0.00
2. การจัดทำ Catalog ผลิตภัณฑ์
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- Catalog ผลิตภัณฑ์_final.pdf
เชิงปริมาณ เล่ม 300 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 5 : การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เชิงคุณภาพ หลักสูตร 1 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 6 : การพัฒนากำลังคน High Quality Engineer (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ทุนการศึกษา/พัฒนา/นวัตกรรม/อื่นๆ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 7. รายงานพลิกโฉม65_ฉบับสมบูรณ์_High Quality.pdf
เชิงปริมาณ ทุน 80 0.00
2. ทุนการศึกษานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ชุมพรโอนเงินคืนฝ่าย.pdf
เชิงปริมาณ ทุน 10 0.00
3. การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
เชิงปริมาณ คน 200 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 7 : การพัฒนาและยกระดับด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะให้แก่บุคลากร นักศึกษา และบัณฑิตผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การจัดอบรม Module สำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะด้านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Short Course for Reskill Upskill/Module Credit bank/สัมฤทธิบัตร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 8. รายงานพลิกโฉม65_Module.pdf
เชิงปริมาณ คน 160 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
25/03/2565  - 30/09/2566 25/03/2565  - 31/12/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ