โครงการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการบริหารงานและสร้างเครือข่ายองค์กรนักศึกษา ประจำปี 2565
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » องค์การนักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการบริหารงานและสร้างเครือข่ายองค์กรนักศึกษาในครั้งนี้ นำผู้นำองค์กรนักศึกษา จำนวน 40 คน ประกอบด้วย สภานักศึกษา 14 คน องค์การนักศึกษา 15 คน และตัวแทนจากสโมสรนักศึกษา จำนวน 11 คน รวมถึงมีอาจารย์ที่ปรึกษาและบุคลากรร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน
โดยได้เข้าศึกษาดูงานดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการบริหารงานและสร้างเครือข่ายองค์กรนักศึกษา ดังสถาบันการศึกษาอื่นๆ จำนวน 5 สถาบัน ซึ่งแต่ละสถาบันจะมีความโดดเด่นของการบริหารงานและการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไปดังนี้
1.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
-สภานักศึกษา มีการขับเคลื่อนความเท่าเทียมของนักศึกษาและกระบานการบริหารงานที่เข้าเชิงรุกในการกิจกรรมของนักศึกษา สวัสดิการที่มีให้กับนักศึกษา เช่นไอแพด แทปเล็ต ให้ยืมในการศึกษา, มีการให้เงินกู้ไม่มีดอกเบี้ยจากคณะ สำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเงิน ในยามฉุกเฉินหรือยามจำเป็นของนักศึกษา
-องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา จะการทำกิจกรรมแบบ MOU เป็นการทำงานร่วมกันกับผู้นำในระดับคณะไม่มีการสานต่อกิจกรรมแบบเดิม มีการทำกิจกรรมใหม่ตลอดปีการศึกษาส่วนใหญ่กิจกรรมจะสอดคล้องกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของภาคอีสานเป็นหลักมีการส่งเสริมกิจกรรม ๑๒ Smart ให้กับนักศึกษา
2.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
-สภานักศึกษา มีการสนใจและตื่นตัวกับขณะที่เข้ามาศึกษามีป้ายโปสเตอร์ต้อนรับก่อนมาศึกษางานมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในการ ใส่ใจกับผู้ที่มาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สวัสดิการ หอพักนักศึกษา มีคอมพิวเตอร์เครื่องมือสื่อสารในการสนับสนุน นักศึกษาในการเรียนเช่น iPad ที่สามารถใช้ได้ในห้องสมุด ทุนกิจกรรมจ่ายค่าเทอมให้เสนอซื่อขอรับทุนการศึกษายกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา การกีฬาต่างๆ
-องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา มีการจัดทำโครงการฝึกอบรมปรับทัศนคติของนักศึกษาใหม่ เป็นโครงการที่ให้วิทยากร หรือ โค๊ชที่มีเข้ามาช่วยให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีและเสริมสร้างความรู้ให้กับนักศึกษา และมีโครงการที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือการประกวดร้องเพลง น้องหล้าคำแพง เป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยเป็นการนำนักศึกษาที่มีความสามารถในการร้องเพลงหมอลำ มาแข่งขันประกวดเพื่อเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัย
3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-สภานักศึกษา มีการจัดตั้งฝ่ายยุติธรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ เพื่อ ให้มีการเปิดรับผู้ที่เป็นเพศทางเลือก โดยในฝ่ายมีการจัดกิจกรรมการเสวนาในในความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งยังมีการส่งเสริมประชาธิปไตย มีคนคอยสนับสนุนให้นักศึกษาในการออกมาเรียกร้องหรือชุมนุมต่าง ๆ และถ้าหากนักศึกษาโดนคดี 112 ก็มีคนประสานงานช่วยพร้อมคอยดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ
-องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา มีการจัดกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ (กิจกรรมขนของน้องเข้าหอโดยรูปแบบจะขนกระเป๋าน้องขึ้นรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยไปยังหอพักนักศึกษา จะมีทีมสันทนาการที่คอยสร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับน้องๆช่วงเข้าหอพัก และมีการนำน้องนั่งรถเที่ยวรอบมหาวิทยาลัยเพื่อให้น้องนักศึกษาใหม่ได้รู้จักสถานที่สำคัญๆ) รวมถึงกิจกรรมอีสาน mar krt เป็นตลาดของนักศึกษาและมีการเล่นดนตรีของนักศึกษา ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการและส่งเสริมความสามารถพิเศษของนักศึกษา
4.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-สภานักศึกษา สภานักศึกษาและองค์การนักศึกษาผนวกเข้าร่วมกันสร้างแผนการดำเนินงานร่วมกัน สร้างปฏิทินการศึกษาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และในการเข้าพบผู้บริหารสามารถเข้าพบได้ตลอดเวลาเนื่องจากผู้บริหารให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดยใช้คติพจน์ที่ว่านักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัย
-องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา มีการจัดกิจกรรมขึ้นมาใหม่ ทำให้ผู้คนที่เข้าร่วมประทับใจ และไม่บังคับกิจการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้นักศึกษาและคนภายนอกมหาวิทยาลัยเห็นกิจกรรมที่จัดขึ้นและอยากที่จะเข้าร่วม เช่น กิจกรรมประกวดเฟรชชี่ ของนักศึกษาใหม่ และกิจกรรมวังแดงเกมส์
(เป็นกิจกรรมการแข่งขันการล่นกีฬาในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงศิลปวัฒนธรรมทางภาคอีสาน) ให้ความสำคัญกับการจัดทำชมรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
5.มหาวิทยาลัยราภัฏเลย
-สภานักศึกษา มีการดูแลด้านทุนการศึกษาของนักศึกษา และทางคณะสรรหาคนมาเป็นสภา เสนอชื่อสภาละ5คนต่อคณะ ในสภามี25ตำแหน่ง และมีหน้าที่พิจารณาโครงการและติดตามตรวจสอบไม่ให้มีการเก็บเงินค่ากิจกรรมเพิ่มจากนักศึกษา
-องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา มีการจัดกิจกรรมทาง Online (กิจกรรม online ต้อง cap ภาพเพื่อแลกชั่วโมงกิจกรรม) และมีการกิจกรรม Onsite จะเป็นการส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมีมาตราการป้องการแพร่เชื้อไวรัสโควิด -19 อย่างเคร่งขัด
และมีกิจกรรมส่งเสริมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีของภาคอีสาน
ในภาพรวมแล้วจะเห็นได้ชัดว่าแต่ละมหาวิทยาลัย เน้นในเรื่องของการเป็นประชาธิปไตยและกิจกรรมในการชูวัฒนธรรมประจำถิ่น และประยุกต์นำวัฒนธรรมดังกล่าวมาขับเคลื่อนกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งเป้นการรักษาวัฒนธรรมและเผยแพร่แก่นักศึกษาให้ค่อยๆซึมซับ และยังเป็นการเชื่อมร้อยความสัมพันธ์กับชุมชนโดยอาศัยวัฒนธรรมประจำถิ่น
ในส่วนการทำงานขององค์กรนักศึกษาแต่ละสถาบันค่อนข้างมีความแตกต่างกันไปตามบริบาทของมหาวิทยาลัยแต่มีหลายส่วนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่น การนำวัฒนธรรมประจำถิ่นเข้ามาปรับใช้ในวัฒนธรรมทั้งในกิจกรรมของการพัฒนานักศึกษาและร่วมการทำงานกับชุมชนเป็นต้น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด กระบวนการบริหารงานองค์กรนักศึกษาระหว่าง สถาบันการศึกษาอื่น ผู้นำนักศึกษาทั้ง5มหาวิทยาลัยได้มีการแลกเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การทำงานขององค์กรต่างๆภายใต้ 2 ห้วข้อ ได้แก่ 1.บทบาทหน้าที่ของสภานักศึกษาต่อการตรวจสอบและพิทักษ์สิทธิ์นักศึกษา และ2.การบริหารงานองค์กรนักศึกษาและการจัดกิจกรรมนักศึกษา
2 เพื่อพัฒนากระบวนการ วิธีคิด และเทคนิค มาปรับใช้ในการทำงานตามบริบทของแต่ละองค์กร จากการแลกเปลี่ยนทางสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และสโมสรนักศึกษาได้นำแนวคิดและวิธีการดำเนินการต่างๆมาปรับใช้เข้ากับบริบทของแต่ละองค์และร่วมกันพัฒนากิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ตอบโจทย์และตรงเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
3 เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกภายในองค์กรสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และต่างสถาบัน ทางผู้เข้าร่วมได้มีการสามสัมพันธ์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ในการร่วมแลกเปลี่ยนตาวมแตกต่างของอริยบทของแต่ละองค์การและร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองของการทำกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : กิจกรรมส่งเสริมให้องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารงานองค์กรนักศึกษา และสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาต่างสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการ วิธีคิด และเทคนิค มาปรับใช้ในการทำงานตามบริบทของแต่ละองค์กร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของสภานักศึกษาและองค์การนักศึกษาต่างสถาบัน เชิงคุณภาพ ร้อยละ 3.51 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. ระดับความต้องการในการนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กรนักศึกษา เชิงคุณภาพ ร้อยละ 3.51 0.00
4. ระดับความพึงพอใจต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารงานสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาต่างสถาบันการศึกษา เชิงปริมาณ ร้อยละ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/04/2565  - 30/06/2565 01/05/2565  - 31/05/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ