โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีการศึกษา 2564
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
คณะสารสนเทศและการสื่อสารได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีการศึกษา 2564 ขึ้นในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft teams ณ อาคาร 75ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ กล่าวเปิดโครงการและกล่าวให้ปัจฉิมโอวาทแก่นักศึกษา โดยให้แนวคิดเพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาความรู้ในเรื่องของการทำงานระยะแรกๆ คือต้องมองหา สนใจ และศึกษาทักษะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสเข้ามา แม้จะยังไม่ได้มีทักษะที่เต็มร้อยก็ต้องเลือกที่จะกระโดดเข้าไปก่อน อาจเข้าไปในรูปแบบการขอฝึกงานและรับเงินที่น้อยก่อน นอกจากนั้นยังได้แนะนำการพัฒนาทักษะ 3 ด้าน ได้แก่
1. ทักษะทางด้านการเรียนรู้ในนวัตกรรม นักศึกษาต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะทางด้าน hard skills และ Soft Skills
2. ทักษะทางด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี การรู้เท่าทันสื่อ การมีความฉลาดทางดิจิทัล และการเป็นพลเมืองที่ดีทางดิจิทัล
3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ เริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ให้เป็น ใส่ใจในตัวเอง รู้จักเข้าสังคม รู้จักการปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรม และหมั่นหาความรู้รอบตัว เพื่อให้สามารถปรับตัวไปสู่โลกสารสนเทศและเทคโนโลยี
นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นให้นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพอย่าง มีจรรยาบรรณ และพร้อมที่จะรับใช้สังคม โดยยึกหลัก “อิทธิบาท 4” (หลักฆราวาสธรรม 4 ประการ ) ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ทุกอย่างที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่
1. ฉันทะ : มีใจรักในงานที่ทำ การทำงานให้ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นที่ง่ายๆ แต่สำคัญอย่างมาก คือการมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ และการจะมีความสุขกับงานได้นั้น
2. วิริยะ : มุ่งมั่นทุ่มเทกับงานที่ได้รับมอบหมาย มีความขยันหมั่นเพียร ความขยันก็เหมือนบันไดที่พาคุณเดินไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น
3. จิตตะ : มีสมาธิและจดจ่อกับงานที่ทำอยู่ จิตใจฟุ้งซ่านเอาแต่คิดเรื่องอื่น ตอนทำงานก็อาจจะพะวงว่างานนั้นจะเป็นอย่างไร หรือพอทำงานใหม่ ก็คิดว่างานเก่าที่ยังไม่เสร็จจะส่งทันไหมนะ และทุกๆ ครั้งที่มีสิ่งรบกวนเหล่านั้น ก็จะทำให้ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานได้อย่างที่ควรจะเป็น
4. วิมังสา : ทบทวนในงานที่ทำและพัฒนาต่อยอด การมีปัญญา หรือความรู้ ความสามารถ ต่อให้เรารักในงานที่ทำอยู่ ขยันหมั่นเพียร ใจจดจ่อขนาดที่ว่าทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้งานเพียงอย่างเดียว แต่หากขาดการพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง ใช้สมองคิด งานก็อาจจะผิดพลาดได้ และหลังจากที่ทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลหลังจากนั้นเช่นกัน หากมีข้อผิดพลาดก็เรียนรู้จากสิ่งนั้น และปรับปรุงในครั้งต่อๆ ไป ให้ดีขึ้นกว่าเดิม


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาในการเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ จากการให้ปัจฉิมโอวาท จากร องศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ แก่นักศึกษา โดยให้แนวคิดเพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาความรู้ในเรื่องของการทำงานระยะแรกๆ คือต้องมองหา สนใจ และศึกษาทักษะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสเข้ามา แม้จะยังไม่ได้มีทักษะที่เต็มร้อยก็ต้องเลือกที่จะกระโดดเข้าไปก่อน อาจเข้าไปในรูปแบบการขอฝึกงานและรับเงินที่น้อยก่อน นอกจากนั้นยังได้แนะนำการพัฒนาทักษะ 3 ด้าน ได้แก่
1. ทักษะทางด้านการเรียนรู้ในนวัตกรรม นักศึกษาต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะทางด้าน hard skills และ Soft Skills
2. ทักษะทางด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี การรู้เท่าทันสื่อ การมีความฉลาดทางดิจิทัล และการเป็นพลเมืองที่ดีทางดิจิทัล
3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ เริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ให้เป็น ใส่ใจในตัวเอง รู้จักเข้าสังคม รู้จักการปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรม และหมั่นหาความรู้รอบตัว เพื่อให้สามารถปรับตัวไปสู่โลกสารสนเทศและเทคโนโลยี
2 เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพอย่าง มีจรรยาบรรณ และพร้อมที่จะรับใช้สังคมต่อไป เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษามีจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพอย่าง มีจรรยาบรรณ และพร้อมที่จะรับใช้สังคม โดยรองศาสตราจารย์โสภณ ฟองเพขร ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและต่อยอดจากประสบการณ์ที่ได้จากการไปปฏิบัติสหกิจศึกษาผสมกับความรู้ที่มีในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานในอนาคต เช่น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดเชิงสร้างสรรค์ การสื่อสาร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจการทำงานเป็นทีม และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเข้ากัยสิ่งที่เกิดรอบข้าง มีความคิดริเริ่มและลงมือทำ ความอดทนจนสำเร็จ ความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งใหม่ๆ ต่อจากนั้น อาจารย์ ดร.อุดมลักขณ์ ธรรมปัญญา ได้ให้แนวคิดในการใช้ชีพในการทำงาน โดยให้ยึดหลักฆราวาสธรรม 4 ประการ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาได้ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.15 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 100 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
04/04/2565  - 30/04/2565 04/04/2565  - 30/04/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ