โครงการเสริมทักษะนักศึกษาเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) ปีการศึกษา 2564
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการเสริมทักษะนักศึกษาเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) ปีการศึกษา 2564 เป็นโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่ประสบการณ์ ด้านเทคนิค และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ด้าน Production
Marketing และ Graphic Design เพื่อกำหนดทิศทางการเรียนการสอนให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) 5 ข้อ ดังนี้
1. สามารถเข้าใจหลักการสำคัญด้านการสื่อสารดิจิทัลและองค์ประกอบของสื่อดิจิทัลแต่ละประเภท
2. สามารถใช้แนวคิดและทักษะการคิดระดับสูงทั้งการคิดเชิงระบบ คิดเชิงวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานให้มีคุณค่า มีประโยชน์หรือเป็นสิ่งใหม่
3. สามารถใช้ความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบและสร้างสื่อดิจิทัล ตรงความต้องการกลุ่มเป้าหมายหรือสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์และเกษตร
4. สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ ประเด็นด้านสื่อโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องตรงประเด็นบนความรับผิดชอบ
5. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจิตอาสา
หลักสูตรได้จัดโครงการออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 เรื่อง แผนการศึกษา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO) ได้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ (MS Team Meeting) ซึ่งมีนักศึกษาที่เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 92 คน เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมต่อกิจกรรมการเรียนการสอน และบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรได้ โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่จบออกไปและทำงานตรงสายที่เรียนมาและประสบความสำเร็จในการทำงานมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จำนวน 2 ท่าน
1) นายธนภัทร โกศะโยดม ตำแหน่ง ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ บริษัท TD Phat Media
2) นายจีรายุทธ ยะใส ตำแหน่ง Graphic Design

กิจกรรมที่ 2 เรื่อง เสริมทักษะพื้นฐานในรูปแบบแบ่งกลุ่มตามฐานการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมขึ้นในวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ (MS Team Meeting) มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 162 คน การดำเนินกิจกรรมเป็นการแบ่งกลุ่มตามความถนัดของนักศึกษาเพื่อจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากทักษะ และรูปแบบของความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งกิจกรรมได้แบ่งห้องออนไลน์ออกเป็น 3 ห้อง เพื่อให้นักศึกษาเลือกเข้าตามความชอบและความถนัด ดังนี้
1) กลุ่มที่ 1 ทางด้าน Production วิทยากรโดย นายวัชรพล พลโสภาพ ตำแหน่ง Editer (Freelance) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้าน Production
2) กลุ่มที่ 2 ทางด้าน Marketing วิทยากรโดยนางสาวณัฐนันท์ อินแถลง ตำแหน่ง Founder/cmo บริษัท BlackCat Agency.Co.,Ltd เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านการตลาด (Marketing)
3) กลุ่มที่ 3 ทางด้าน Graphic Design วิทยากรโดย นายวิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ ตำแหน่ง อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สาขาวิชาครีเอทีพกราฟิก เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้าน Graphic Design

เพื่อเสริมสร้างทักษะ เทคนิค และแลกเปลี่ยนเกร็ดความรู้ ทางด้าน Production , Marketing และ Graphic Design นักศึกษาสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLO)
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาใหม่มีความรู้ความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO) รายงานผลกิจกรรมที่ 1 ได้เชิญรุ่นพี่ที่จบออกไปแล้วประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน จำนวน 2 ท่าน เพื่อมาแลกเปลี่ยนแนวความคิดให้นักศึกษาใหม่และนักศึกษาทุกชั้นปีที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจความหมายขอผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO) ซึ่งในกิจกรรมที่ 1 นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจตามที่หลักสูตรกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 เพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดไว้ใน มคอ.2 ซึ่งมีผลค่าคะแนนในการประเมินวัดความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาอยู่ที่ 3.87 ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าตัวชี้วัดที่กำหนดในโครงการ
2 เพื่อนักศึกษาใหม่มีความพร้อมต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อที่จะสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรได้ รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ 2 หลักสูตรได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญด้าน Production / Marketing / Graphic Design ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทักษะในแต่ละด้านให้กับนักศึกษา รูปแบบกิจกรรม ได้จัดในรูปแบบออนไลน์ (MS Team Meeting) และแบ่งห้องเป็นแต่ละด้านเพื่อให้นักศึกษาเลือกเข้ากลุ่มตามความชอบและที่ตนเองถนัด ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้นักศึกษามีการซักถาม เพื่อขอข้อเสนอแนะจากวิทยากร และนักศึกษาสามารถทำชิ้นงานที่มอบหมายให้บรรลุความสำเร็จตาม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี มีความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PLO ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความรู้ความเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/04/2565  - 20/05/2565 22/04/2565  - 20/05/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ