โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินงานโครงการรอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเกษตรด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ดำเนินการระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม - 3 สิงหาคม 2565 โดยแบ่งการดำเนินออกเป็น 2 กิจกรรม สรุปผลได้ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การปรับปรุงและซ่อมแซมระบบน้ำในแปลงพืชผักในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
- โดยมีการดำเนินงานซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำ วาวล์เปิดปิดน้ำ อย่างน้อยจำนวน 5 ครั้ง

กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตพืชผักอินทรีย์และการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย
โดยมีการแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่ 1 วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 จัดกิจกรรมอบรมในหลักสูตร "การผลิตน้ำหมักชีวภาพและปลูกแบบอินทรีย์" โดยมีนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมจำนวน 28 คน ประกอบด้วยนักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 2 คน สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 16 คน สาขาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและสหกรณ์ จำนวน 3 คน และสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จำนวน 7 คน ภายในกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายการทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้ในการบำรุงดูแลการปลูกพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์ จากนั้นมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำน้ำหมักชีวภาพ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง น้ำหมักฮอร์โมนไข่ น้ำหมักฮอร์โมนนมสด และการลงแปลงผักเพื่อทำการปูผ้าใบคลุมแปลงผักเพื่อป้องกันวัชพืช ก่อนที่จะทำการปลูกพืชผักในแปลงต่อไป
จากการประเมินผลการจัดกิจกรรมในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.61 โดยในรายละเอียดพบว่า มีความพึงพอใจด้านการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.57 รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.44 และด้านความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.42 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะและการจัดกิจกรรม
1.ควรมีวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมให้เพียงพอ
2.อยากให้มีการกิจกรรรมในปีถัดไป
3.อยากให้จัดในสถานที่ที่ใกล้ๆ

- ครั้งที่ 2 วันที่ 3 สิงหาคม 2565 จัดกิจกรรมอบรมในหลักสูตร "การเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย" มีนักศึกษาคณะเเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมจำนวน 25 คน โดยแบ่งออกเป็น สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ จำนวน 14 คน สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จำนวน 7 คน สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 คน โดยกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย จากนั้นมีการลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยจำนวน 4 แปลง
จากการประเมินผลต่อการจัดกิจกรรมในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.72 โดยในรายละเอียดพบว่าด้านความพึงพอใจต่อการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.82 รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.68 และด้านความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะและการจัดกิจกรรม
1.อาหารอร่อย กิจกรรมดี
2.อยากให้จัดขึ้นอีก
3.อยากให้มีกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางการเกษตรให้แก่นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ 1.หลักสูตร "การผลิตน้ำหมักชีวภาพและการปลูกพืชผักแบบอินทรีย์" นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับระบบการปลูกผักแบบอินทรีย์ ขั้นตอนวิธีการ การดูแลรักษา รวมถึงได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานในแปลงผัก ทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.42

2.หลักสูตร "การเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย" นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนรวมถึงเทคนิควิธีการเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลผลิตที่สามารถออกจำน่ายในท้องตลาดได้ นอกจากนั้นยังได้ทดลองลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ซึ่งส่งผลให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66
2 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางการเกษตรและให้บริการวิชาการแก่นักเรียนและประชาชนที่สนใจ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ได้เผยแพร่องค์ความรู้ในพื้นที่ ด้านการผลิตพืชผัก และการเพาะเห็ดฟางให้แก่นักศึกษา รวมถึงเป็นต้นแบบในการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ผู้สนใจเข้าไปดูงานการผลิตทางการเกษตรต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การปรับปรุงและซ่อมระบบน้ำเพื่อการผลิตพืชผักภายในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- กิจรรมการซ่อมแซมระบบน้ำฟาร์ม
เชิงปริมาณ จำนวนครั้ง 5 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทักษะเกษตร และแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้สนใจเข้ารับการอบรม (50 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- 6.ใบลงทะเบียนอบรม นศ..pdf
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะเกษตร เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
16/05/2565  - 30/09/2565 16/05/2565  - 03/08/2565
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ